ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า “ณ เวลานี้ประเทศไทยกำลังประเชิญกับวิกฤตที่น่ากังวลไม่ต่างกับวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือปัญหาเด็กตกหล่นและอัตราเด็กเกิดที่ลดลง”
เธอกล่าวว่า “ในปีนี้ถือเป็นปีที่มีอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำกว่า 5 แสนคน ทำให้กระทบกับจำนวนแรงงานในอนาคต และในแถลงนโยบายของท่านนายกฯ ก็มีเขียนไว้ว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ แต่ดิฉันไม่เห็นวิธีแก้ไขปัญหาเลย
นอกจากนี้ ฉันค่อนข้างติดใจคำว่าสวัสดิการโดยรัฐ ซึ่งในโลกนี้มีประเทศไทยที่ไม่มีสวัสดิการนี้หรือ? ทุกอย่างก็มาจากรัฐทั้งนั้น”
ไม่เพียงเท่านี้ เธอยังระบุว่า “รัฐยังกล่าวถึงเพียงกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุ และชาติพันธุ์เท่านั้น ดังนั้นจึงเท่ากับจะให้หรือให้ไม่ได้หรือเปล่าหรืออาจจะเปรียบเหมือนเป็นบุญคุณต่อกัน ซึ่งตามจริงแล้วรัฐต้องให้แล้ว”
เธอพูดต่อว่าที่สำคัญสวัสดิการถ้วนหน้า ต้องไม่ดูแลแค่ดูแลคนบางคนตามที่ท่านเขียนไว้ แต่เราต้องเร่งส่งเสริมคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่แยกฐานะว่าจนหรือเปราะบางหรือไม่ เท่ากับว่าสวัสดิการเท่ากับเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็น ประเทศอื่นๆ จึงออกนโยบายมากมายเพื่อให้คนสร้างครอบครัวและมีลูก
“มีคำกล่าวไว้คำหนึ่งว่า เราอยากเห็นอนาคตของประเทศเป็นแบบไหน ให้ดูว่ารัฐลงทุนกับเด็กแบบไหน” ซึ่ง ศศินันท์อ้างถึงผลวิจัยว่า การเลี้ยงเด็กให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องดูแลตั้งแต่ 0-7 ปีแรก
ดังนั้น สิทธิในการลาคลอดจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงเวลาทองที่เด็กและแม่จะได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ ฉะนั้น ถ้ารัฐให้ความสำคัญกับเด็กเล็กก็จะทำให้ปัญหาสังคมเลวร้ายน้อยลง แต่ปัจจุบันประเทศเรายังลาคลอดได้แค่เพียง 3 เดือน
เธอระบุเสริมว่า นอกจากแม่แล้ว การลาเลี้ยงดูลูกของพ่อก็สำคัญ ซึ่งตามผลการวิจัย การลาช่วยของพ่อจะทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวดียิ่งขึ้น เพราะแม่หลายคนมักจะประสบปัญหาซึมเศร้า
และการลาเลี้ยงดูบุตรของพ่อยังเป็นหนึ่งเครื่องมือช่วยในการเพิ่มความเท่าเทียมทางเพศและลดอคติบทบาททางเพศอีกด้วยว่าจริงๆ แล้วไม่ว่าเพศใดก็สามารถเลี้ยงลูกได้ นอกจากนี้ ประเทศไทยเราศูนย์เด็กเล็กยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้เด็กหลายคนจำเป็นต้องไปอยู่กับปู่ย่าตายาย
“แม้ว่าท่านนายกฯ จะเคยกล่าวในทวิตเตอร์ว่า ‘หลังลาคลอด 5 วันก็ทำงานได้แล้ว’ ซึ่งดิฉันหวังว่าคงไม่เอาแนวคิดนี้มากำหนดนโยบายนะคะ ซึ่งผู้ที่ข้าราชการผู้หญิงจะลาคลอดได้ 6 เดือน และข้าราชการผู้ชายก็สามารถลาเลี้ยงลูกได้ ดังนั้น เป็นความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย ไม่เพียงเท่านั้น ปัจจุบันเงินอุดหนุนเด็กเล็กได้เพียงเดือนละ 600 บาทเท่านั้นและยังให้เด็กยากจนเท่านั้น” เธอกล่าวปิดท้าย
อ้างอิงจาก