การต่อสู้อันยาวนานของความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แม้หลายประเทศหลายพื้นที่จะมีการยอมรับ และเปิดโอกาสให้ผู้นำระดับสูงมีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่หากหันกลับมามองในบ้านเราก็อาจจะยังพูดได้ไม่เต็มปากนัก เพราะมายาคติเกี่ยวกับข้อจำกัดที่ขึ้นอยู่กับเพศนั้นยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญทั้งในการใช้ชีวิตและหน้าที่การงานของคนไทยจำนวนไม่น้อย
สิ่งนี้กีดกันไม่ให้ผู้หญิงเติบโตในหน้าที่การงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงยังไม่สามารถก้าวไปสู่จุดสูงสุดในสังคมได้อย่างที่เราพยายามพร่ำบอกกัน แต่ขณะเดียวกับที่เวลาผ่านไป ผู้หญิงก็พิสูจน์ความจริง ทำลายภาพจำเดิมๆ ให้โลกได้ประจักษ์สายตาอยู่บ่อยๆ ว่า เกิดเป็นผู้หญิงก็ไม่ได้อ่อนแอเสมอไป สามารถข้ามขีดจำกัดต่างๆ ไปได้ หากเชื่อมั่นในพลังของตัวเองมากพอ
Who Stop You จงเชื่อในพลังหญิง
ไม่ว่าจะเก่งกาจ แกร่งกล้าแค่ไหน ผู้หญิงหลายคนก็อดไม่ได้ที่จะพะว้าพะวงเมื่อก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงลิบหรือเป็นเป้าของแรงกดดันในสังคม อันเนื่องมาจากความเชื่อค่านิยม จารีตประเพณีที่สั่งสมมาตั้งแต่เกิดจนอาจเหนี่ยวรั้งการก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่รู้ตัว ในช่วงปี ค.ศ.1980 โลกตะวันตกมีการพูดถึงคำว่า เพดานกระจก (Glass Ceiling) กันอย่างแพร่หลาย อุปมาอุปไมยให้เห็นภาพว่าผู้หญิงถูกจำกัดศักยภาพด้วยบางสิ่งที่มองไม่เห็น พวกเธอจะปีนขึ้นไปได้สูงจนถึงระดับหนึ่งและคาดหวังว่าจะไปได้จนถึงเป้าหมาย แต่ก็กลับต้องชนอย่างจังกับเพดานกระจกเมื่อยามจะปีนขึ้นไปอีกขั้นที่มากกว่าแค่การทำงานด้านการจัดการ เป็นศัพท์ที่ใช้คู่กันกับ ‘Mommy Track’ ซึ่งเป็นความเชื่อที่มองว่าผู้หญิงจะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเมื่อมีลูก จึงทำให้ผู้หญิงมักถูกวางตำแหน่งให้ทำงานที่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อบริษัท
สิ่งนี้กีดกันไม่ให้ผู้หญิงเติบโตในหน้าที่การงานได้เท่าเทียมกับผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงยังไม่สามารถก้าวไปสู่จุดสูงสุดในสังคมได้อย่างที่เราพยายามพร่ำบอกกัน การต่อสู้อันยาวนานของความไม่เท่าเทียมทางเพศนั้นยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แม้หลายประเทศ หลายพื้นที่จะมีการยอมรับและเปิดโอกาสให้ผู้นำระดับสูงมีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่หากหันกลับมามองในบ้านเราก็อาจจะยังพูดได้ไม่เต็มปากนัก เพราะแม้แต่ในปัจจุบันมายาคติเกี่ยวกับข้อจำกัดที่ขึ้นอยู่กับเพศนั้นยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญทั้งในการใช้ชีวิตและหน้าที่การงานของคนไทยจำนวนไม่น้อย
แต่ขณะเดียวกันกับที่เวลาผ่านไป ผู้หญิงก็พิสูจน์ความจริง ทำลายภาพจำเดิมๆ ให้โลกได้ประจักษ์สายตาอยู่บ่อยๆ และนี่คือ ผู้หญิงสองคนที่ทำให้เราเห็นเป็นรูปธรรมว่า การเกิดเป็นหญิงนั้นแท้จริงแสนสนุก หากเชื่อมั่นในพลังของตัวเองมากพอ
ยิ่งสูงยิ่งหนาว
การเกิดและเติบโตในครอบครัวของตระกูลที่นามสกุลถูกนำมาใช้แทนความหมายของคำว่าร่ำรวย เป็นโจทย์ตั้งต้นที่น่าอิจฉาและน่าท้าทายในเวลาเดียวกัน ท่ามกลางความพรั่งพร้อมที่ห้อมล้อมชีวิตไว้ มาดามแป้ง นวลพรรณ ล่ำซำ ทายาทตระกูลล่ำซำ รุ่นที่ 5 เส้นทางในชีวิตที่ราวกับถูกลิขิตไว้หมดแล้วว่าจะต้องเข้ามารับตำแหน่งบริหารกิจการของครอบครัว แต่เธอก็ต้องพิสูจน์ตัวเองอยู่ตลอดเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นงานใดเธอก็ไม่เคยมาเล่นๆ! แม้มาดามแป้งจะรับตำแหน่งเป็นซีอีโอ แต่เธอก็เข้าไปพบปะพูดคุยกับลูกค้าด้วยตัวเองมากถึง 10 รายต่อเดือน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วภารกิจเหล่านี้ ผู้บริหารระดับสูงมักเลือกที่จะส่งต่อให้ลูกน้องไปดำเนินการกันเองมากกว่า แต่เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่น และยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันกับลูกค้า ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารและแบรนด์แอมบาสเดอร์ไปพร้อมๆ กัน
นอกจากเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด เธอยังมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในชีวิตที่เลือกจะลงมือทำด้วยตัวเอง อย่างกิจการนำเข้าสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมจำนวนมากเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ Hermes Emporio Armani, Chole ฯลฯ รวมไปถึงการก้าวสู่วงการกีฬาฟุตบอลที่ขึ้นชื่อว่าผู้ชายเป็นใหญ่ มาดามแป้งก้าวเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2552 จากคนที่ประทับใจในการชมฟุตบอล เมื่อได้โอกาสดีจึงไม่รอช้าที่จะนำทักษะในการทำงานที่ผ่านมาของเธอเอง เข้ามาจัดการดูแลทีมฟุตบอล ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดอันมากมายมหาศาลที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 90 นาทีของการแข่งขันในสนาม แต่เป็นความอดทน มุ่งมั่น และสร้างกำลังใจให้ทุกคนในทีม แม้จะได้รับแรงกดดันมหาศาลจากความคาดหวังที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของทีมฟุตบอลหญิงที่ไม่เป็นที่รู้จักสักเท่าไรนัก
แต่สุดท้ายมาดามแป้งก็สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการพาสาวๆ ทีมชาติไทยเข้ารอบฟุตบอลโลกหญิง ปี 2015 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ซึ่งแม้จะตกรอบแรกแต่ก็สร้างผลงานได้เป็นที่น่าจดจำ แถมยังทำให้ผู้คนหันมาสนใจ สื่อต่างๆ หันมาจับตามอง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์หันมาให้ความสำคัญแก่ทีมฟุตบอลหญิงไทยมากขึ้น และไม่ปล่อยให้โอกาสดีๆ ในการสร้างสีสันให้วงการฟุตบอลไทยหลุดลอยไป ด้วยการตัดสินใจนั่งเก้าอี้ประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ ด้วยหวังว่าทีมเก่าแก่ที่อยู่มานานกว่า 50 ปีจะกลับมาผงาดในลีกสูงสุดของเมืองไทยได้อีกครั้ง ทุกก้าวของมาดามแป้งจึงเป็นความท้าทายสองชั้น ทั้งท้าท้ายขนบของภาพจำผู้หญิงในสังคมไฮโซและท้าทายขีดจำกัดในการแก้ปัญหาอันหลากหลายของตัวเองไปพร้อมกัน
ยิ่งไกลยิ่งแกร่ง
ไม่ว่าจะเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่สักเพียงใด ก็มักมีผู้หญิงคอยผลักดันอยู่เบื้องหลังเสมอ เช่นเดียวกับภารกิจระดับชาติเมื่อปลายปีที่แล้ว ที่ตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย เริ่มออกวิ่งเป็นระยะทางกว่า 2,191 กิโลเมตรเพื่อโครงการ ‘ก้าวคนละก้าว’ ซึ่งตลอดเส้นทางมีคนหนึ่งที่ไม่เคยได้หยุดด้วยเช่นกัน นั่นคือ หมอเมย์-สมิตดา สังขะโพธิ์ คุณหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำตัวคอยตรวจสอบอาการบาดเจ็บ ดูแลเรื่องโภชนาการ และคอยควบคุมจังหวะการวิ่งทุกย่างก้าว สิ่งที่เหนื่อยกว่าการวิ่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 55 วันคงไม่เท่ากับการที่ต้องทำงานท่ามกลางสายตานับล้านที่เปี่ยมไปด้วยความคาดหวัง กลายเป็นคุณหมอที่ถูกจับตาการทำงานจากประชาชนทั้งประเทศตลอด 24 ชั่วโมง และต้องยืนหยัดต้านทานกระแสข่าวจริงบ้างเท็จบ้างเกี่ยวกับตัวเธอซึ่งเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน และแน่นอนว่ายิ่งอยู่ในกระแสข่าวทุกวันอัปเดตเป็นรายนาทีก็ย่อมหนีไม่พ้นการถูกจับจ้องและวิพากษ์วิจารณ์ในทุกแง่มุม ตั้งแต่การปฏิบัติหน้าที่ จรรยาบรรณแพทย์ไปจนถึงรูปร่างหน้าตา
แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยทำให้หมอเมย์หยุดวิ่ง หรือล้มเลิกไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ในฐานะแพทย์สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู หมอเมย์ทุ่มเทอย่างเต็มที่กับการให้คำปรึกษานักวิ่งทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก รวมถึงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับท่าทางการวิ่งด้วย เพราะตัวหมอเมย์เองก็สนุกกับการท้าทายขีดจำกัดของร่างกายตัวเองผ่านการวิ่งมาราธอนมามาไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง และเพิ่งจบการแข่งขัน The Lake Saroma Ultramarathon ระยะทาง 100 กิโลเมตรที่ฮอกไกโด ประเทศญีปุ่นไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2561 หนึ่งวันของหมอเมย์จึงเหมือนกับมีมากกว่าคนอื่นๆ เท่าตัว เพราะนอกจากทำงาน ออกกำลังกายเป็นประจำแล้วยังเปิดเพจ ‘Goodhealth สุขภาพดีอย่างมีกึ๋น’ เพื่อแบ่งปันความรู้ในการดูแลสุขภาพหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะไม่ต้องพบแพทย์ได้ ตอบรับกับกระแสการลงแข่งขันวิ่งมาราธอนของคนไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
ด้วยความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและความเชื่อมั่นในตัวเองทำให้ภารกิจของ ‘ก้าวคนละก้าว’ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เมื่อทุกคนถึงเส้นชัย ภารกิจเสร็จสิ้น ทุกคนต่างแยกย้ายไปทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป หมอเมย์ก็ยังคงเดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจให้ใครต่อใครอีกหลายคนอยากลุกขึ้นมาผูกเชือกรองเท้าแล้วออกวิ่งตามไปด้วยเช่นเคย
เราเชื่อว่าต่อให้เมื่อถึงเวลาที่ให้สังคมหันไปทางอื่นแล้ว เธอทั้งสองคนและใครอีกหลายคนก็จะยังคงเดินหน้าต่อไป ตามหนทางที่เลือกด้วยตัวเองต่อให้หมดข้อกังขาที่จะต้องพิสูจน์ความสามารถ หมดคำถามความแคลงใจ แต่อนาคตยังรอมอบความท้าทายใหม่ๆ ให้เราทุกคนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ที่ไม่ยึดติดอยู่กับภาพจำเดิมๆ ไม่หยุดที่จะมุ่งไปคว้าเป้าหมายใหม่ๆ ไม่หยุดที่จะเข้าถึงและเข้าใจทุกคน เพื่อผลักดันให้คำว่าดีที่สุดดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
พบเรื่องราวมากกว่านี้ต่อได้ที่ https://www.facebook.com/hondamotorcyclethailand/