‘การอภิปรายไม่ไว้วางใจ’ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สภาผู้แทนราษฎร-ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จะใช้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล-ในฐานะฝ่ายบริหาร
แม้โดยธรรมชาติ จำนวน ส.ส.ของฝ่ายค้านจะน้อยกว่า ส.ส.ของรัฐบาลอยู่แล้ว จนยากที่จะมีการยกมือ ‘ไม่ไว้วางใจ’ บุคคลใดให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี (ต้องใช้เสียงเกินครึ่งของ ส.ส.ขณะนั้น)
แต่ ‘ข้อมูล-หลักฐาน’ ที่ฝ่ายค้านหยิบมาถามคนในรัฐบาล ถึงพฤติการณ์ไม่ไว้วางใจหรือการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ในบางครั้ง ก็ช่วย ‘สร้างกระแส’ กดดัน จนเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น ผู้เกี่ยวข้องเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนตัวรัฐมนตรี ยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ (กระทั่ง ทหารยึดอำนาจ ก็เคยมี)
และนี่ก็คือ 10 รัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติขออภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 พร้อมกับข้อกล่าวหาที่แนบไปด้วย
รายชื่อและ ‘ข้อกล่าวหา’
1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม
- โควิด-19
- ปัญหาเศรษฐกิจ
- ปิดกั้นเสรีภาพประชาชน/สื่อ
- บ่อนการพนัน
- สถาบันพระมหากษัตริย์
2. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกฯ
- เป็นผู้มีอิทธิพล
- แสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง/พวกพ้อง
3. อนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข
- โควิด-19
- อำพรางจัดซื้อวัคซีน
4. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์
- แสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง/พวกพ้อง
- ตั้งคนไม่มีความสามารถ
5. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย
- แสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง/พวกพ้อง
- ใช้กลไกทางกฎหมายวางแผนทุจริตอย่างแยบยล
6. ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ
- ใช้อำนาจแทรกแซง ขรก.ประจำ ให้พวกพ้องเข้าสู่ตำแหน่ง
7. สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน
- แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
- เอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง/พวกพ้อง
8. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
- เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนผูกขาด
- ปล่อยให้มีทุจริตในหน่วยงานที่กำกับดูแล
9. นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย
- แสวงหาประโยชน์ให้ตัวเอง/พวกพ้อง
10. ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์
- ปกปิดข้อมูลยื่นบัญชีทรัพย์สิน
- เอื้อประโยชน์ตัวเอง/พวกพ้อง
- เป็นผู้มีอิทธิพล
- ตั้งคู่สมรสเป็น ขรก.การเมืองอย่างไม่เหมาะสม
เสียงสำหรับ “ไม่ไว้วางใจ”
ปัจจุบัน มี ส.ส.ทั้งหมด 487 คน อยู่ฝ่ายรัฐบาล 275 คน และฝ่ายค้าน 212 คน
หากจะไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีใด ต้องการเสียงจาก ส.ส.อย่างน้อย 244 คน