นั่งทำงานอยู่ดีๆ ข้อความในไลน์ก็ขึ้นมาสั้นๆ ทำนองว่า “ว่างไหม เดี๋ยวเรามีเรื่องต้องคุยกัน” หลังจากนั้นมันก็เกิดความปั่นป่วนจิตใจได้ตลอดทั้งวัน ทำงานเริ่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว รู้สึกพะวงกับอะไรที่ไม่รู้เต็มไปหมด
ประโยค “We need to talk” เนี่ยถือว่าสร้างความปั่นป่วนให้กับคนทำงานจำนวนไม่น้อย และน่าจะเป็นกรณีร่วมกันที่ต้องเจอในออฟฟิศหลายประเทศ ซึ่งในทางจิตวิทยาแล้ว ก็ดูเหมือนจะมีคำตอบในเรื่องนี้อยู่บ้างนะ
Adam Galinsky นักจิตวิทยาสังคมจาก Columbia University ในสหรัฐฯ เชื่อว่า ประโยคนี้มันเต็มไปด้วยความคลุมเครือ และความคลุมเครืออันเข้มข้นนี้แหละทำให้ผู้ฟังเครียด กระวนกระวาย รวมถึงรู้สึกไม่มั่นคงได้ง่ายๆ
“ดังนั้นความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในประโยคดังกล่าว มันถูกทำให้ขยายใหญ่ขึ้นผ่านคนพูดที่มีอำนาจ” Galinsky กล่าว พร้อมกับอธิยายสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็น ‘The power amplification effect’ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่ในที่ทำงานเพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้ในความพันธ์ เช่น กับคนรักด้วย
ลองนึกดูถึงสถานการณ์ที่แฟนบอกว่า “คืนนี้เราต้องคุยกัน” ดูสิ ฟังดูแล้วก็น่ากลัวพอๆ กับเจ้านายพูดกับเราเลย
เอาเข้าจริงแล้ว เราอาจไม่สามารถฟันธงได้ชัดไปเลยว่า ประโยคทำนองนี้ต้องหายไปจากสถานการณ์ในออฟฟิศ แต่เขาพูดถึงในกรณีที่มันไม่ใช่เรื่องซีเรียสอะไรมาก ก็ควรเลี่ยงประโยคทำนองดังกล่าวน่าจะดีกว่า โดยเปลี่ยนเป็นคำที่ดูคลุมเครือน้อยลง เช่น
“มีเวลาว่างไหม มีเรื่องจะคุยด้วย แต่มันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรหรอกนะ” หรือ ก็พูดสิ่งที่อยากคุยไปตอนนั้นเลยแบบกระชับๆ ไปก่อน เพราะปัญหาใหญ่ของประโยคที่กำกวมแบบนั้น คือช่วงเวลาที่ทิ้งไว้ให้อีกฝ่ายรู้สึกกระวนกระวายใจจนเกินจำเป็น
แต่ย้ำว่า สิ่งเหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับบริบทของออฟฟิศ และแต่ละความสัมพันธ์ด้วยเหมือนกันนะ เพราะบางกรณีอาจจะมีระดับของความซีเรียสมากๆๆๆ และจำเป็นต้องพูดมันออกไปจริงๆ
อ้างอิงจาก
https://www.businessinsider.com/phrase-we-need-to-talk-wrong-psychology-2015-11
#Brief #TheMATTER