จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเนื้อสเต็กที่เรากินไม่ได้มาจากฟาร์มสัตว์ แต่มาจากจานเพาะเชื้อแทน? เมื่อนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประสบความสำเร็จในการสร้างเนื้อวัวและเนื้อกระต่ายจากการเพาะเจลาตินได้เป็นครั้งแรก โดยการสร้างสารที่สามารถเลียนแบบผิวสัมผัสของเนื้อจริงๆ ตามธรรมชาติได้
งานวิจัยล่าสุด ตีพิมพ์ลงในวารสาร npj Science of Food ระบุว่า นักวิจัยใช้เวลาหลายปีในการศึกษา และปรับแต่งเนื้อสัตว์นี้ ด้วยการนำสเต็มเซลล์จากสัตว์ตัวเป็นๆ มาแช่แข็งไว้ จากนั้นก็จะนำเซลล์ไปละลายและเพิ่มสารอาหาร และเอาไปใส่ในสภาพแวดล้อมที่จำลองให้เหมือนกับภายในสัตว์ เมื่อเซลล์ทวีจำนวนขึ้น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อก็จะเริ่มก่อรูป จนกลายเป็นเนื้อสเต็กไปในที่สุด
.
เมื่อเปรียบเทียบกับแล้ว พบว่า โปรตีนของเนื้อกระต่ายที่เพาะขึ้นมานั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของกระต่ายตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าการกระจายตัวของเนื้อเยื่อ จะดูคล้ายคลึงกับเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างเนื้อบด มากกว่าเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ผ่านการปรุงแต่งก็ตาม
การทำเนื้อสเต็กชีวภาพนี้ ถือเป็นวิธีผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการทำฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งรายงานองค์การสหประชาชาติ ปี ค.ศ.2019 ระบุว่า กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ทำให้เกิดการเผาไหม้ของก๊าซมีเทนมากถึง 44% ในช่วงปี ค.ศ.2007-2016
“เป้าหมายของเรา คือสร้างคุณค่าทางโภชณาการ รสชาติ รสสัมผัส และราคาที่จับต้องได้ ส่วนเป้าหมายระยะยาว คือการลดการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์” คิท ปาร์คเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวเวช มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว
https://www.wired.com/story/gelatin-fibers-lab-grown-meat/
#Brief #TheMATTER