เราได้ยินเรื่องราวหลายอย่างของอวกาศ ทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ทางช้างเผือกต่างๆ รวมไปถึงหลุมดำ สิ่งที่ถูกพูดถึงมาตลอด และมักถูกจินตนาการภาพว่าเป็นเหมือนวงกว้างสีดำๆ แต่ในวันนี้ เราจะได้เห็นภาพหลุมดำของจริงกันแล้ว
เครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ เตรียมเปิดภาพจริงของหลุมดำแล้ว 2 ภาพ ในวันนี้ ซึ่งเป็นการเผยแพร่ภาพครั้งแรกของหลุมดำที่เห็นจากเงาของมัน จากที่ก่อนหน้านี้ภาพของหลุมดำที่เราเห็นๆ กัน คือภาพจำลองเท่านั้น โดยการรวมรวมข้อมูลนี้มาจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ตั้งอยู่ทั่วโลก ในชื่อ Event Horizon Telescope (EHT) ที่เริ่มสำรวจหลุมดำสองแห่ง ในปี 2017
ตามธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สิ่งที่จะปรากฏในภาพจะไม่ใช่ตัวของหลุมดำ แต่สิ่งที่ภาพจะเปิดเผยเรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการหมุนวนของก๊าซ ฝุ่นละออง ดวงดาว แสง ที่วนรอบวงหลุมดำก่อนที่พวกมันจะถูกดูดเข้าไปข้างใน
โดยหลุมดำแห่งแรก ที่มีการเก็บภาพคือ หลุมดำที่ใจกลางกาแลคซี ที่ใช้ชื่อ ‘Sagittarius A*’ มันมีมวลเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 4.1 ล้านดวง การถ่ายภาพของมัน คือความพยายามถ่ายภาพจากระยะ 26,000 ปีแสง ที่โลกตั้งอยู่ใจกลางทางช้างเผือก และเป็นเหมือนความพยายามมองเห็นสีส้มบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า
ในขณะที่หลุมดำอีกแห่งคือ หลุมดำที่ใจกลาง M87 ที่มีมวลเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ประมาณ 7 พันล้านดวง หรือใหญ่กว่าหลุมดำของเราถึง 1,700 เท่า และยังมีระยะทางมากกว่าถึง 2,700 เท่า ซึ่งยิ่งยากที่จะได้ภาพมาด้วย
ซึ่งแม้การเก็บภาพจะเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งที่ทำให้งานนี้สำเร็จนั้น มาจากจำนวนกล้องโทรทรรศน์ที่กระจายอยู่ตามภูมิศาสตร์ต่างๆ ระยะทางระหว่างเครื่องตรวจจับ ที่ทอดยาวตั้งแต่ทางเหนือ ถึงใต้ ในระยะ 9,000 ไมล์ จากสเปน ถึงแอนตาร์กติกา ทำให้มีการเก็บข้อมูลที่มหาศาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
งานเปิดภาพหลุมดำนี้ จะจัดขึ้น 2 ทุ่มวันนี้ ตามเวลาไทย พร้อมๆ ใน 6 เมืองทั่วโลก ได้แก่ วอชิงตัน ดี.ซี. ในสหรัฐฯ บรัสเซลส์ในเบลเยี่ยม ซานติอาโกในชิลี เซี่ยงไฮ้ในจีน ไทเปในไต้หวัน และโตเกียวของญี่ปุ่น ใครรอได้เห็นภาพประวัติศาสตร์นี้ ต้องไม่พลาดรอดูคืนนี้ ได้เห็นภาพจริงๆ แล้วแน่นอน
อ้างอิงจาก
https://www.theverge.com/2019/4/9/18301276/event-horizon-telescope-supermassive-black-holes-images
#Brief #TheMATTER