กราดยิงโคราช กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เสียชีวิต 31 ราย
กราดยิงอุบล สิงหาคม 2565 มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
ทหารกราดยิงเพื่อนร่วมงาน กันยายน 2565 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
และเหตุกราดยิงในศูนย์เด็กเล็ก หนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38 ราย
จากเหตุกราดยิงที่แทบจะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย กลายเป็นสิ่งที่เกิดถี่ขึ้น บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มว่าต้นตอปัญหาอาจจะถูกปล่อยเบลอไว้เหมือนเดิม
แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงกราดยิง ‘ปืน’ จะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างพูดถึง ทั้งในแง่ของการตั้งคำถามว่า คนเราเข้าถึงอาวุธกันได้ง่ายขนาดไหน ใครถือครองอาวุธเหล่านี้ได้บ้าง และหากอยากถือครองปืนต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?
The MATTER ชวนมาเปิดดูพระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งบัญญัติเรื่องของการถือครองอาวุธปืน การขอใบอนุญาต และวัตถุประสงค์ของการครอบครองปืนเอาไว้ เพื่อให้เห็นว่า กฎหมายเกี่ยวกับปืนในประเทศของเรานี้เป็นอย่างไรบ้าง?
ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ในมาตรา 8 ทวิ ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็น และเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
นอกจากนี้ ยังห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเรง การมหรสพ หรือการอื่นใด แต่มีข้อยกเว้นให้บุคคลดังนี้
– ทหารและตำรวจ
– ข้าราชการของรัฐที่ยกเว้น
– ประชาชนที่อยู่ระหว่างช่วยราชการ
– ผู้ที่มีใบอนุญาต
หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว แบ่งได้ตามนี้
- ประชาชน
- สัญชาติไทย
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- มีหลักทรัพย์อย่างน้อย 1,000,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 จนถึงวันยื่นคำร้อง
- กรณีเจ้าของกิจการต้องมีทุนจดทะเบียนบริษัทอย่างน้อย 1 ล้านบาทขึ้นไป
- พระบรมวงศานุวงศ์
- องคมนตรี
- สมาชิกผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
- กรรมการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการ
- ข้าราชการการเมือง (นายกฯ, รมต, ผู้ช่วยและเลขากระทรวง)
- ข้าราชการฝ่ายตุลากาล
- ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนหรือพลตำรวจ ด้านปราบปรามสืบสวนหรือการข่าว และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร
- ทหารยศพันโทขึ้นไป
- ข้าราชการ C7 ขึ้นไป
- ข้าราชการบำนาญ เมื่อเกษียรอยู่ระดับ C3 ขึ้นไป
- กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน
ขณะเดียวกัน การขอใบอนุญาตแต่ละใบนั้น ยังมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป เช่น
ใบอนุญาตให้ทำอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน
- ครั้งแรก ฉบับละ 50,000 บาท
- ต่ออายุปีต่อไป ฉบับละ 5,000 บาท
ใบอนุญาตให้ค้าอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน
- ครั้งแรก ฉบับละ 15,000 บาท
- ต่ออายุปีต่อไป ฉบับละ 1,500 บาท
นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ทำให้ครอบครองปืนได้เอาไว้ ดังนี้
- เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน
- เพื่อการกีฬา
- เพื่อการล่าสัตว์ ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงการยิงสัตว์ขนาดเล็กที่เป็นศัตรูของเกษตรกร
- เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก
- เพื่อพกพาชั่วคราว (นักการทูตและผู้ติดตาม)
โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสาร แล้วนายทะเบียนท้องที่จะรวบรวมและพิจารณาพยานหลักฐาน ซึ่งหากเป็นการขอใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน จะใช้เวลาราว 15 วัน ส่วนใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน จะใช้เวลา 86 วัน
อย่างไรก็ดี ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ กฎหมายฉบับนี้ร่างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2490 และไม่เคยมีการปรับแก้อย่างจริงๆ จังๆ เลย ขณะเดียวกันก็มีการพูดถึงการบังคับใช้กฎหมายที่ยังเป็นคำถามว่ามีความเข้มงวดและได้ผลมากน้อยแค่ไหน
อ้างอิงจาก