ถ้าพูดถึงประสบการณ์ของการซื้อรถจักรยานยนต์สักคัน ภาพจำของการขาย การบริการ ไปจนถึงความสะดวกสบายในโชว์รูม อาจไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับหลายคนมากเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับ การขาย การบริการ และโชว์รูม ที่ได้รับจากค่ายรถยนต์
แต่นั่นไม่ใช่สำหรับ YAMAHA แบรนด์รถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น ที่กำลังก้าวสู่ปีที่ 68 และผ่านการทำตลาดในไทยมาอย่างยาวนาน ได้ยกระดับภาพลักษณ์ให้เป็นแบรนด์พรีเมียมอย่างเต็มตัว ตั้งแต่เรื่องของการพัฒนาสินค้าให้เหมาะกับตลาดเมืองไทย การยกระดับโชว์รูมให้ทันสมัย ทั้งด้านการขายและบริการ ไปจนถึงโครงการประกวดออกแบบเสื้อยูนิฟอร์ม YAMAHA Unique Form Design Contest ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าทั่วประเทศ
The MATTER ชวนไปคุยกับ คุณพงศธร เอื้อมงคลชัย รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ถึงแนวคิดในการยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ที่จะเปลี่ยนประสบการณ์ของการไปซื้อรถจักรยานยนต์ให้แตกต่างจากเดิม
มองว่าตรงตลาดรถจักรยานยนต์ของปีที่แล้ว เทียบกับปีนี้ กลุ่มผู้บริโภคมีความต้องการใช้รถจักรยานยนต์เปลี่ยนไปอย่างไร
กลุ่มเป้าหมายของเรา แบ่งเป็นหลักๆ สองกลุ่ม คือกลุ่มที่ต้องการความคุ้มค่า ความประหยัด และความคงทนของสินค้า และกลุ่มที่ต้องการภาพลักษณ์ที่ดูพรีเมียมไม่เหมือนใคร ซึ่งกลุ่มแรก เราให้ความสำคัญบนความคุ้มค่า โดยนำเสนอการรับประกัน 5 ปี ไม่จำกัดกิโลเมตร ซึ่งตรงนี้ทำให้ตลาดเติบโตขึ้น market share ก็ดีขึ้นด้วย มีสินค้าอย่างรุ่น Yamaha Finn และ Yamaha Exciter155 ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ต้องการความเป็นแฟชัน ความพรีเมียม มีสินค้าอย่างรุ่น Yamaha Grand Filano Hybrid Connected และ Yamaha XMAX Connected ปีที่แล้ว เราเพิ่งเปิดตัวรุ่นใหม่อย่าง Yamaha Fazzio Hybrid Connected ที่ขายดีไซน์สวยในสไตล์วัยรุ่น สามารถดึงความสนใจได้มากขึ้น ซึ่งในช่วงโควิดก็มีความยากลำบาก เรื่องของการล็อกดาวน์ คนต้อง work from home มากขึ้น เป็นโอกาสที่ตลาดเดลิเวอรีและแมสเซนเจอร์เติบโตไวมาก ทำให้ยอดขายทั้งสองกลุ่มเติบโตด้วยเช่นกัน ตลาดภาพรวมก็กระเตื้องขึ้น
อยากให้อธิบายถึงความพรีเมียม ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของยามาฮ่าไปแล้ว
การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในรถจักรยานยนต์คือสิ่งที่ยามาฮ่าทำมาตลอด ยามาฮ่าเป็นรายแรกที่นำเสนอรถจักรยานยนต์ที่ใช้ระบบไฮบริด และเป็นรายแรกที่นำเสนอฟังก์ชันที่เชื่อมกับมือถือได้อย่าง Yamaha Y-Connect โดยตัวอย่างความพรีเมียมแบรนด์แบ่งเป็น 3 ด้านหลักๆ ด้านแรกคือดีไซน์ สีสัน กราฟิกต้องสวยนำสมัย อย่างปีที่แล้วเรานำสีแชมเปญโกลด์ มาใช้ในรุ่น Yamaha Grand Filano Hybrid Connected เป็นครั้งแรกที่ประยุกต์นำสีที่ใช้กับรถยนต์หรือรถพรีเมียมหรูๆ มาใช้กับรถจักรยานยนต์ ด้านที่สองคือเรื่องความประหยัดน้ำมัน อัตราการเร่ง ระบบไฮบริด และด้านที่สามคือฟังก์ชันเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ไฟหน้าดิจิทัลมิเตอร์ มีจอ TFT สีสันสวยงาม ทั้งหมดนี้เป็นความพรีเมียมที่สร้างความแตกต่าง
อะไรคือที่มาของแนวคิด ที่ทำให้ยามาฮ่าพลิกโฉมโชว์รูมสู่ NEW YAMAHA SQUARE
ปรัชญาการทำงานของยามาฮ่า คือการมองที่ลูกค้าเป็นหลัก ลูกค้าปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนแปลง ต้องการอะไรที่ทันสมัย ต้องการคอมมูนิตี้ใหม่ๆ และต้องการรถจักรยานยนต์ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์มากขึ้น ไม่ใช่ซื้อไปใช้งานอย่างเดียว ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เราต้องเปลี่ยนโฉมโชว์รูมให้เพิ่มความทันสมัย และสะดวกสบายมากขึ้น จาก YAMAHA SQUARE เดิมที่สร้างมากว่า 15 ปีแล้ว เราจึงร่วมมือกับผู้จำหน่ายทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนโชว์รูมให้มีความพรีเมียมหรูหรา แต่มินิมอลลิสต์ ตามเทรนด์ทั่วโลกที่เรียบง่าย ในขณะเดียวกันฟังก์ชันก็ต้องครบ ฉะนั้นพอเดินเข้าไป ต้องเห็นโชว์รูมทั้งหมด ไม่มีอะไรขวางกั้นสายตา สามารถเดินดูรถหลายๆ รุ่นได้ ลองขี่คร่อมได้ เทียบสี เทียบรุ่นได้ Wi-Fi ต้องแรง มีที่ชาร์จมือถือ ส่วนซ่อมบำรุงก็โล่งโปร่ง มองเห็นรถที่กำลังซ่อมอยู่ด้วย มีหน้าจอแจ้งคิวบริการชัดเจน การบริการต้องเป็นมืออาชีพ บริการอะไหล่แท้ คือทุกอย่างจะยกระดับหมดเลย สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าที่มาซื้อรถจักรยานยนต์ ปัจจุบันปรับปรุงเสร็จไป 100 กว่าแห่งแล้ว ปีนี้มีเป้าหมายว่าจะเห็นโชว์รูม NEW YAMAHA SQUARE 170 แห่งทั่วประเทศ
โยงมาถึง YAMAHA Unique Form Design Contest มีแนวคิดในการจัดโครงการนี้อย่างไร
ปีที่แล้วเราฉลอง 67 ปี เราอยากจะให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบลายหมวกกันน็อก เป็นการทำงานในเชิงสังคม เพื่อให้ทุกคนมีความปลอดภัยในชีวิต มีการนำผลงานของผู้ชนะเลิศมาทำขายจริงเป็น Limited Edition ขาย 6,700 ใบ หมดภายในหนึ่งสัปดาห์ ส่วนปีนี้เราคิดว่าโชว์รูมก็ทันสมัย เราก็ต้องใส่ใจถึงพนักงานด้วย ทั้งฝ่ายต้อนรับลูกค้า บริการทั้งก่อนและหลังการขาย นอกจากมีความรู้แล้ว ต้องมีความทันสมัยด้วย สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของโชว์รูมและแบรนด์ จึงเป็นที่มาของโครงการประกวดออกแบบชุดยูนิฟอร์มให้กับผู้จำหน่ายยามาฮ่า ผลงานที่เข้าประกวดมีเงื่อนไขว่าต้องดูทันสมัย บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นยามาฮ่า แล้วต้องใช้งานได้ดีและตอบสนองได้หมด
ผลงานที่เข้าประกวดเป็นอย่างไรบ้าง
ผลงานที่เขาประกวด เราแบ่งเป็น 2 หมวดหมู่ คือบุคคลทั่วไปและผู้จำหน่าย มีคนส่งเข้าประกวด 848 ชิ้นงาน บุคคลทั่วไป 373 ชิ้นงาน แล้วก็เรามีผู้จำหน่ายทั่วประเทศ 300 บริษัท ส่งผลงานเข้ามาถึง 475 ชิ้นงาน ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก คือเขาไม่ได้แค่ส่งผลงานมาอย่างเดียว แต่ส่งแรงบันดาลใจในการออกแบบมาด้วย เพราะสินค้าเรามีหลายซีรีส์ ทั้งรถสไตล์สปอร์ต รถใช้งานทั่วไป รถแนวเฮอริเทจ เขาก็สามารถนำเอาความเป็นแบรนด์ต่างๆ เหล่านี้ถ่ายทอดออกมาได้อย่างดี จนอาจารย์จากสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ที่เป็นกรรมการ ชมว่าผลงานที่ส่งเข้ามาออกแบบได้น่าประทับใจ นำความเป็นยามาฮ่าถ่ายทอดออกมาเป็นกราฟิกได้ดีมากๆ ทั้งสีดำ เทา ขาว แดง ถูกนำมาประยุกต์ใช้ ที่สำคัญคือร่วมสมัย คนรุ่นใหม่เขาใส่แล้วไม่ขัดเขิน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
สุดท้ายอยากให้เล่าถึงแผนต่อไปของยามาฮ่า ทั้งในปีนี้และปีต่อๆ ไป
สเต็ปต่อไปของเราคือการเน้นสร้างความแตกต่าง ผู้บริโภคเห็นแล้วสามารถรับรู้ได้ เราต้องการให้ผู้จำหน่ายและลูกค้ามีส่วนร่วมในการทำการตลาดด้วยกัน อย่างเช่น การประกวดลายหมวกกันน็อกปีที่แล้ว จนมาถึงการประกวดยูนิฟอร์มปีนี้ เราใช้เวลาทำตลาดและศึกษามา 68 ปีแล้ว อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม มีความภาคภูมิใจ และเป็นเจ้าของแบรนด์ด้วยกัน
ผลงานที่ได้รับรางวัล YAMAHA Uniqueform Design Contest
ประเภทผู้จำหน่ายจักรยานยนต์ยามาฮ่า
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท ซี.เค. เจริญยนต์ จำกัด จ.ขอนแก่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ บริษัท สหไทยอินเตอร์เทรด จำกัด จ.สิงห์บุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ บริษัท โล้วเฮงหมง มอเตอร์ จำกัด จ.กาญจนบุรี
ประเภทบุคคลทั่วไป
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นพไพสิษฐ์ ขอจุลซ้วน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ อภิทาน ลิ้มบริบูรณ์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ พุทธนันท์ นพกวด