อย่างที่ทราบว่า “แอลัน ทัวริง” บิดาแห่งวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้ ออกแบบบททดสอบในปี 1950 เพื่อวัดความชาญฉลาดของระบบปัญญาประดิษฐ์
“ หากมนุษย์ไม่สามารถแยะแยะว่า เขากำลังคุยอยู่กับมนุษย์หรือ AI จากโปรแกรมสนทนาได้ นั้นหมายความว่า AI มีระดับสัมปชัญญะสูงหรือผ่านการทดสอบแล้ว”
ล่าสุดนักวิจัยพบจุดบอดของทัวริง เมื่อ AI เลือกที่จะไม่ตอบคำถามคุณโดยการนิ่งเฉยเสียดื้อๆ
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Coventry ในอังกฤษ พบว่าระบบปัญญาประดิษฐ์หยุดโต้ตอบ หลังจากมนุษย์คู่สนทนาเริ่มสงสัยว่ากำลังคุยอยู่กับเครื่องจักร โดยการ “ขัดข้องเล็กๆ” จนผู้ออกแบบการทดสอบเริ่มไม่แน่ใจว่า มันเป็นปัญหาเชิงเทคนิคจริงหรือว่าความจงใจ?
เมื่อเราแยกแยะไม่ได้ นั้นหมายความว่า AI ได้ทำลายกฎของทัวริ่งแล้ว
การศึกษานี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าหาก AI ใช้เอกสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองได้ (Privilege against self-incrimination) โดยการนิ่งเฉย ทำให้ AI มีความใกล้เคียงกับการเป็นมนุษย์ได้หรือไม่
แต่มีเสียงหนึ่งที่ระบุว่าการทดสอบแบบทัวริ่งที่แม้ AI จะชนะด้วยการนิ่งเฉย ก็ไม่ได้หมายความ AI คิดเองเป็นแต่อย่างใด
นักวิชาการค้านว่า บททดสอบของทัวริ่งมุ่งเน้นให้ เครื่องจักรตอบสนองความพึงพอใจของมนุษย์ด้วยพฤติกรรมที่”คงเส้นคงวา” มากกว่าการนิ่งเฉยเพื่อหลีกเลี่ยง
แน่นอนการค้นพบใหม่ๆนี้ทำให้เรารู้ว่า มนุษย์ยังมีจุดบอดที่เราไม่ได้คาดคิดจาก AI อยู่อีกมาก พวกมันอาจเซอร์ไพร์ส์อะไรเราอีกก็ได้
(ขอให้เป็นเรื่องดีเถอะ)
ที่มา : http://www.tandfonline.com/…/full/10…/0952813X.2015.1132273…
ภาพ : UMSU