ตลอด 70 ปีแห่งรัชสมัย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมุ่งแก้ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตรกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสมากขึ้นในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ในด้านเทคนิค และวิชาการเกษตรสมัยใหม่ ทรงมุ่งแก้ปัญหาที่ดินทำกิน การทำเกษตรที่ขึ้นกับความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ความผันผวนของตลาด ตลอดจนผลกระทบของการใช้สารเคมีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวม
ทรงสร้างฐานข้อมูลของพื้นที่
แนวพระราชดำริที่สำคัญคือการที่
“แนวพระราชดำริเกษตรทฤษฏีใหม่” คือการมุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดของพื้นที่และผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมง่าย ๆ ที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการวิเคราะห์จัดเก็บข้อมูลการเพาะปลูก ทั้งดิน น้ำ อากาศ ปัญหาโรคและศัตรูพืช นำมาประมวลผล เพื่อวางแผนการผลิตที่เหมาะสม โดยดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาด 10 -15 ไร่ ซึ่งมาจากการศึกษา เก็บข้อมูลว่าเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ มีพื้นที่เฉลี่ยอยู่ประมาณครอบครัวละ 10-15 ไร่
การนำเทคโนโลยีอย่าง Big Data และ Internet of things(IoT) เข้ามาช่วยให้เกษตรกรมีข้อมูล ในการคาดคะเนธรรมชาติ รวมไปถึงการวางแผนเพาะปลูกล่วงหน้า ช่วยเพิ่มผลผลิต และประหยัด ต้นทุนค่าใช้จ่าย เกิดเป็นการทำเกษตรแม่นยำสูง ทำให้เกษตรกรไม่ต้องหวังแค่โชคชะตาเท่านั้น
FITBIT ของแปลงเกษตร
ช่วงนี้ดูเหมือน 2 เรื่องนี้จะฮิตกันเหลือเกิน นั่นคือ “Internet of things” เทคโนโลยีที่ทำให้สิ่งของ สามารถเชื่อมโยงสื่อสารระหว่างกันได้ กับ “Big Data” หรือข้อมูลขนาดมหาศาลที่มีการเก็บบันทึก ไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างประโยชน์ เหตุผลที่ทั้งสองถูกพูดถึงกันสุดๆ ก็เพราะมันถูกจัดให้เป็น เทคโนโลยี “หัวหอก” ของโลกปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ซึ่งที่ผ่านมา เราอาจเคยได้ยินการนำ สองสิ่งนี้มาใช้ด้านธุรกิจและการตลาด แต่ว่าอีกด้านหนึ่ง มันก็ถูกนำมาใช้ด้านการเกษตรด้วย เหมือนกัน
เจ้าเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ Smart Agriculture คือการดูแลทุกกระบวนการผลิตอย่างแม่นยำ ผ่านระบบเซนเซอร์ ที่ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ในแปลงเกษตรตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ด รดน้ำ ให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวและคัดเลือกผลผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
ว่าง่ายๆ เทคโนโลยีนี้ก็เหมือนกับ “FITBIT ของแปลงเกษตร”ที่จะคอยวัด ตรวจสอบ และเก็บค่า ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก เช่น ความชื้นในอากาศ อุณหูภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในดิน แมลงศัตรูพืช เป็นต้น จากนั้น ข้อมูลที่ได้แบบ Real-time ก็จะถูกส่งไปยังศูนย์ สมาร์ทโฟน หรือ แทบเล็ตของเจ้าของสวน เพื่อประเมินได้ถูกว่าควรทำอะไรต่อ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกร มีข้อมูลที่แม่นยำในการวางแผนเพาะปลูกล่วงหน้า ป้องกันหรือลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ยังช่วยให้เกษตรกรลดการใช้น้ำ ใช้ปุ๋ย หรือสารเคมีที่ไม่จำเป็นลง เพราะการมีข้อมูลแบบ Real-time เกษตรกรสามารถกะปริมาณสิ่งต่างๆ ที่ควรใส่เข้าไปในแปลงได้อย่างเหมาะสม ตรงกับ สภาพความเป็นจริง
พลิกชีวิตเกษตรกร ไม่ต้องหวังแค่โชคชะตา ไม่ต้องแห่นางแมวขอฝน ไม่ต้องปลูก นับร้อยไร่ ให้ได้ผลคุ้มทุน
การทำเกษตรดั้งเดิมมักจะอิงกับความเป็นใจของฟ้าฝน ดิน อากาศ ทำให้เกษตรกรต้องใช้พื้นที่ จำนวนมากในการเพาะปลูก เพื่อเผื่อว่าอาจมีบางส่วนที่ได้รับความเสียหาย จากความไม่แน่ไม่นอน ของธรรมชาติ ส่งผลให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้ต้นทุนจำนวนมาก ในการสร้างผลผลิต ให้เพียงพอ
เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การใช้พื้นที่เกษตรแบบมากๆ นั้นลดลง เพราะเกษตรกรสามารถวางแผน และทำการเกษตรได้แม่นยำมากขึ้น การใช้พื้นที่น้อยแต่สร้างผลผลิตแบบใหญ่คุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่ เป็นไปได้!!!
ดังนั้น เทคโนโลยีอัจฉริยะนี้จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น แต่ภาพรวมยังพลิกโฉม วิธีการทำการเกษตรไปจากเดิม เปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยของเกษตรอัจฉริยะ
เกษตรยุคดิจิทัล ใช้ประโยชน์จากข้อมูลผสานนวัตกรรม เกิดเป็นเกษตรแม่นยำสูง Smart Agriculture
ในไทยก็มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กันบ้างแล้ว โดยทาง Huawei ได้พัฒนาแนวคิดเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับบริษัท Pessl ประเทศออสเตรีย เพื่อนำมาช่วยเหลือเกษตรกรไทย ที่แปลงเกษตรตัวอย่าง ในจังหวัดจันทบุรี โดยมีการเก็บข้อมูล 2 ส่วนหลักๆ คือ 1. Weather Station หรือเครื่องมือวัดอุณหภูมิพื้นที่ 2. เครื่องวัดความชื้นของพื้นดิน ราก และพืช
สำหรับข้อมูล 2 ส่วนที่เก็บมาได้แบบ Real-time ก็จะถูกส่งตรงไปที่โทรศัพท์มือถือของเกษตรกร โดยมีแอปพลิเคชั่นเป็นตัวกลาง (ที่รองรับได้ทุกค่ายมือถือ)
ดังนั้น หากในอนาคตเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เกษตรกรไทยก็จะมีข้อมูล ประกอบการทำการเกษตรได้มีประสิทธิภาพและแม่นยำขึ้น ความกังวลเรื่องฟ้าดิน อากาศ จะเป็นอย่างไรก็จะลดน้อยลง เพราะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผน ได้อย่างเป็นระบบ
ส่วนประโยชน์ทางอ้อมที่ได้คือ ผู้บริโภคเองได้บริโภคผลผลิตการเกษตรที่มีคุณภาพที่ใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลงน้อยลง ถัดมาคือ สิ่งแวดล้อม และการบุกรุกป่าไม้ เพราะความจำเป็นที่ต้องใช้พื้นที่ และทรัพยากรมากๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ ก็ลดน้อยลงอีก พูดอีกย่างคือ “ทำน้อยและ ใช้น้อย แต่ได้มาก”
สุดท้าย เทคโนโลยีนี้อาจช่วยจุดประกายและดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ หรือลูกหลานของเกษตรกร ที่คุ้นเคยกับเรื่องของเทคโนโลยี อยากกลับมาทำการเกษตร ร่วมกันพัฒนาเกษตรไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ที่ซึ่งเกษตรกรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะอาศัยและอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน