หลังจากนี้ไป คุณอาจไปเถียงใครต่อใครได้เล็กๆ ว่า ตัวเลขหลายกิโลกรัมบนตาชั่ง มาจากวิธีวัดแบบเก่า ไม่ได้สะท้อนน้ำหนักจริงๆ ของชั้นซักหน่อย เพราะเขากำลังจะเปลี่ยนวิธีวัดกันแล้ว! (เพียงแต่วิธีวัดแบบใหม่ จะแม่นขึ้น ตรงขึ้นนะ ทำใจรอไว้ได้เลย)
ในวันศุกร์ที่ 16 พ.ย.นี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเตรียมลงมติในการประชุมนานาชาติว่าด้วยมาตรวิทยาสากล ขอให้เปลี่ยนการวัดน้ำหนักที่ใช้หน่วย ‘กิโลกรัม’ จากวิธีเดิมที่ใช้มาเกิน 100 ปี มาเป็นวิธีใหม่ที่เที่ยงตรงมากขึ้น
หน่วยกิโลกรัมแบบเดิม อ้างอิงจากก้อนโลหะทรงกลม ชื่อว่า ‘Le Grand K’ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในกรุงปารีส ตั้งแต่ปี 1889 โดยก้อนโลหะนี้ถูกจำลองและส่งไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ใช้หน่วยวัดน้ำหนักแบบเมตริก (กรัม, กิโลกรัม, ตัน) เพื่อให้ได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป การอ้างอิงแบบนี้ก็ถูกโต้แย้งและท้าทาย เพราะเป็นไปได้ที่ก้อนโลหะต้นแบบจะสูญเสียอะตอมและมวลไป จนทำให้น้ำหนักน้อยลง?
จึงมีข้อเสนอเรื่องวิธีวัดหน่วยน้ำหนักกิโลกรัมแบบใหม่ ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Kibble Balance ที่ใช้วัดน้ำหนักวัตถุด้วยกระแสไฟฟ้า อาศัยหลักการจากค่าคงที่ของพลังค์ (Plank’s Constant) ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของอนุภาคและคลื่นในระดับอะตอม ทำให้ได้น้ำหนักที่ถูกต้องและแม่นยำสุดๆ
..
หากที่ประชุมวันดังกล่าวลงมติเห็นชอบกับวิธีวัดน้ำหนักกิโลกรัมใหม่จริง วิธีการนี้ก็จะเริ่มใช้วันที่ 20 พ.ค. ซึ่งตรงกับวันมาตรวิทยาโลก ของปี 2019 เป็นต้นไป
1 กิโลฯเดิม อาจไม่เท่ากับ 1 กิโลฯใหม่ แต่หน่วย ‘กิโลกรัม’ ยังอยู่ เพื่อใช้วัดน้ำหนักของวัตถุ สิ่งมีชีวิต และมนุษย์ต่อไป อีกนานแสนนาน
อ้างอิงจาก
https://edition.cnn.com/2018/11/13/world/kilo-measurement-scli-intl/index.html
#Brief #TheMATTER