“เป็นการค้นพบที่ช่วยให้เข้าใจธรณีประวัติที่ซับซ้อนมากขึ้น” เมื่อนักวิจัยพบการมีอยู่ของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ที่หายไปหลายล้านปีก่อนอย่างไม่คาดคิด
เมื่อไม่นานมานี้ ซูซานนา ฟาน เดอ ลาเกมัต (Suzanna van de Lagemaat) นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยอูเทร็คท์ สร้างแผ่นเปลือกโลกจำลองขนาดใหญ่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ซึ่งมันเคยมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของมหาสมุทรแปซิฟิก
จุดเริ่มต้นของการค้นพบมาจากเพื่อนร่วมงานของเธอ ที่คาดถึงการมีอยู่ของมันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยอิงจากเศษแผ่นเปลือกโลกเก่าที่ถูกพบในช่วงเวลานั้น ต่อมาซูซานนาจึงตัดสินใจทำการวิจัยภาคสนามและตรวจสอบแนวภูเขาอย่างละเอียดบริเวณญี่ปุ่น บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ นิวกินี และนิวซีแลนด์ เพื่อหาคำตอบ
โดยเธอพบว่า มหาสมุทรทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวเคยเป็นของแผ่นเปลือกโลกที่นักวิจัยหลายคนพยายามหามันมานานแล้ว ซึ่งมันมีชื่อว่า ‘ปอนทัส (Pontus)’ อย่างไรก็ดี ความสำคัญของการทำความเข้าใจแผ่นเปลือกโลกถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเราจะเข้าใจประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยาของดาวเคราะห์หรือโลกของเรามากขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้ แผ่นเปลือกโลกปอนทัส ไม่เพียงแต่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ปาลาวัน เกาะทางตะวันตกของฟิลิปปินส์ รวมถึงทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากนี้ การศึกษาดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงระบบเปลือกโลกแผ่นเดียวที่ทอดยาวตั้งแต่ตอนใต้ของญี่ปุ่นไปจนถึงนิวซีแลนด์
อ้างอิงจาก