หลายปีหลัง โซเชียลมีเดียถูกมองว่าเป็นแหล่งแพร่กระจาย ‘ข่าวปลอม’ ชั้นดี หลายๆ แพล็ตฟอร์มจึงหาวิธีแก้ปัญหาที่ว่า เพื่อให้แพล็ตฟอร์มตัวเองยังคงความน่าเชื่อถือ หนึ่งในนั้นคือดึงบุคคล-องค์กรภายนอก มาทำหน้าที่ fact checker
ล่าสุด เฟซบุ๊กไทยได้ดึงสำนักข่าว AFP เข้ามาร่วมตรวจสอบและประเมินความถูกต้องของคอนเทนต์ที่อยู่บนหน้าฟีด ทั้งตัวอักษร รูปภาพ และวิดีโอ ซึ่งหากพบว่าเรื่องราวต่างๆ เป็นเท็จจะทำให้แสดงผลน้อยลง
นอกจากนี้ หาก AFP เขียนบทความอธิบายคอนเทนต์ใดก็จะปรากฎคู่กับคอนเทนต์นั้นๆ ไม่รวมถึงการแจ้งเตือนล่วงหน้าหากแอดมินเพจใดๆ พยายามแชร์คอนเทนต์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องเท็จ
โดยเฟซบุ๊กได้จับมือกับ AFP เพื่อทำหน้าที่นี้ใน 20 ประเทศแล้ว รวมถึงไทย
– ทั้งนี้ เฟซบุ๊กไทยยังได้แนะนำวิธีการสังเกตข่าวปลอมแบบง่ายๆ 10 ข้อ อาทิ ดูพาดหัวที่เน้นสร้างความหวือหวาเกินจริง, ดู URL ที่ผิดปกติ, ดูแหล่งที่มาว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ฯลฯ
ดูเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/help/188118808357379
#Brief #TheMATTER