จริงๆ แล้วมนุษย์เรามักคิดแทนกันอยู่ตลอด ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนการตัดสินใจครั้งใหญ่ อย่างการเดาใจว่าคนที่เดินสวนกับเรานั้นจะหลบไปทางไหน เห็นคนเลือกเสื้ออยู่ข้างๆ ก็แอบเชียร์ในใจว่าสีไหนเหมาะกับเขามากกว่า อะไรเหล่านั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนับครั้งไม่ถ้วน แต่เราไม่เคยรู้สึกลำบากใจกับมันเลยสักครั้งใช่ไหมล่ะ?
แต่พอเป็นเรื่องน่าอาย ที่เราอยากจะเบือนหน้าหนี ทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ เวลาเห็นใครทำอะไรแปลกๆ มนุษย์ป้าเถียงข้างๆ คูๆ หนุ่มโดนจับโป๊ะกลางรายการถ่ายทอดสด แถจนสีข้างถลอก เรามักจะเกิดความเคอะเขิน อับอาย ราวกับว่าเรากำลังเป็นคนทำสิ่งนั้นเสียเอง หรือเราเป็นคนรู้จัก อย่างเวลาเผลอเปิดไปเจอวิดีโอที่ผู้คนทำอะไรแปลกๆ น่าอาย ทีไร เป็นอันต้องรู้สึกอายแทนทุกที จนบางครั้งไม่อาจทนดูจนจบด้วยซ้ำ ทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร แต่ทำไมนะ เราถึงเก็บเอาความอับอายนั้นมาไว้กับตัวเอง ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องรู้สึกแบบนั้นเลย
มาหาคำตอบให้เรื่องนี้กับ แพทย์หญิง มาริเอล คอลลินส์ (Marielle Collins) ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์พฤติกรรมสุขภาพของผู้ใหญ่
เรื่องของเราก็ไม่ใช่ ทำไมสมองสั่งให้เราอายแทนคนอื่น?
อย่างที่เรารู้กันดีว่า เวลาเราเห็นใครทำอะไรผิด แปลก น่าอาย เรามักจะรู้สึกทนไม่ไหวกับความอับอายที่คนนั้นได้รับ ราวกับต้องเป็นคนอายเสียเอง พฤติกรรมนี้มีชื่อเรียกว่า Second-Hand Embarrassment ที่ความหมายตรงตัวเลยว่า ความน่าอายมือสอง เพราะมันถูกส่งต่อมาจากคนอื่นอีกทีนั่นเอง
สอดคล้องกับที่ ดร.มาริแอลได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ “แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้คนนั้นอับอาย แต่คุณยังคงรู้สึกถึงอารมณ์ที่พวกเขาน่าจะรู้สึก”
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะสมองอันซับซ้อนแยบยลของเรามักจะทำหน้าที่ตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองอยู่เสมอ ว่ากำลังถูกสังคมรอบข้างมองด้วยมุมมองแบบไหน ส่วนต่างๆ ของสมองมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมอารมณ์ ตอบสนองต่อความเจ็บปวด และรักษาตัวเอง ซึ่งเจ้าสมองส่วนนี้นี่แหละ ที่ถูกกระตุ้นเมื่อเราเป็นผู้ประสบภัยความความอับอาย ทั้งของตัวเราเองก็ใช่ แล้วก็จะถูกกระตุ้นเช่นกันเมื่อเราเห็นผู้อื่นประสบสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง
สมองของเราจำลองความอับอายที่เราได้รับรู้ขึ้นมา จนเรารู้สึกเช่นเดียวกับอีกคนนั่นเอง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด ส่วนหน้าของเปลือกสมองส่วน cingulate cortex (ACC) และ insula ส่วนหน้าซ้าย กระตุ้นปฏิกิริยาในสมองมีความรุนแรงมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจมาก ก็จะยิ่งรู้สึกมากกว่า เช่นเดียวกันกับเวลาที่เราร้องไห้เสียใจไปความสูญเสียของผู้อื่น หรือดีใจไปกับเรื่องน่ายินดี กับความอับอายก็ทำงานแบบเดียวกันนั่นแหละ
อายคนเดียวได้ไหม? ทำยังไงถ้าไม่อยากอายแทน
เห็นแล้วอยากจะหันหน้าหนีให้ไกล เพื่อนก็ไม่ใช่ ทำไมต้องอายแทนกันด้วยนะ ถ้าเราไม่อยากเป็นคนที่อายแทนคนอื่นอยู่บ่อยๆ แต่ช่วยไม่ได้ในเมื่อมันเป็นเรื่องของสมอง เราจะรับมือกับสิ่งนี้ยังไง ถ้ามันเริ่มมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของเรา
- คิดซะว่านี่คือสิ่งยืนยันว่าเราเป็นคนมี Empathy ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้นะ ต้องเป็นคนที่มี Empathy เท่านั้นที่จะรับรู้และเข้าใจในมุมมองของคนอื่นได้จริงๆ หากเรารู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนแทนใคร นั่นหมายความว่าเรามีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าอกเข้าใจในตัวผู้อื่น ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องดีไม่ดีเสียหน่อย
- หายใจเข้าลึกๆ บอกกับตัวเองว่าไม่ใช่เรื่องของเรา แม้จะเข้าใจว่าเขาคนนั้นต้องอับอายแทบมุดดินหนีแค่ไหน แต่อย่าลืมบอกตัวเราเองด้วยว่า เราไม่จำเป็นต้องอายให้เท่าคนนั้น 100% เห็นใจได้ เข้าใจได้ แต่ไม่ต้องเอาความรู้สึกทั้งหมดมาเป็นของเราก็ได้
- เบี่ยงเบนความสนใจ หากเรายังมุ่งความสนใจไว้ที่เรื่องน่าอายนั้นแบบไม่ลดละ เราก็ยังมูฟออนไม่ได้สักที ลองเบี่ยงเบนความสนใจให้ตัวเอง หาอย่างอื่นดู หาอย่างอื่นทำ พอมันไม่ใช่เรื่องของเราเอง รับรองว่ามันลืมง่ายกว่ากันเยอะ และไม่ต้องจมอยู่กับความลำบากใจนั้นอีกด้วย
แม้อะไรเหล่านี้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิต แต่ถ้าเรารู้เท่าทันความคิด ความรู้สึกตัวเอง จะยิ่งช่วยให้เราเข้าใจตัวเองได้ดีมากขึ้น และรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ แม้ไม่ใช่เรื่องของเราเองก็ตาม
อ้างอิงจาก