ปฏิเสธไม่ได้ว่างานศิลปะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ประเทศเจริญขึ้นอย่างมีอารยะ หลายประเทศทั่วโลกจึงมีการพัฒนาศาสตร์วิทย์และศิลป์ไปพร้อมกัน ทำให้เมืองเต็มไปด้วยผู้คนที่อ่อนโยน บรรยากาศอาคารบ้านเมืองที่แสนละเมียดละไม กล่าวได้ว่าศิลปะได้เข้ามากล่อมเกลาผู้คนทางจิตวิญญาณ และส่งต่อออกมาให้ชีวิตทุกคนเป็นสุข
อย่างไรก็ตาม คำว่า ‘ศิลปะ’ อาจมิได้หมายถึงภาพเพียงอย่างเดียว การออกแบบสถาปัตยกรรมสวยๆ ระดับ Master Design นับว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งได้เช่นกัน
แล้วมันจะดีแค่ไหน ถ้าเราได้อาศัยในพื้นที่ที่เปรียบเสมือนงานศิลปะอย่างคอนโดมิเนียมสไตล์คลาสสิกที่ผสานความโมเดิร์นอย่างลงตัว ซึ่งจะช่วยจรรโลงใจจากความวุ่นวาย และสร้างบรรยากาศสงบสุขให้กับเราในทุกวัน
ในวันที่เราสนใจศิลปะกันมากขึ้น
ปี 2017 เว็บไซต์ TotallyMoney ผู้ให้บริการและจัดอันดับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทางการตลาด ได้จัดอันดับเมืองที่มีแหล่งวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก โดยรวบรวมจากสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจำพวกแหล่งมรดกโลก โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ หรือหอศิลปะ ฯลฯ มาเป็นเกณฑ์ตัดสิน
เชื่อไหมว่ากรุงเทพมหานครของเราติดอันดับ 22 จาก 30 เมืองทั่วโลก โดยระบุว่า นอกเหนือจากแหล่งอารยะธรรมอย่างวัดวาอารามแล้ว กรุงเทพฯ มีพิพิธภัณฑ์มากถึง 62 แห่ง และอาร์ตแกลเลอรี่กว่า 18 แห่ง นับเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยทีเดียว เพราะว่ากันตามตรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาวงการศิลปะไทยได้ขยายและเติบโตขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่รวมถึงไอเดียคุณภาพที่แวะเวียนให้เสพทุกสัปดาห์ โดยแกลเลอรี่เหล่านั้นเริ่มกระจัดกระจายไปทั่วเมือง มิได้กระจุกตัวอยู่แค่กลางเมืองเพียงอย่างเดียว ทำให้ใครก็สามารถเดินทางไปเสพงานศิลป์ได้สะดวกขึ้น
เช่นเดียวกับข่าวใหญ่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสนใจนำหอศิลป์ฯ กลับมาบริหารจัดการเอง ทำให้กลุ่มเครือข่ายศิลปินและประชาชนออกมาต่อต้านจำนวนมาก นับเป็นกระแสตื่นตัวในวงการศิลปะที่เห็นเป็นรูปธรรมได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม คำว่า ‘งานศิลปะ’ อาจไม่จำเป็นต้องหมายถึง ‘ภาพ’ เพียงอย่างเดียว สถาปัตยกรรมสวยๆ ก็นับว่าเป็นงานศิลปะได้เช่นกัน
สถาปัตยกรรมคลาสสิกก็เป็นศิลปะ
“เราออกแบบตึก แล้วตึกพวกนั้นก็ย้อนมาออกแบบพวกเราอีกที” (We shape our buildings, thereafter they shape us.) คงเป็นวลีคลาสสิกสำหรับคนเรียนสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะสายผังเมือง เพราะมันเป็นคำกล่าวของรัฐบุรุษชาวอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพเมืองกับสภาวะผู้อยู่อาศัย กล่าวคือสภาพแวดล้อมของเมืองมีผลต่อพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงสำนึกส่วนรวมของคนในสังคม
ยกตัวอย่างหากเราอยู่ในเมืองเก่า, อาคารโทรมๆ, ทางเดินเท้าไม่สมประกอบ หรือเต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศ เราก็คงไม่มีความสุขสักเท่าไหร่ แต่หากเราอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมคลาสสิกสไตล์โมเดิร์น ก็จะช่วยให้เมืองน่าอยู่ น่ามอง และผู้คนก็จะมีความสุขทางสายตามากขึ้น
ทั้งนี้คำว่าสถาปัตยกรรม ‘คลาสสิก’ เป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียกรวมสถาปัตยกรรมตั้งแต่ยุคกรีก-โรมัน (Greece-Roman), เรอเนซองส์ (Renaissance), บาโรค (Baroque), วิกตอเรียน (Victorian) กระทั่งถึงศิลปะนูโว (Art Nouveau) ฯลฯ สถาปัตยกรรมเหล่านี้แม้จะมีรายละเอียดแตกต่างกัน แต่แก่นสำคัญๆ ที่คล้ายกันก็คือ การเน้นตกแต่งด้วยสัดส่วนที่สวยงามลงตัว ดูดีหรูหรา สามารถบ่งบอกถึงฐานะผู้อยู่อาศัยได้
ขณะที่สถาปัตยกรรม ‘โมเดิร์น’ หรือสถาปัตยกรรม ‘ร่วมสมัย’ คือการสร้างสรรค์งานเดิมผ่านการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือการใช้งานให้สอดคล้องเข้ากับยุคสมัยนั้นๆ โดยที่อยู่อาศัยสไตล์โมเดิร์นจะมุ่งเน้นไปที่ความงามแบบเรียบง่าย เราจึงเห็นอยู่บ่อยๆ ว่า สถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั้นจะมีรูปทรงเรขาคณิต (โดยเฉพาะทรงสี่เหลี่ยม) เรียบง่าย และชัดเจน เป็นผลงานที่ถูกสร้างขึ้นมาผสมผสานกับความงดงามทางศิลปะอย่างลงตัว
ฉะนั้นแล้ว เมื่อเรานำสถาปัตยกรรมคลาสสิกมาผสมผสานกับความโมเดิร์น (Classic inspired modern twist) จึงเป็นมนต์เสน่ห์การออกแบบที่ ‘หรูหรา’ แต่ ‘น่าอยู่อาศัย’ เป็นสไตล์การออกแบบที่ถูกขนานนามว่าไร้กาลเวลา และถูกส่งต่อมาในทุกยุคทุกสมัย เห็นได้จากหลายๆ ตึกในกรุงเทพฯ ที่ยังตั้งตระหง่านให้ผู้คนได้ชื่นชมความสวยงามมาถึงปัจจุบัน
รวมฮิตสถาปัตยกรรมคลาสสิกเหนือกาลเวลา
อันที่จริงกรุงเทพฯ ก็มีสถาปัตยกรรมคลาสสิกอยู่จำนวนมาก เราสามารถพบเห็นงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเหล่านี้ตามหอศิลป์, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, อาคารสาธารณะ หรืออาคารพาณิชย์ นับเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งตระหง่านให้คนรุ่นหลังได้ชม โดยเฉพาะตึกเก่าฝั่งพระนครที่เป็นศูนย์กลางความคลาสสิกจำนวนมาก
เริ่มจาก อาคารกระทรวงกลาโหม ที่ตรึงสายตาทุกครั้งเวลานั่งรถผ่าน ด้วยสถาปัตยกรรมคลาสิกแบบนีโอ-ปัลลาเดียน (Neo-Palladion) ที่มีลักษณะเด่นคือผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตกแต่งหน้าอาคารรูปหน้าจั่วและเสากลมแบบโรมันประดับลายปูนปั้น ปิดทองตราราชวัลลภ พร้อมประดับปืนใหญ่หลายกระบอก ก็ทำให้อาคารหลังนี้เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ต่อมาคือ Bangkok City Library หรือหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร บนถนนสายประวัติศาสตร์ราชดำเนิน แต่เดิมตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเก่าแก่ความสูง 3 ชั้น ก่อนจะได้รับการออกแบบปรับปรุงโดยได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแนวนีโอ – คลาสสิก อาคารดังกล่าวจึงมีลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น มีกันสาดบางๆ คลุมส่วนหน้าต่าง มีขอบปูนปั้น หรือมีการใช้ลูกกรงเป็นเส้นแนวนอน ฯลฯ การออกแบบหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครจึงเป็นกลิ่นอายที่ผสมผสานระหว่างโครงสร้างอาคารแบบตะวันตกกับศิลปะไทยเข้าด้วยกันอย่างลงตัว
เขยิบเข้าสู่ใจกลางเมืองกันบ้างกับ The House On Sathorn ที่ตั้งตระหง่านอยู่กลางย่านธุรกิจมานานกว่า 128 ปีแล้ว อาคารดังกล่าวเป็นสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียล (Colonial) ผสมผสานทางรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกกับบริบทท้องถิ่นไทยๆ นับเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ที่ยังคงความคลาสสิกมาถึงปัจจุบัน
ปิดท้ายด้วยที่ทำการแห่งแรกของ แบงค์ สยาม กัมมาจล ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 หรือปัจจุบันก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อยย่านเจริญกรุงนั่นเอง โดยตัวอาคารมีความโดดเด่นจากสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก มีผนังลวดลายปูนปั้น เสาทรงไอโอนิกประกอบระหว่างช่วงหน้าต่าง และทางเดินส่วนกลางที่มีลักษณะคล้ายพระที่นั่งอนันตสมาคม ปัจจุบันยังคงเปิดให้ดำเนินการอยู่ ใครสนใจแวะไปเยี่ยมชมหรือใช้บริการได้เลย
ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องยืนยันชั้นดีถึงความคลาสสิกเหนือกาลเวลาที่อาคารเหล่านี้ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมไว้ดังเดิม และเป็นแรงบันดาลใจให้นักออกแบบรุ่นหลังเลือกใช้ความคลาสสิกนี้มาออกแบบตึกรุ่นใหม่ นับเป็น Master Design จากรุ่นสู่รุ่น ที่มนต์เสน่ห์ปัจจุบันยังไม่เสื่อมคลายแต่อย่างใด
เราสามารถเลือกอยู่ในสถานที่ที่งดงามราวกับศิลปะได้
แม้มนุษย์กรุงเทพฯ พอจะมีเงินซื้อที่อยู่อาศัยในราคาแพงๆ แต่การมีเงินอย่างเดียวอาจไม่พอ รสนิยมและความสุนทรียศาสตร์ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยทำให้ชีวิตวุ่นวายในเมืองน่าอยู่ขึ้น นั่นก็เพราะเราสามารถเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ การเลือกที่อยู่อาศัยที่เราต้องกลับมานอนทุกวันก็เป็นเรื่องสำคัญ
Major development บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของประเทศจึงได้นำความงามทางสุนทรียศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบโครงการ MAESTRO RESIDENCES ซึ่งจะช่วยทำให้ชีวิตวุ่นวายของคนเมืองน่าอยู่ขึ้น ผ่านแนวความคิด Classic Inspired Modern Twist ที่หยิบเอาความ ‘โมเดิร์น’ มาใส่ในความ ‘คลาสสิก’ นำลักษณะเด่นของการตกแต่งของสไตล์คลาสสิกที่เน้นความอ่อนช้อย มาผสานกับความเรียบหรูแบบโมเดิร์นกันอย่างลงตัว ออกมาเป็นความสวยงามของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากอาคารอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็น Master Design ก็ว่าได้
ไม่เพียงเท่านั้น โครงการยังเน้นความเป็นส่วนตัวในทำเลใจกลางเมืองทำให้คุณเดินทางไปไหนมาไหนก็สะดวก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ห้องสมุด ฟิตเนส หรือสระว่ายน้ำ นับเป็นความสะดวกสบายและช่วงเวลาแห่งความสงบสุขของคุณ เพียงแค่มองจากภายนอก หรือเข้ามาอาศัยภายใน ก็เปรียบเสมือนการได้เสพงานศิลปะ ซึ่งทำให้คุณตกหลุมรักที่พักอาศัยอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
นี่เป็นเพียงหนึ่งในเรื่องราว Masterful Living ของ MAESTRO RESIDENCES ร่วมสัมผัสด้านอื่นๆ และพบความหมายในทุกรายละเอียดชีวิตได้ที่งาน MAESTRO : MASTERFUL LIVING 21-24 มิถุนายนนี้ ชั้น 1 เซ็นทรัลเวิลด์
สัมผัสแนวคิด การสร้างสรรค์ และการพัฒนาคอนโดมิเนียมภายใต้แบรนด์ MAESTRO RESIDENCES (มาเอสโตร เรสซิเด้นซ์) ผ่านการจัดแสดงในรูปแบบ Art Exhibition
พร้อมการเปิดตัว 3 คอนโดพร้อมอยู่ MAESTRO 01 สาทร-เย็นอากาศ , MAESTRO 03 รัชดา-พระราม 9 และ MAESTRO 14 สยาม-ราชเทวี ราคาเริ่มต้น 3.8 ล้านบาท*
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-116-1111 หรือลงทะเบียนเพื่อรับส่วนลดสูงสุด 200,000 บาท* ได้ที่ https://goo.gl/CPPm2w
อ้างอิงข้อมูลจาก
- TotallyMoney
- Optimise
- Decorreport
- RatthanakosinOnTour
- BangkokCityLibrary
- TheHouseOnSathorn
- Wikipedia
Content by Sahatorn Petvirojchai
Illustration by Visansaya Loisawai