“เอาแต่ด่า ประท้วงกันไปมา สาระไม่เห็นมี น่าเบื่อ!”
“ขอเนื้อๆ เน้นๆ ไม่เอาน้ำนะ เสียเวลาฟัง”
ฯลฯ
การ ‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’ เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญที่ ส.ส. หรือ ‘ผู้แทนราษฎร’ จะได้ตรววจสอบการทำงานของรัฐบาล แต่ประชาชนจำนวนไม่น้อยกลับมองว่า เสียเวลาเปล่า เพราะเมื่อถึงเวลาลงมติ ส.ส.รัฐบาล ก็มีเสียงมากกว่า ส.ส.ฝ่ายค้าน ได้อยู่ดี
แต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะ “เสียเวลาเปล่า” แบบมีหลายคนเชื่อกัน จริงๆ หรือ?
The MATTER ขอให้ สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า เลือกการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในยุคร่วมสมัย (30 ปีหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 – ปัจจุบัน) ที่สร้าง impact ในทางการเมือง และนี่ก็คือตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งเราเลือกมา 5 การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
1. การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 17-18 พฤษภาคม พ.ศ.2538 ยุครัฐบาลชวน หลีกภัย
- บริบทเหตุการณ์การเมืองและสังคมในช่วงที่มีอภิปราย
- หลังจากผ่านเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.2535 สังคมเห็นพ้องว่าต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2534 ก่อให้เกิดสภาที่มีทหารมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งตำแหน่งนายกคนนอก หรือตำแหน่ง ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- บริบททางการเมืองอยู่ในช่วงที่ค้างคาจากกระแสของการเสนอให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มองว่า ยังจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมาการศึกษาก่อนในนาม ‘คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย’ (คพป.) ส่งผลให้มีการใช้เวลาศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญนานนับแต่ปี พ.ศ.2535 ที่พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล
- แกนนำอภิปราย
- บรรหาร ศิลปอาชา (พรรคชาติไทย) และคณะ
- รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และประเด็นหลักที่โจมตี
- สุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรคประชาธิปัตย์
- ประเด็นการออกโฉนด ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่บุคคลซึ่งไม่ได้เป็นเกษตรกรยากจน ซึ่งเป็นการมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างพรรครัฐบาลกับเศรษฐีนายทุน[1]
- ผลการลงคะแนน
- นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ประกาศให้ยุบสภาก่อนจะมีการลงมติไม่ไว้วางใจ จึงไม่มีการลงคะแนน
- ผลกระทบทางการเมืองหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- เกิดการเลือกตั้งใหม่เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 และด้วยผลลัพธ์จากเนื้อหาส่วนหนึ่งของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในตัวพรรคประชาธิปัตย์ลดลง
- พรรคพลังธรรมและพรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีพลังสำคัญสนับสนุนให้พรรคใดพรรคหนึ่งตั้งรัฐบาลได้ ดังสังเกตได้จากการงดออกเสียงไว้วางใจ กรณีการช่วยพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล หรือการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทยในเวลาต่อมา เป็นต้น
- สุเทพ เทือกสุบรรณ และพรรคประชาธิปัตย์
2. การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ.2539 ยุครัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา
- บริบทเหตุการณ์การเมืองและสังคมในช่วงที่มีอภิปราย
- บริบทการเมืองเป็นช่วงที่นายกรัฐมนตรีบรรหาร พยายามตอบรับกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พรรคเคยใช้เป็นนโยบายหาเสียง แต่อย่างไรก็ตาม การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจลดทอนอำนาจของนักการเมืองแบบเจ้าพ่อ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงพรรคชาติไทยเอง จึงเกิดกระแสต่อต้านนายกรัฐมนตรีบรรหารจากรอบด้านทั้งฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล รวมถึงตัวลูกพรรคเอง
- แกนนำอภิปราย
- ชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และคณะ
- รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และประเด็นหลักที่โจมตี
- บรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี) และ 9 คณะรัฐมนตรี
- มีความข้องเกี่ยวกับนายราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จากกรณีซื้อที่ดินจำนวนมากที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์[2]
- ผลการลงคะแนน
- บรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี)
- ไว้วางใจ 207
- ไม่ไว้วางใจ 180
- รัฐมนตรีท่านอื่นลาออกจากตำแหน่งก่อนมีการลงมติ
- บรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี)
- ผลกระทบทางการเมืองหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา ถูกพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ พรรคความหวังใหม่, พรรคนำไทย, พรรคมวลชน เป็นต้น ต่อรองให้ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่ 7 วันหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีบรรหารได้ประกาศยุบสภาแทน
- บรรหาร ศิลปอาชา (นายกรัฐมนตรี) และ 9 คณะรัฐมนตรี
3. การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 37 เมื่อ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน พ.ศ.2553 รัฐบาลยุคอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- บริบทเหตุการณ์การเมืองและสังคมในช่วงที่มีอภิปราย
- บริบทหลังจากการยุบพรรคพลังประชาชน นำมาสู่การตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่สมาชิกพรรคพลังประชาชนเก่าเลือกย้ายมาอยู่พรรคเพื่อไทยแทน
- การตั้งรัฐบาลชุดนี้ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจต่อกลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้สนับสนุนพรรคพลังประชาชนจนสามารถชนะการเลือกตั้งมาได้ แต่กลับถูกยุบพรรค และตั้งรัฐบาลใหม่โดยพรรคขั้วตรงข้าม (ซึ่งกลุ่มคนเสื้อแดงมองว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทางการเมืองเหล่านี้)
- บริบทการเมืองเป็นช่วงหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยปฏิบัติการใช้กำลังอาวุธกระสุนจริงของกองทัพอันเป็นคำสั่งจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ผ่านการออกคำสั่ง ศอฉ. ฉบับวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2553[3][4]
- แกนนำอภิปราย
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง (พรรคเพื่อไทย) และคณะ
- รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และประเด็นที่ถูกอภิปราย[5]
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี)
- ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน
- บริหารงานของรัฐบาลเป็น 2 มาตรฐาน มาโดยตลอด โดยมองฝ่ายตรงข้ามเป็นกลุ่มที่ต้องการกำจัด
- สุเทพ เทือกสุบรรณ (รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง)
- ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน
- จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย (พ.ศ.2540 -2544)
- กรณ์ จาติกวณิช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
- ดำเนินนโยบายการเงินการคลัง และการงบประมาณของประเทศผิดพลาด บกพร่องไม่ดำเนินการตามแผนงานการบริหารราชการแผ่นดิน
- กษิต ภิรมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
- มีพฤติกรรมข่มขู่ก้าวร้าวต่อมมิตรประเทศ สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ทุจริตโดยสนับสนุนบริษัทในเครือญาติให้ทำงานกับภาครัฐ
- การสอบข้าราชการมีการทุจริต และการโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้อง
- โสภณ ซารัมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
- มีการทุจริต ทั้งในส่วนของส่วนของรถตู้ และโครงการถนนไร้ฝุ่น จากงบประมาณ ไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง
- ผลการลงคะแนน
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี)
- ไว้วางใจ 246
- ไม่ไว้วางใจ 186
- สุเทพ เทือกสุบรรณ (รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง)
- ไว้วางใจ 245
- ไม่ไว้วางใจ 187
- กรณ์ จาติกวณิช (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
- ไว้วางใจ 244
- ไม่ไว้วางใจ 187
- กษิต ภิรมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
- ไว้วางใจ 239
- ไม่ไว้วางใจ 190
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ไว้วางใจ 236
- ไม่ไว้วางใจ 194
- โสภณ ซารัมย์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)
- ไว้วางใจ 234
- ไม่ไว้วางใจ 196
- ผลกระทบทางการเมืองหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- ส่งผลกระทบทางการเมืองต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเมื่อมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ.2554 พลังทางการเมืองของกลุ่มเสื้อแดงได้เปลี่ยนมาใช้แสดงออกผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลในเวลาต่อมา
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี)
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี)
4. การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 41 เมื่อ 26-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 รัฐบาลยุคยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- บริบทเหตุการณ์การเมืองและสังคมในช่วงที่มีอภิปราย
- เกิดการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่ม กปปส. เรียกร้องให้มีการยุบสภา ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการรัฐประหารโดยกองทัพในเวลาต่อมา
- ความขัดแย้งของสังคมอยู่ในสภาวะสองเสี่ยงระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดง กับกลุ่ม กปปส.
- แกนนำอภิปราย
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) และคณะ
- รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และประเด็นหลักที่ถูกโจมตี[6]
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
- บริหารราชการแผ่นดินบกพร่องล้มเหลว มุ่งแก้ปัญหาของบุคคลในครอบครัวมากกว่าปัญหาประชาชน
- แอบอ้างประชาธิปไตย กระทำการอันไม่บังควร สมรู้ร่วมคิดกับพวกพ้อง ทำลาย ข่มขู่ ก้าวก่าย สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ (รัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย)
- มีพฤติกรรมการบริหารราชการแผ่นดินบกพร่อง เลือกปฏิบัติมุ่งสนองผลประโยชน์ส่วนตนพวกพ้อง
- มีพฤติกรรมการทุจริตจงใจกระทำผิดกฎหมาย หากปล่อยให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไปก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศและประชาชน
- ผลการลงคะแนน
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- ไว้วางใจ 297
- ไม่ไว้วางใจ 134
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
- ไว้วางใจ 296
- ไม่ไว้วางใจ 135
- ผลกระทบทางการเมืองหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- การอภิปรายไม่ไว้วางใจเน้นในเรื่องนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล ภายหลังจึงถูกนำมาเป็นข้อโจมตีหลักของกลุ่ม กปปส. ในการวิจารณ์พรรคเพื่อไทย และโจมตีตัวบุคคล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยตรง
- ต่อมา ยิ่งลักษณ์ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด กระทั่งหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.2557 เจ้าตัวก็ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนต้องหนีออกนอกประเทศก่อนวันที่ศาลฎีกานัดอ่านคำตัดสิน
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
5. การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 42 เมื่อวันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 รัฐบาลยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- บริบทเหตุการณ์การเมืองและสังคมในช่วงที่มีอภิปราย
- เป็นบริบทหลังจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อแดง-เสื้อเหลือง และเคลื่อนสู่ความขัดแย้งระหว่างช่วงวัย
- เป็นบริบทการเปลี่ยนผ่านสถานะทางอำนาจของกองทัพ จากคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่รัฐประหารยึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 สู่การเลือกตั้ง
- มีการตั้งพรรคพลังประชารัฐ และดึงผู้มีอำนาจเดิมของ คสช. เพื่อเปลี่ยนมาเป็นพรรคการเมืองที่มีการวางระบบเพื่อรองรับการสืบทอดอำนาจในระยะยาว
- เป็นการเลือกตั้งหลังมีการวางระบบสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 อาทิ
- การมี สว. แต่งตั้งจำนวน 250 คน ซึ่งมีสิทธิออกเสียงในสภาได้เทียบเท่ากับ สส. เลือกตั้ง
- การมีองค์กรอิสระที่แต่งตั้งโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- การกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
- การกำหนดเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญที่เป็นไปได้ยากมากในทางปฏิบัติ
- แกนนำอภิปราย
- พรรคเพื่อไทย นำโดย
- สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร)
- พรรคอนาคตใหม่
- พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
- พรรคเพื่อไทย นำโดย
- รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และประเด็นหลักที่โจมตี[7]
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
- ไม่ยึดมั่นและศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
- การบริหารราชการแผ่นดินโดยขาดความรู้ความสามารถ
- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี)
- มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่ แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและพวกพ้อง
- ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
- มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
- วิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี)
- บังคับใช้และตีความกฎหมายโดยไม่ยึดหลักการและบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
- แทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น
- พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- มีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่ ฉ้อฉล ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
- ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างกว้างขวาง
- ดอน ปรมัตถ์วินัย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
- แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปตามครรลองที่กำหนดไว้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทข้ามชาติ
- นำพาชาติเข้าสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศและไม่มีความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
- ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
- ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล ปกป้องพวกพ้องโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ
- ผลการลงคะแนน
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- ไว้วางใจ 272
- ไม่ไว้วางใจ 49
- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
- ไว้วางใจ 277
- ไม่ไว้วางใจ 50
- วิษณุ เครืองาม
- ไว้วางใจ 272
- ไม่ไว้วางใจ 54
- พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
- ไว้วางใจ 272
- ไม่ไว้วางใจ 54
- ดอน ปรมัตถ์วินัย
- ไว้วางใจ 272
- ไม่ไว้วางใจ 55
- ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
- ไว้วางใจ 269
- ไม่ไว้วางใจ 55
- ผลกระทบทางการเมืองหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- เกิดความตระหนักในการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น อันเนื่องจากการอภิปรายของวิโรจน์ ลักขณาดิศร ที่มีการเปิดเผย QR Code ให้ประชาชนที่กำลังรับชมการอภิปรายได้มีส่วนร่วมสแกนและเนื้อหาของการอภิปรายในเรื่องของการทำปฏิบัติการสารสนเทศ (IO) ที่ภาครัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการดังกล่าว
- บางส่วนของสังคมเสียความเชื่อมั่นต่อรัฐมนตรีบางรายจากกรณีอภิปรายตอบได้คลุมเครือ อาทิ ธรรมนัส พรมเผ่า จากกรณีวุฒิการศึกษาปลอม และคดีค้าเฮโรอีนในออสเตรเลีย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การ
- เกิดความไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วยกัน เหตุจากการอภิปรายเกินเวลาของพรรคเพื่อไทย ซึ่งส่งผลให้พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้โอกาสอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประวิตร ในช่วงท้าย
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
นี่คือตัวอย่างเพียงบางส่วน ถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่แม้ ส.ส.รัฐบาลจะมีเสียงมากกว่า ส.ส.ฝ่ายค้าน แต่ในบางครั้ง ก็สร้างผลสะเทือนทางการเมือง กระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงตามมาในท้ายที่สุด
อ้างอิงข้อมูลจาก
[1] “27 ก.ย.2539 มังกรสุพรรณ เซอร์ไพรส์ ‘ยุบสภา'”. 27 ก.ย. 2562. คมชัดลึก. https://www.komchadluek.net/news/today-in-history/390595.
[2] “ย้อนอดีต ชวน-บรรหาร ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วอยู่ไม่ได้ จบด้วยยุบสภา”. 23 ก.พ. 2563. WorkpointToday. https://workpointtoday.com/mp-14/.
[3] “ที่ผ่านมา…ตำรวจใช้เครื่องมือ ‘ควบคุมม็อบ’ อะไรบ้าง”. 15 ต.ค. 2563. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/902740.
[4] “Bangkok death toll rises amid bloody red-shirt clashes”. 15 May 2010. BBC News.http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/8684164.stm.
[5] “ฝ่ายค้านยื่นถอดนายกฯ”. 24 พ.ค. 2553. โพสต์ทูเดย์. https://www.posttoday.com/politic/news/30060.
[6] รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 3ครั้งที่ 27 (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ
[7] “ยื่นแล้ว! 6 พรรคฝ่ายค้าน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 6 รัฐมนตรี”. 31 ม.ค. 2563. กรุงเทพธุรกิจ. เข้าถึงได้ที่: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864451. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564).