อย่างที่เราเคยเขียนไปว่า หลายๆ คนยังคาใจเหตุผลในการยกคำร้องของ ป.ป.ช. ไม่ไต่สวนคดีนาฬิกาหรูที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ยืมเพื่อนกว่า 20 เรือนมาสวมใส่
( ดูสรุปข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีนาฬิกาหรูที่หลายฝ่ายยังคาใจ https://www.facebook.com/thematterco/photos/a.1735876059961122/2199235436958513 )
เพื่อตอบคำถามคาใจนั้น ผู้สื่อข่าว The MATTER จึงใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ยื่นขอข้อมูลจาก ป.ป.ช.หลายรายการ อาทิ คำวินิจฉัยของกรรมการ ป.ป.ช.แต่ละคน โดยเฉพาะคนที่ให้ยกคำร้องไม่รับคดีนี้ไว้ไต่สวนต่อ, รายงานสรุปการแสวงหาข้อเท็จจริงของคณะทำงาน, คำชี้แจงของ พล.อ.ประวิตรที่ยื่นต่อ ป.ป.ช.ทั้งหมด 4 ครั้ง ว่าอ้างข้อเท็จจริงอะไรบ้าง, ข้อมูลเกี่ยวกับนาฬิกาว่า มียี่ห้ออะไรบ้าง ซีเรียลนัมเบอร์ มูลค่ารวม, รายชื่อเพื่อนคนอื่นๆ ที่ยืมนาฬิกามาใส่เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร ฯลฯ
โดยในคำร้องที่ยื่นไป มีการอ้างถึงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (กวฉ.) สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 226/2560 (กรณีวีระ สมความคิด ขอข้อมูลจาก ป.ป.ช. เรื่องคดีอุทยานราชภักดิ์) เพื่อยืนยันว่า คดีใดที่ ป.ป.ช.ยุติการไต่สวนแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบได้ “เพื่อแสดงให้เห็นว่า ป.ป.ช.เป็นหน่วยงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้”
โดย กวฉ. สาขาสังคมฯ ให้ยกเว้นการเปิดเผย เฉพาะรายชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลของพยาน รวมถึงคำให้การที่สามารถระบุตัวตนพยานได้เท่านั้น
ทั้งนี้ ในกรณีของวีระ แม้ต้องใช้เวลาปีเศษ แต่ท้ายที่สุด ป.ป.ช.ก็ต้องใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีอุทยานราชภักดิ์กับผู้ขออยู่ดี ตามสิทธิที่ได้รับการรับรองจาก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ
ที่มาภาพประกอบ
https://www.bbc.com/thai/thailand-42242212
#Brief #TheMATTER