“Winter is coming?”
เกือบทั่วทั้งโลกตอนนี้ต่างกำลังเผชิญกับความหนาวเหน็บ ซึ่งไทยก็ถือเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน เมื่อล่าสุดกรมอุตุนิยมวิทยาระบุ 17-23 ธันวาคม ประเทศไทยเตรียมรับลมหนาว อย่างไรก็ดี วันนี้เราจึงชวนไปสำรวจพร้อมๆ กันว่า ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านเรามีฤดูหนาวที่เหมือนหรือแตกต่างกับดาวโลกอย่างไรบ้าง
เล่าก่อนกว่า ถ้าโลกไม่มีฤดูกาล ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏอยู่บนโลกขณะนี้คงต่างออกไปมาก เช่น ฤดูกาลต่างๆ จะอยู่ในระดับที่รุนแรงสุดขั้ว หรืออารยธรรมของมนุษย์อาจยังไม่กำเนิดขึ้นเลยก็ได้ ทว่าตอนนี้ประชากรโลกส่วนใหญ่กําลังพบกับฤดูหนาว แต่ฤดูกาลดังกล่าวนั้นมีลักษณะอย่างไรบนดาวเคราะห์ดวงอื่น
เรื่มต้นที่ ‘ดาวพุธ’ ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยมันใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 87 วัน ซึ่งส่งผลให้ทุกฤดูกาลบนดาวพุธจะเกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นมาก และข้อจำกัดอีกมากมาย อย่างไม่มีอากาศและน้ำ ทําให้ดาวพุธมีสภาพอากาศที่โหดร้ายเป็นอย่างมาก และตำแหน่งที่ตั้งของมันที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ซะเหลือเกิน ทำให้ฤดูหนาวของดาวพุธ จะเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อมันอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด
ถัดมาที่ดาวเคราะห์ที่ร้อนเกินกว่าที่มนุษย์อย่างเราจะจินตนาการได้ อย่าง ‘ดาวศุกร์’ เนื่องจากในช่วงที่ถือเป็นฤดูหนาวของมัน ยังมีอุณหภูมิสูงถึง 438 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ยังมีบรรยากาศที่เป็นกรดทั้งหมดอีก
‘ดาวอังคาร’ บ้านหลังที่ 2 ของมนุษย์? เนื่องจากมันมีหลายสิ่งที่หลายอย่างที่ใกล้เคียงกับโลก อย่างฤดูหนาวของดาวอังคารก็คล้ายกับโลกที่สุด ถ้าเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วยปีที่ยาวนานกว่าโลกเกือบ 2 เท่า ฤดูหนาวจึงยาวนานถึง 4 เดือน
ดาวเคราะห์ที่อยู่ถัดออกไปอย่าง ‘ดาวพฤหัสบดี’ เป็นดาวที่แทบจะไม่มีฤดูกาลจริงๆ เนื่องด้วยความเอียงของแกนมีเพียง 3 องศา ไม่ต่างกับดาวพุธ ทำให้วงโคจรของมันใกล้เคียงกับวงกลม ดังนั้นปริมาณแสงแดดที่มันได้รับจึงแทบจะเท่าเดิมตลอด
ซึ่ง ‘ดาวเสาร์’ ก็ไม่ต่างกับดาวพฤหัสบดีคือ ฤดูกาลแทบจะไม่เปลี่ยนแปลง และดาวยูเรนัสที่มีความเอียงตามแนวแกนถึง 97 องศา นั่นทําให้มันเป็นดาวที่มีฤดูหนาวยาวนาน ก่อนจะไปถึงดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย ขอพูดถึง ‘ดาวเนปจูน’ ซึ่งมีความเอียงของแกนมากกว่าโลกไม่มาก ทำให้ทั้งคู่มันมีฤดูกาลไม่ค่อยต่างกันเท่าไร
มาถึงที่ ‘ดาวพลูโต’ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มาก ทำให้มันได้รับปริมาณแสงน้อย ส่งผลให้ดาวพลูโตมีอุณหภูมิที่ต่ำแทบจะตลอดเวลา ทั้งนี้ ปี 2023 ถือว่าเป็น ‘ปีที่ร้อนที่สุด’ เท่าที่เคยมีการบันทึก อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โลกของเรายังมีฤดูหนาวอยู่นะ
อ้างอิงจาก