‘ภูเขาเปียกจนละลาย ใบไม้โงหัวไม่ขึ้น’
อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์เสียชีวิตอย่างสงบด้วยอายุ 92 ปี ‘เหมืองแร่’ ต่อมากลายเป็นภาพยนตร์ ‘มหา’ลัยเหมืองแร่’ ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานสำคัญที่สร้างแรงบันดาลใจในการใช้และค้นหาความหมายชีวิตให้กับคนรุ่นหลัง
อาจินต์ ปัญจพรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2470 ในขณะที่อาจินต์ศึกษาอยู่ชั้นปีที่2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยจึงงดการเรียนการสอนและนิสิตเดินทางหนีภัยสงคราม เมื่อสงครามสงบ อาจินต์กลับมาเรียนต่ออีกครั้งแต่การหนีภัยสงครามทำให้เรียนต่อได้ไม่ดีและถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย
หลังจากนั้นอาจินต์ถูกบิดาส่งไปทำงานในเหมืองที่จังหวัดพังงา และได้ใช้ประสบการณ์ชีวิตที่ปักษ์ใต้เขียนเป็นรวมเรื่องสั้นชุด ‘เหมืองแร่’
เหมืองแร่ จึงเป็นเหมือนงานเขียนที่ชวนให้วัยรุ่นกลับมามองหาความหมายของการใช้ชีวิต จากเด็กมหาวิทยาลัยสู่คนงานเหมือนในดินแดนแสนไกล ดินแดนที่เต็มไปด้วยดินโคลน สายฝนที่ไม่สิ้นสุดและการใช้แรงกายในการทำงานอย่างสาหัส งานเขียนของอาจินต์เต็มไปด้วยอารมณ์ขันและวรรณศิลป์ที่ดึงให้เราเข้าไปสู่ห้วงเวลาของวัยหนุ่ม และพาเราย้อนกลับไปสู่เหมืองดีบุก เรือขุด และเหล่าคนใต้นายฝรั่ง
ในปี 2548 จีทีเอช นำเอาเหมืองแร่ มาสร้างเป็นฉบับภาพยนตร์ ‘มหาลัยเหมืองแร่’ กำกับและเขียนบทโดย จิระ มะลิกุล ใช้ทุนสร้างถึง 70 ล้านบาท และถือเป็นอีกหนึ่งหนังไทยที่ถ่ายทอดและคัดเลือกเรื่องราวต้นฉบับได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าจะทำรายได้ไม่ค่อยสวยเท่าที่ควร
อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ในปี 2534
แด่เหมืองแร่ เรื่องเล่าที่ทำให้เรามองเห็นความหมายของ ‘มหาวิทยาลัยชีวิต’
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.posttoday.com/social/general/571136
#Brief #TheMATTER