“เมื่อน้ําแข็งหายไป หมีขั้วโลกก็จะหายไปเช่นกัน”
หมีขั้วโลกในอ่าวฮัดสันของแคนาดาเสี่ยงต่อการอดอยาก เนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ระยะเวลาที่ปราศจากน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกยาวนานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกมันพยายามดื้นรนอย่างสุดความสามารถเพื่อความอยู่รอด ด้วยการอดทนอยู่บนบกให้ได้นานที่สุด
“หมีขั้วโลกฉลาดมาก พวกมันพยายามเอาตัวรอด ด้วยการค้นหาแหล่งอาหารอื่น” แอนโธนี่ ปากานโต (Anthony Pagano) นักชีววิทยาสัตว์ป่าจากสหรัฐฯ ระบุ
โดยนักวิจัยพบว่า พวกมันกินหญ้า ผลเบอร์รี่ นกนางนวล หนู และซากแมวน้ํา ระหว่างอยู่บนบก นอกจากนี้ หมีเหล่านี้ยังฆ่าเวลาด้วยการเล่นด้วยกันหรือแทะเขากวางคาริบู ซึ่งแทบไม่ต่างกับนิสัยของสุนัขแล้ว
ทั้งนี้ ตามปกติแล้วหมีขั้วโลกจะใช้น้ําแข็งที่ทอดยาวไปทั่วพื้นผิวมหาสมุทรในอาร์กติก สำหรับการเข้าถึงแหล่งของเหยื่อสำคัญ เช่น แมวน้ํา และพอเข้าช่วงอากาศอบอุ่น พวกมันจะปรับตัวด้วยการเซฟพลังงานในร่างกายให้ได้มากที่สุด หรือเข้าสู่ภาวะจําศีลเลยก็มี
แต่ปัจจุบันที่อุณหภูมิโลกกำลังพุ่งสูงขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์ กําลังเพิ่มช่องว่างแห่งการไร้น้ําแข็งของอาร์กติกยาวนานขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงเวลาปลอดน้ําแข็งเพิ่มขึ้นราว 3 สัปดาห์ หรือตีเป็นตัวเลขตรงๆ คือ หมีจำเป็นต้องอยู่บนบกนานถึง 130 วัน
นักวิจัยกล่าวย้ำว่า หมีขั้วโลก 19 ใน 20 ตัว กำลังประสบกับภาวะน้ําหนักลดฮวบ โดยแสดงให้เห็นว่ายิ่งหมีขั้วโลกอยู่บนพื้นดินนานเท่าไร ความเสี่ยงต่อความอดอยากก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า หมีขั้วโลกที่ขณะนี้มีเหลืออยู่ 25,000 ตัว ใกล้ที่จะสูญพันธุ์จากภาวะโลกเดือด
อ้างอิงจาก