สุนทรพจน์ของคาซุโอะ อิชิกุโระ เนื่องในการเลี้ยงรับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม, กล่าวในวันที่ 10 ธันวาคม 2017
“ฝ่าพระบาทและพระบรมวงศ์ สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
ผมยังคงจำใบหน้าชายชาวต่างชาติบนปกหนังสือได้ชัดเจน ใบหน้านั้นถูกพิมพ์ขึ้นด้วยสีสันสดใส กินพื้นที่เกือบทั้งหน้ากระดาษ เบื้องหลังของใบหน้าลางๆ นั้น คือภาพของกลุ่มควันและฝุ่นจากการระเบิด อีกด้านของหน้าหนังสือเป็นภาพนกสีขาวเหินขึ้นสู่ฟากฟ้าจากการระเบิดนั้น ในตอนนั้นผมอายุห้าปี นอนเอกเขนกอยู่บนเสื่อทาทามิ บางทีห้วงเวลานั้นอาจจะพิเศษขึ้นด้วยเสียงคุณแม่ของผม ดังขึ้นจากที่สักแห่งด้านหลังผม น้ำเสียงของแม่เต็มไปด้วยความรู้สึกพิเศษในขณะกำลังเล่าเรื่องราวของชายผู้ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์ที่ภายหลังกังวลถึงผลลัพท์จากการใช้งานระเบิดนั้น ชายผู้นั้นจึงได้สร้าง ‘โนเบล-โช’ – ครั้งแรกที่ผมได้ยินคือชื่อในภาษาญี่ปุ่น ‘โนเบล-โช มีไว้เพื่อส่งเสริม เฮย์วะ ที่หมายถึงสันติภาพและความกลมเกลียว’ ท่านบอกผมไว้เช่นนั้น ผ่านมาแล้วเพียง 14 ปีนับตั้งแต่ที่เมืองนางาซากิของเราถูกทำลายลงด้วยระเบิดปรมาณู ด้วยวัยในขณะนั้น ผมรับรู้เพียงว่า ‘เฮย์วะ’ เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เมื่อขาดไปแล้ว สิ่งร้ายทั้งหลายอาจรุกรานเข้าสู่โลกของผมได้
“เช่นเดียวกับความคิดอันยอดเยี่ยมอื่นๆ รางวัลโนเบลเป็นสิ่งที่แสนเรียบง่าย เป็นความคิดที่แม้แต่เด็กก็เข้าใจได้ และด้วยความเรียบง่ายนี้เอง คงเป็นเหตุผลที่ทำให้ความคิดดังกล่าวยังคงทรงพลังและสามารถรักษาจินตนาการร่วมของโลกใบนี้ไว้ได้ ความรู้สึกภูมิใจเมื่อชาติของเราชนะรางวัลโนเบลค่อนข้างต่างไปจากความรู้สึกเมื่อรู้ว่านักกีฬาของเราได้ชัยชนะจากกีฬาโอลิมปิก เราไม่ได้รู้สึกถึงความภาคภูมิใจของเผ่าพันธุ์ของเราว่าได้แสดงถึงความเหนือกว่าชนชาติเผ่าพันธุ์อื่นๆ ทว่า ความรู้สึกภูมิใจนั้นมาจากการได้รู้ว่าหนึ่งในพวกเราได้ทำประโยชน์ให้กับความพยายามของเราในฐานะมนุษยชาติ ความรู้สึกตื่นเต้นนี้เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่กว่า ความรู้สึกของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
“ทุกวันนี้เราอยู่ในห้วงเวลาที่ความรู้กำลังก่อตัวเป็นศัตรูระหว่างเผ่าพันธุ์ จากความแตกแยกของกลุ่มชนไปสู่การแบ่งฝ่ายเป็นศัตรูซึ่งกันและกันที่น่าขมขื่น ในพื้นที่ของผม รางวัลโนเบลคือแนวคิดโดยเฉพาะในห้วงเวลาแบบนี้ ช่วยให้เราคิดพ้นไปจากกำแพงที่แบ่งแยกพวกเราอยู่ แนวคิดที่เตือนเราว่าเราควรต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการอยู่ร่วมกันในฐานะมนุษย์ เป็นความคิดที่แม่ๆ จะสอนลูกๆ ของพวกเธอ ความคิดที่ถูกบอกต่อกันมาโดยตลอด และยังคงถ่ายทอดกันในทุกมุมโลก เป็นความคิดที่มอบแรงบันดาลใจและให้ความหวังแก่พวกเขาต่อไป ถามว่าผมเองรู้สึกยินดีที่ได้รับเกียรตินี้หรือไม่? ครับ ผมยินดีที่จะรับ ‘โนเบล-โช’ รางวัลที่ผมตั้งใจเรียกชื่อนี้ในนาทีหลังจากที่ผมได้รับข่าวดี ก่อนที่จะโทรศัพท์หาแม่ ผู้ที่ในขณะนี้อายุ 91 ปีแล้ว
ผมเองในตอนนี้อาจจะเข้าใจความหมายของตัวรางวัลขึ้นไม่มากก็น้อยนับจากห้วงเวลานั้นที่นางาซากิ และผมเชื่อว่าผมเข้าใจมันมากขึ้นแล้ว ผมยืนอยู่ตรงนี้พร้อมกับความรู้สึกยำเกรงที่ได้รับอนุญาต ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวนี้ ขอบคุณครับ”
อ้างอิงข้มูลจาก