รัฐบาลยังเดินหน้าแก้ไขสถานการณ์ชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร (2563) ด้วยการปิดกั้นช่องทางการสื่อสารต่อไป ทั้งช่องทางการสื่อสารระหว่างแกนนำกับผู้ชุมนุม และช่องทางการสื่อสารจากสื่อมวลชน
ภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า ล่าสุดศาลมีคำสั่งปิดกั้นทุกแพล็ตฟอร์มออนไลน์ของ ‘เยาวชนปลดแอก’ แล้ว ตามคำร้องของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่อ้างว่าทำผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หลังจากปิดกั้น Voice TV ไปแล้วก่อนหน้านี้
ส่วนอีก 3 สื่อออนไลน์ ได้แก่ ประชาไท, The Reporters และ The Standard ภุชพงค์อ้างว่ายังไม่เข้าข่ายเสนอให้ศาลสั่งปิดแต่อย่างใด “เพราะตรวจสอบไม่พบหลักฐาน อาจจะลบไปแล้วก็ได้”
อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ภาครัฐก็ไม่เคยเปิดเผยเลยว่า เนื้อหาส่วนใดมีรายละเอียดแบบไหนที่ผิดกฎหมาย
สำหรับขั้นตอนการปิดกั้นสื่อออนไลน์ตามคำร้องของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่เสนอให้ศาลมีคำสั่ง ภุชพงค์อธิบายว่า เมื่อศาลมีคำสั่งลงมาแล้ว ทางกระทรวงจะส่งต่อให้ผู้ให้บริการแพ็ลตฟอร์มออนไลน์ (ISP) ดำเนินการต่อไปซึ่ง ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ทั้ง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทูป ว่าจะดำเนินการไร
ทั้งนี้ จนถึงเวลาที่โพสต์ข่าวนี้ คือ 13.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2563 เรายังสามารถเข้าถึงเพจของเยาวชนปลดแอกได้
ขณะที่ Voice TV แม้เพจหลักจะยังเข้าถึงได้ แต่ก็มีการเตรียมแผนสำรองไว้คือหันไปรายงานข่าวผ่าน Twitch https://www.twitch.tv/voicetv
อ้างอิงจาก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/903774
https://www.matichon.co.th/politics/news_2405692
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/135285
#Brief #TheMATTER