เทคโนโลยีทางอวกาศเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ หลายประเทศมีการส่งยาน ส่งดาวเทียมออกไปสำรวจดาวต่างๆ ในอวกาศมากมาย รวมถึงญี่ปุ่นที่ส่งยาน Hayabusa 2 ให้ออกเดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งตอนนี้มันก็ได้เดินทางถึงจุดหมายแล้ว
ยานอวกาศ Hayabusa 2 ขององค์กรสำรวจอวกาศญีปุ่น (JAXA) ได้ส่งสัญญาณถึงหุ่นยนต์สำรวจ 2 ตัว ที่ทำการลงจอดที่ดาวเคราะห์น้อย Ryugu ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 300 ล้านกิโลเมตร พร้อมส่งสัญญาณภาพกลับมายังญี่ปุ่นแล้ว โดยถือเป็นครั้งแรกที่หุ่นยนต์สำรวจลงจอดบนและเคลื่อนที่ระหว่างอยู่บนดาวเคราะห์ ซึ่งนอกจากการเก็บสัญญาณภาพแล้ว หุ่นยนต์สำรวจะทำการสำรวจพื้นผิว และเก็บตัวอย่างหินกลับมายังโลกด้วย
หุ่นยนต์สำรวจ Minerva-II1 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เซนติเมตร สูง 7 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม พวกมันได้แยกตัวออกจากยานอวกาศ Hayabusa 2 ที่ลอยอยู่เหนือดาวประมาณ 55 เมตร ก่อนลงจอดบนดาว โดยมันเคลื่อนที่ไปมาด้วยการกระโดดไปยังจุดต่างๆ ซึ่งจะลอยได้สูงถึง 15 เมตร ในระยะเวลานานถึง 15 นาที เพื่อเก็บข้อมูล
แถลงการณ์จาก JAXA กล่าวว่า โรเวอร์สำรวจทำงานตามปกติ และจะเริ่มสำรวจพื้นผิวของ Ryugu ซึ่งด้าน Yuichi Tsuda ผู้จัดการโปรเจ็กต์นี้ ยังได้เสริมว่า เขาภูมิใจที่ได้มีการค้นพบวิธีการสำรวจอวกาศแบบใหม่ สำหรับวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก
ก่อนหน้านี้ ยาน Hayanusa เคยออกสำรวจ และได้เก็บตัวอย่างจากพื้นผิวดาวเคราะห์กลับมาแล้วเช่นกัน แต่เก็บได้ในจำนวนน้อย ยาน Hayabusa 2 จึงถูกแก้ไขให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งมันได้ออกเดินทางจากโลกไปยัง Ryugu ตั้งแต่เดือนธันวาคม ของปี 2014 และหลังการลงจอดสำรวจแล้ว จะบินกลับมาถึงยังโลกพร้อมตัวอย่างพื้นผิวในปี 2020 ซึ่งตัวอย่างที่มันจะนำกลับมาให้นักวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นอย่างไร เราคงต้องติดตามกันในอีก 4 ปีจากนี้
อ้างอิงจาก
http://www.asahi.com/ajw/articles/AJ201809230029.html
#Brief #TheMATTER