การค้นพบสัตว์ที่คาดว่าหายจากโลกไปตลอดกาลแล้ว เป็นสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อล่าสุดนักวิจัยค้นพบ ‘ตัวตุ่นปากยาว’ หนึ่งสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกตั้งชื่อตาม เดวิด แอตเทนโบโรห์ (David Attenborough) หรือผู้ที่เจอมัน หลังจากเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว 60 ปี
ภาพตัวตุ่นปากยาวที่มีหนามของเม่น จมูกของตัวกินมด และเท้าของตัวตุ่น เพิ่งถูกนำมาเผยแพร่ หลังจากนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดพบมันเข้า ที่เทือกเขาไซคลอปส์ของอินโดนีเซียอ อย่างไรก็ดี ตัวตุ่นแอตเทนโบโรห์ ถูกพบครั้งสุดท้ายโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เมื่อปี 1961
“เราดีใจกันมาก จนทุกคนต่างตะโกนกันว่า เราเจอมันแล้ว! เราเจอมันแล้ว!” เจมส์ เคมป์ตัน (James Kempton) กล่าว ซึ่งพวกเขาพบสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ เหล่านี้ ประมาณ 80 ตัว กำลังเดินกันภายในป่า
เขาระบุต่อว่า “เหตุผลที่มันดูไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ก็เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของ โมโนทรีม (monotremes) สัตว์เลือดอุ่น ที่มีขนปกคลุมร่างกาย มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีกระดูกขากรรไกรล่างชิ้นเดียว และมีกระดูกหูชั้นกลางสามชิ้น”
ทั้งนี้ ตัวตุ่นสายพันธุ์นี้ได้รับการบันทึกทางวิทยาศาสตร์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์ เมื่อปี 1961 นอกจากนี้ เขายังพบสัตว์ตัวตุ่นชนิดต่างๆ ทั่วออสเตรเลียและที่ราบลุ่มนิวกินี ซึ่งตัวตุ่นถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น และที่สำคัญมันยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกมองว่าหายากระดับต้นๆ ของโลก
อ้างอิงจาก