ใครว่าต้องขยันเท่านั้นถึงจะอยู่รอดได้? เพราะล่าสุด มีงานวิจัยเกี่ยวกับกับสัตว์ในไฟลั่ม Mollusca หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวนิ่มเป็นเมือกลื่น มักมีเปลือกหุ้ม และอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ลิ่นทะเล ทากทะเล และสารพัดหอย (ยังจำที่เรียนกันในวิชาชีววิทยาได้เนอะ) ที่บอกว่า สัตว์ในไฟลั่มนี้ ยิ่งเคลื่อนไหวน้อยๆ โอกาสสูญพันธุ์ก็จะยิ่งน้อยลงตามไปด้วย
งานวิจัยซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ของราชสมาคมแห่งลอนดอน (royal society) นี้ ไม่ได้บอกว่า ถ้าอยากอยู่รอด วันๆ ให้นอนเฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย แต่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่ยิ่งทำน้อยกระบวนการ metabolism ในร่างกายก็จะยิ่งน้อย และทำให้ต้องหาอาหารกินน้อยลงไปด้วย
นักวิจัยลองตรวจสอบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง-ตัวนิ่ม-เปลือกแข็งเหล่านี้ 299 สายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอนแลนติกตะวันตก ตั้งแต่ห้าล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน และพบว่า อัตราการ metabolism ในร่างกายสัมพันธ์กับสาเหตุของการสูญพันธุ์
งานวิจัยนี้น่าจะใช้ทำนายโอกาสการสูญพันธุ์ของสัตว์สายพันธุ์ใดๆ ในไฟลั่ม Mollusca ในวันที่โลกกำลังเผชิญปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป จนกระทบต่อการผลิตอาหาร ซึ่งก้าวต่อไปก็คือการดูว่าสมมุติฐานเดียวกันนี้ สามารถนำไปใช้กับสัตว์ไฟลั่มอื่นๆ โดยเฉพาะพวกที่อาศัยอยู่บนบกได้หรือไม่
อ้างอิงจาก
http://www.zoo.sci.ku.ac.th/html_T/courseware/423113_Nantaporn/Mollusca.html
#Brief #TheMATTER