คนไทยแทบจะไม่มีใครที่ไม่เคยเดินงาน Exhibition
ตั้งแต่งานแสดงสินค้าข้าวของไลฟ์สไตล์ที่จับจ่ายได้ในชีวิตประจำวัน หรืออยากได้ของมีมูลค่าหน่อยอย่างรถยนต์ ก็ต้องเดินวนทุกบูธให้แน่ใจว่าคันไหนกันแน่ที่ใช่ ไปจนถึงระดับโปรเฟสชันนอล กับงาน Exhibition ในอุตสาหกรรมสายงานที่เกี่ยวข้องและสนใจ เพื่อเปิดหูเปิดตาและพบกับผู้ประกอบการโดยตรง
ที่บ้านเรามีงาน Exhibition ให้ได้เดินกันเยอะและหลากหลายขนาดนี้ นั่นก็เพราะประเทศไทยเราเป็นหนึ่งในแนวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) โดยเฉพาะด้าน E – Exhibition และเป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศในหลากหลายมิติที่เกี่ยวพันกับพวกเราโดยตรงด้วย
นั่นทำให้ความ ‘ใหญ่’ ของ Exhibition ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ซึ่ง คุณมุก-ปนิษฐา บุรี ว่าที่ประธาน UFI สมาคมงานแสดงสินค้าโลก จะมาเล่าให้ฟังว่า ไม่ใช่แค่ความใหญ่ของงาน Exhibition แต่เรื่องราวภายในงานจัดแสดงแต่ละครั้งยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
In Person / On-Site Experience จากทั่วโลกที่รวบรวมมาให้ได้เห็นได้จับแบบสำเร็จรูป
คุณมุกให้นิยามของ Exhibition ว่า In Person / On-Site Experiece หรือกระบวนการที่รวบรวมทุกอย่างมาจัดแสดงในเวลาอันสั้น
“เพราะฉะนั้นถ้าจะดูเทรนด์หรือเทคโนโลยี อะไรไปข้างหน้า ทั้งหมดเกิดขึ้นอยู่ในฮอลล์ เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นคนผลิตหรืออยากสร้างสรรค์อะไรใหม่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ภายใน Exhibition จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่ทำให้เราได้สัมผัสประสบการณ์โดยตรง ได้มองเห็นอะไรใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกคัดสรรมารวมกันไว้ในที่เดียวเรียบร้อยแล้ว”
พัฒนาการของวงการ Exhibition ในเมืองไทยมีมาแสนนานแล้ว แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการก่อตั้งอาคารจัดแสดงที่เหมาะสมกับการจัดงานต่างๆ มากขึ้น อย่างไบเทค ที่กลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมสำคัญ เพราะเป็นฮอลล์ที่สร้างขึ้นสำหรับการจัด exhibition โดยเฉพาะแห่งแรกในประเทศไทย ที่ทำให้งานสเกลเล็กหรืองานที่ไม่เคยเกิดขึ้นถูกจัดในพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไป ลักษณะของ Exhibition จะมี 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ B2B หรือธุรกิจระหว่างหน่วยงานธุรกิจ กับ B2C หรือธุรกิจตรงถึงผู้บริโภค
แรงกระเพื่อมจากการจัดงาน Exhibition ส่งต่อไปถึงหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศ คุณมุกอธิบายให้เห็นเส้นทางชัดๆ
“เริ่มจาก 1) ผลทางเศรษฐกิจ ที่มาจากการจับจ่ายของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกรณีผู้ร่วมงานจากต่างประเทศที่จะเข้ามากระตุ้นภาคเศรษฐกิจกลุ่มการท่องเที่ยวและกลุ่มบริการ (Hospitality) 2) ผลทางสังคม ในเรื่องการว่าจ้างแรงงานทั้งวงรอบการทำงาน Exhibition ไปจนถึง 3) ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่ความยั่งยืนเป็นอีกโจทย์หลักของทุกวงการ การใช้วัสดุก่อสร้างและทรัพยากรให้น้อยที่สุดหรือเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด ไปจนถึงการคำนวณคาร์บอนฟุตปรินท์ก็เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงในยุคนี้ ซึ่งเมื่อมองจากมุมนี้แล้ว ก็นับว่าประเทศไทยมีความพร้อมทางด้านระบบนิเวศของการจัดงาน Exhibition ที่ครบวงจร”
ถึงโลกเข้าสู่ยุค Disruption แต่ Exhibition ยังเป็นสิ่งจำเป็น
โลกยุคหลังโควิดพลิกโฉมหน้าของอุตสาหกรรมมากมาย “ความจริงธุรกิจ MICE ทั้งหมดมันเป็น Face-to-Face Platform และ เราก็เชื่อว่า ธุรกิจทางด้านขา E เป็นส่วนที่ฟื้นเร็วที่สุดเท่าที่ผ่านมา”
Exhibition เป็นงานที่ Online ทดแทนไม่ได้ เพราะผู้คนยังต้องการมองเห็น สัมผัส ทดลองด้วยตัวเองอยู่ดี และเป็นงานที่ต้องจัดทุกวงรอบแล้วแต่กำหนดการ ดังนั้น Exhibition ยังคงต้องถูกจัดงานต่อไปอีกเรื่อยๆ
“เพราะฉะนั้นถ้าถามถึงโควิด เราพูดมาตลอดเลยว่า ธุรกิจนี้ไม่มีอะไรที่ทำให้ยกเลิก มันแค่เลื่อนเพราะจัดไม่ได้ เพราะสุดท้ายแล้ว ธุรกิจ Exhibition คือประสบการณ์ตรงหน้า การสาธิต อย่างการชิมอาหารหรือดูเครื่องจักรที่ทำแบบออนไลน์ไม่ได้ มันเป็นเรื่องของการสร้างคอนเนกชั่นระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เข้าใจลูกค้าในเชิงลึก (Customer Insights) การสร้างความเชื่อถือในแบรนด์ รวมถึงฟีดแบคที่สามารถสื่อสารกันได้ในทางตรงที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรต้องพบเจอกันผ่านทาง Exhibition Platform)
ในอีกมุมมองหนึ่งในบทบาทของว่าที่ประธานสมาคมงานแสดงสินค้าโลก คุณมุกเชื่อว่า Exhibition คือเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการทำการตลาด
“เพราะเราได้เจอลูกค้าในมุมมองของเม็ดเงินที่ใช้ลงไป และในมุมของการเข้ามามีส่วนร่วมใน Profile ของผู้จัดงานที่ทำการบ้านในการดึงผู้ค้าที่เป็นทาร์เกตของเราให้เข้ามาร่วมงาน แล้วจะทำอย่างไรให้ผู้ซื้อเข้ามาในบูธเราเพื่อมาดูสินค้าหริอบริการของเราให้เยอะที่สุด ซึ่งผลดีจะตกอยู่ที่ทุกฝ่าย ผู้ซื้อสามารถดู Product Demonstration จากผู้ขายได้เลยโดยไม่ต้องรอสินค้าออกสู่ตลาดก่อน ส่วนสำหรับผู้ค้าที่ได้พบปะกับผู้ซื้อที่เป็น Focus Group โดยตรง และได้ประเมินผลต่อจากการจัดแสดงงานอย่างเช่น การได้เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือการจับกับเทรนด์เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่จะตอบกับการรองรับในอนาคต”
ส่วนในบทบาทของสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) หรือ TEA และประธานการจัดงาน Thailand MICE X-Change 2025 คุณมุกมุ่งหมายให้งาน TMX25 ในครั้งนี้เป็นงานที่รวบรวมเทรนด์และนวัตกรรมการจัดแสดงงาน Exhibition ให้กับผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์เพื่อนำไปสานต่อกับเนื้องานของตัวเองได้อย่างสร้างสรรค์
“เราเองต้องเตรียมและเสาะหาความแปลกใหม่ พร้อมกับโชว์เทรนด์หรือเครื่องมือที่ลูกค้าหรือ Supply Chain สามารถนำเอาไปใช้งานต่อได้ สำหรับคนจัดงาน Exhibition อยู่แล้วก็สามารถมาค้นหาหรือ Sourcing ซัพพลายเออร์ใหม่ๆ อาจเป็นสิ่งที่กำลังมองหาอยู่หรือสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หรือแม้แต่คนที่ยังไม่เคยทำงาน Exhibition ก็สามารถนำแรงบันดาลใจจากงานดีไซน์ หรือไอเดียในการทำ Exhibition จากผู้ให้บริการโดยตรงมาเป็นโจทย์ใหม่ๆ สำหรับการทำงานได้เช่นกัน”
NEXHIBITION – One-Stop Solution ของคนจัด Exhibition
ในปีนี้ งาน Thailand MICE X-Change หรือ TMX25 มาในคอนเซปต์ NEXHIBITION ที่เป็นการรวมคำว่า Next เข้ากับ Exhibition เพื่อเล่าถึงก้าวต่อไปข้างหน้าของวงการ Exhibition โดยมี TCEB เป็น Strategic Partner
“ในโลกที่เราทุกคนต้องเป็น Responsible Citizen หรือเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อโลก เราจะสามารถทำอะไรได้บ้างกับวงการ Exhibition ที่ได้ชื่อว่าสร้างขยะมาก เราอยากปูรากฐานในมุมมองของความยั่งยืน หรือ Sustainability เข้าไปสู่ผู้ประกอบการว่า เราจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในวงจรความยั่งยืนในอุตสาหกรรมของเราได้อย่างไร และเราจะทำธุรกิจที่โลกก็รักเราเหมือนกันได้อย่างไร มีวัสดุหรือโซลูชันทางเลือกไหม เราสามารถส่งต่อของที่เราใช้แล้วไปสู่คอมมิวนิตีที่ต้องการได้ไหม หรือแม้กระทั่งเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณหรือชดเชยคาร์บอนฟุตปรินต์ทำได้อย่างไร”
รวมให้ครบจบที่เดียว หรือ One-Stop Solution สำหรับคนจัดงาน Exhibition เป็นนิยามที่ผู้มาร่วมงานจะได้สัมผัสในงานครั้งนี้แบบครบทั้งกระบวนการจัดงาน Exhibition ตั้งแต่เรื่องวัสดุ งานดีไซน์ เทคโนโลยี Tech Firm และความยั่งยืน เป็นแนวทางให้ผู้ร่วมงานในส่วนเอกชนสามารถทำการตลาดได้ดีขึ้น และคิดต่อยอดให้กับงาน Exhibition ของตัวเองต่อได้ว่ายังต้องการสิ่งไหนเพิ่มเติม การจัดการที่ง่ายกว่า หรือจุดประกายความคิดสร้างสรรค์สำหรับสิ่งใหม่เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า และยังรวมถึงหน่วยงานราชการกับการจัดการ KPI หรือการประเมินในด้านความยั่งยืน เรียกว่างานครั้งนี้รวบรวมไว้ให้ทั้งหมดแล้ว
พบกับงาน TMX25 : NEXHIBITION กับก้าวใหม่ที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้า ระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2568 ที่ Paragon Hall ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-19.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกชมได้ที่ https://tmxexpo.com