เมื่อชีวิตมืดแปดด้าน หาทางออกไม่ได้ ไร้คนรอบกายให้พึ่งพา ทางเลือกที่ดีที่สุดจึงเป็นการเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ
ค่านิยมการพบจิตแพทย์ในสังคมไทย ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย จากการมองว่าคนที่ไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาต้องเป็นคนบ้าแน่ๆ กลายเป็นเรื่องปกติที่เวลาใครเครียดหรือทุกข์ใจ ก็มักจะไปพบพวกเขา เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
แต่การจะเริ่มเข้ารับการรักษา หลายคนก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าควรไปหาใครดี เพราะในสายอาชีพนี้มีทั้ง ‘จิตแพทย์’ (psychiatrist) และ ‘นักจิตวิทยา’ (psychologist) แล้วอาการอย่างเรา ไปเข้าเค้ากับการพบผู้เชี่ยวชาญในด้านไหนกันแน่นะ
The MATTER จึงอยากชวนทุกคนมาเข้าใจทั้งสองอาชีพถึงขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นแนวทางคร่าวๆ ว่าเราควรจะไปพบใครดี
หรือหากยังสับสนอยู่ เบื้องต้น ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจโดยเจ้าหน้าที่ที่จุดคัดกรอง ผ่านการซักถามประวัติและอาการ เพื่อดูว่าต้นเหตุของความผิดปกติเกิดขึ้นจากร่างกายหรือจิตใจ และควรเข้าพบใครมากกว่ากัน ระหว่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยา
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจได้เข้ารักษากับทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยา โดยจิตแพทย์จะช่วยวินิจฉัยโรคและจ่ายยาเพื่อช่วยปรับสารในสมอง จากนั้นก็จะส่งต่อให้นักจิตวิทยาทำการบำบัดหรือพูดคุย เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย