เคยสงสัยไหมว่าคุณภาพชีวิตเด็กๆ ในโรงเรียนที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในยุโรปเป็นอย่างไร? วันนี้เราจะพาไปรู้จักประเทศ ‘เอสโตเนีย’ (Estonia) ที่ถึงแม้จะมีขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่ก็ได้รับการประเมินว่ามีระบบการศึกษาดีที่สุดในยุโรป
เด็กๆ ในเอสโตเนียจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ตั้งแต่ 7 ขวบ ครูที่นี่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) ทำให้เคมี ประวัติศาสตร์ และภาษามีชีวิตขึ้นมา ซึ่งประเทศเล็กๆ แห่งนี้มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในยุโรปตามการประเมินนักศึกษานานาชาติ ที่ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
แม้ว่าค่าเล่าเรียนจะค่อนข้างต่ำ แต่เอสโตเนียก็เป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้นๆ ของโลกในการประเมินเด็กอายุ 15 ปี ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่นี่เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดในการส่งเสริมความเป็นธรรม และนักเรียนชาวเอสโตเนียเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความสุขที่สุดใน OECD
สิ่งที่ทำให้เอสโตเนียประสบความสำเร็จคืออะไร?
‘เทคโนโลยี’ เป็นหนึ่งในความลับของความสำเร็จ เอสโตเนียหรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม e-Estonia มองตัวเองว่าเป็นประเทศในระดับเริ่มต้นธุรกิจ และกว่า 99% ของบริการภาครัฐเป็นรูปแบบออนไลน์ นักเรียนที่นี่จะมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรัฐบาลเข้ามาลงทุนทำสิ่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้แน่ใจว่าทุกโรงเรียนจะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์และอินเตอร์เน็ตที่ดี
นักเรียนส่วนใหญ่จะใช้ตารางเวลาแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสอบต่างๆ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์ การบ้านของเด็กๆ ถูกเซ็ตให้เป็นแบบดิจิทัล เพื่อช่วยลดจำนวนการตรวจสำหรับครู นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดออนไลน์ระดับชาติที่มีข้อมูลทางการศึกษามากกว่า 20,000 รายการ ที่ชื่อว่า ‘e-Schoolbag’
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญคือ ระบบการศึกษาเอสโตเนียไม่ได้ให้มีแข่งห้องเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานอุปกรณ์ต่าๆ เป็นเท่านั้น แต่พวกเขาตั้งใจให้นักเรียนทุกคนมีสกิลเกี่ยวกับโลกดิจิทัล เพื่อหาความรู้ด้วยตัวเองไปติดตัวในระยะยาวด้วยเช่นกัน
ระบบการศึกษาของเอสโตเนียไม่ได้ให้เด็ก ‘สอบ’ กันอยู่บ่อยๆ โดยวิชาที่จะให้สอบในชั้นระดับมัธยมปลาย จะมีแค่ 3 วิชาหลักๆ เท่านั้น คือคณิตศาสตร์ ภาษาเอสโตเนีย และอีกวิชาที่พวกเราเลือกได้เอง
โรงเรียนในเอสโตเนียไม่ได้มีการตรวจสอบบ่อยแบบถี่ๆ จนทำให้ครูต้องมาปวกหัวตลอดเวลา แต่จะมีการประเมินทุกๆ 3 ปีทางออนไลน์สำหรับนักเรียน และจะมีเจ้าหน้าที่แทรกแซงเข้ามาก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาเท่านั้น ลินา เคอร์สนา (Liina Kersna) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัยเล่าว่า เขาเชื่อว่าครูของมีอิสระอย่างมาก พวกเขาใช้เวลาในห้องเรียนน้อยกว่าครูส่วนใหญ่ (ของโรงเรียนที่ OECD ทำการประเมิน) ซึ่งนั่นแปลว่าพวกเขาจะมีเวลามากขึ้นในการเตรียมบทเรียน และพัฒนาวิชาชีพ
ครูในโรงเรียนมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท และครูอนุบาลมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี ขณะที่เด็กในเอสโตเนียจะไม่สามารถเข้าโรงเรียนได้จนกว่าจะอายุ 7 ขวบ แต่มีสิทธิเข้าโรงเรียนอนุบาลได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือนขึ้นไป สถานรับเลี้ยงเด็กจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐจำนวนมากเพื่อที่ผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเงินเกิน 20% ของค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งน้อยกว่า 500 ปอนด์ (ประมาณ 23,000 บาท) ต่อเดือน
เมื่อสิ้นสุดชั้นอนุบาลเด็กๆ จะได้รับเอกสารยืนยันความพร้อมที่อธิบายทักษะและพัฒนาการของเด็ก ส่วนเด็กคนไหนที่ต้องการความช่วยเหลือก็จะถูกส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักบำบัดการพูด ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้โรงเรียนในเอสโตเนียจะมี อาหารกลางวันฟรี เช่นเดียวกับการเดินทาง หนังสือเรียน ทริปท่องเที่ยว ชั้นเรียนแบบผสมโดยที่ไม่ได้แยกนักเรียนออกเป็นห้องๆ ขณะที่นักเรียนคนไหนมีปัญหาด้านพฤติกรรมจะถูกรับไปสอนแบบตัวต่อตัว หรือสอนแบบกลุ่มย่อย บางโรงเรียนมีนักจิตวิทยาของตัวเอง และมีการสำรวจความเป็นอยู่ และสุขภาพจิตทั้งนักเรียนและครูด้วย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอสโตเนียประสบความสำเร็จได้หลักๆ เลยคือ เทคโนโลยี ลองคิดกันเล่นๆ ว่าถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยบ้าง นอกจากจะช่วยลดภาระงานประจำวันของครูไปได้เยอะแล้ว การเก็บข้อมูลต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีอาจทำให้การตรวจสอบ หรือประเมินนั้นง่ายขึ้นด้วย แบบนี้ประเทศไทยต้องไปดูงานแล้วไหม?
อ้างอิงจาก
- thetimes uk 1, 2
- theguardian.com