การประชุมรัฐสภา ระหว่างวันที่ 23-24 มิ.ย.2564 มีวาระน่าสนใจอีกครั้ง เมื่อเตรียมพิจารณาร่างขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวน 13 ร่าง ที่เสนอโดย ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ในวาระแรก
ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองแล้วสำหรับความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
หลังจากครั้งแรกล่มไป เมื่อ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐกับ ส.ว.แต่งตั้งจับมือกับคว่ำร่างขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวาระที่สาม โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้อย่างคลุมเครือเรื่องการจัดทำประชามติ ‘ก่อน-หลัง’ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
The MATTER ขอสรุปประเด็นของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด 13 ร่าง เพื่อให้การติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นไปอย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ร่างที่ 1 เสนอโดย ส.ส.พลังประชารัฐ (5 ประเด็น 13 มาตรา)
- สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
- บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
- ให้ ส.ส.-ส.ว.แปรญัตติงบประมาณได้
- ให้ ส.ส.พาประชาชนไปติดต่อราชการได้
- ให้ ส.ส.ร่วมติดตามความคืบหน้ายุทธศาสตร์ชาติ-แผนปฏิรูปประเทศ
ร่างที่ 2 เสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย (สิทธิของประชาชนในเรื่องต่างๆ เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการต่อต้านรัฐประหาร)
ร่างที่ 3 เสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย (บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบ)
ร่างที่ 4 เสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย (ยกเลิก ส.ว.เลือกนายกฯ)
ร่างที่ 5 เสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย (ยกเลิก ยุทธศาสตร์ชาติ)
ร่างที่ 6 เสนอโดย ส.ส.พรรคภูมิใจไทย (ยุทธศาสตร์ต้องแก้ไขได้)
ร่างที่ 7 เสนอโดย ส.ส.พรรคภูมิใจไทย (รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า)
ร่างที่ 8 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (สิทธิของประชาชนในเรื่องต่างๆ เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค)
ร่างที่ 9 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (เปลี่ยนวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น)
ร่างที่ 10 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (แก้วิธีตรวจสอบ ป.ป.ช.)
ร่างที่ 11 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ยกเลิก ส.ว.เลือกนายกฯ)
ร่างที่ 12 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (กระจายอำนาจท้องถิ่น)
ร่างที่ 13 เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบ)
– ดูเนื้อหาร่างขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 13 ร่าง พร้อม ส.ส.ที่ร่วมลงชื่อเสนอ โดยละเอียดได้ที่: http://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx…
ความจริงแล้วยังมีอีกร่างที่ถูกเสนอโดย ส.ส.พรรคเพื่อไทย คือขอให้แก้ไขมาตรา 256 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ แต่ไม่ได้รับการบรรจุในระเบียบวาระการประชุม
สำหรับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระแรก จะมีการลงคะแนนด้วยการขานชื่อ ซึ่งต้องมีเสียง ส.ส.และ ส.ว.แต่งตั้งเห็นด้วยเกินกว่า 50% โดยในนั้นจะต้องมีเสียง ส.ว.แต่งตั้งเกิน 1/3 ของทั้งหมดเห็นชอบด้วย หากร่างใดผ่านความเห็นชอบจะมีการจัดตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาในรายละเอียด แล้วนำกลับมาพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภา ในวาระที่สองและวาระที่สามอีกครั้ง
มรดก คสช.นี้ จะถูกแก้ไขได้หรือไม่ และแก้อย่างไร โปรดติดตามชม