เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ เมื่อถึงวันสุดท้ายของทริปที่ต้องขึ้นเครื่องแล้ว สิ่งแรกที่นักช้อปขี้ลืมมักจะทำบ่อยๆ คือการไปช้อปปิ้งตามสนามบินที่เหมือนเป็นแหล่ง Outlet รวมของฝาก ทำให้นักท่องเที่ยวและนักลงทุนส่วนใหญ่ อาจมองว่าสนามบินอาจเป็นเพียงทางผ่านไปสู่ประเทศนั้นๆ
แต่ตลอดหลายปีมานี้ แนวคิด Aerotropolis หรือ เมืองสนามบิน เป็นเทรนด์ธุรกิจที่กำลังพูดถึงทั่วโลก เพราะไม่เพียงแค่เป็นการให้ความสำคัญกับพื้นที่รอบๆ สนามบินให้กลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญเท่านั้น แต่ยังพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเเละระบบเศรษฐกิจที่มีรูปแบบคล้ายกับ Metropolis นั่นเอง ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิในบ้านเราเองก็กำลังพัฒนาไปสู่เมืองสนามบินในอนาคตอันใกล้
ลองไปทำความรู้จัก Aerotropolis ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจมากกว่าแค่เป็นที่ซื้อของฝาก
จุดกำเนิดของ Aerotropolis
หากย้อนกลับไปในอดีต สิ่งที่เป็นเส้นทางในการเชื่อมต่อศูนย์กลางทางเศรษฐกิจกับความเป็นเมือง คือเส้นทางเดินเรือในศตวรรษที่ 18 รางรถไฟในในศตวรรษที่ 19 และถนนหนทางในศตวรรษที่ 20 และสิ่งที่กำลังเป็นตัวแทนในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือสนามบิน ซึ่งเป็นแนวคิดเริ่มต้นของ John D. Kasarda ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Aerotropolis Institute ในประเทศจีน และผู้อำนวยการ Center for Air Commerce แห่ง University of North Carolina ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่ง Aerotropolis
ได้มองเห็นศักยภาพของทำเลรอบๆ สนามบินในรัศมี 10 – 20 กิโลเมตร ว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และที่อยู่อาศัย โดยไม่ได้มองพื้นที่สนามบินเป็นพื้นที่รอบนอกของเมือง แต่มองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งต่อยอดมาจากงานรีเสิร์ชว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจของสนามบินมาตั้งแต่ปี 2000 เรียกได้ว่าไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่ ก่อนจะเริ่มเป็นที่ยอมรับและกล่าวถึงมากขึ้น เมื่อ นิตยสาร Time ยกย่องให้แนวคิดนี้เป็น 1 ใน 10 ไอเดียที่เปลี่ยนโลกได้ เมื่อปี 2011 เลยทีเดียว
เมืองสนามบินที่ไม่ใช่แค่ทางผ่าน
องค์ประกอบสำคัญของ Aerotropolis คือการที่มีพื้นที่สนามบินเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมที่เชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าเป็นรถไฟฟ้าต่างๆ หรือถนนที่เชื่อมจากในเมืองสู่สนามบิน นำไปสู่การพัฒนาที่อยู่อาศัยบริเวณรอบๆ พร้อมด้วยสาธารณูปโภคต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์ของการพัฒนาการเป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าหรือแหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร จนถึงสถานที่พักผ่อนอย่างครบวงจร รองรับทั้งนักท่องเที่ยว ผู้อยู่อาศัย และคนทั่วไปในย่านอื่นๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้เขามาใช้บริการในพื้นที่ Aerotropolis แห่งนี้ ทำให้เหล่านักลงทุนทั่วโลกต่างยกระดับให้เมืองสนามบินเป็น CBD หรือ Central Business District แห่งสำคัญ มีการประเมินราคาที่ดินสูงระดับเดียวกับเขตใจกลางเมือง เปลี่ยนภาพจำของสนามบินเดิมๆ ที่เพียงทางผ่านสำหรับการเดินทางเข้าสู่ประเทศหรือแหล่งซื้อของฝากก่อนกลับ ให้กลายเป็นประตูหน้าด่านสำคัญที่ใครๆ ก็ต้องตั้งใจมาช้อปปิ้งที่นี่โดยเฉพาะ
โมเดล Aerotropolis ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของ Aerotropolis ที่เป็นกรณีศึกษา คงหนีไม่พ้น สนามบินฮีทโธรว์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าหนึ่งในสนามบินที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี 2017 มีผู้โดยสารสะสมกว่า 78 ล้านคน มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่รวมแบรนด์ดังทั่วโลกมาไว้ที่สนามบิน และที่สำคัญคือมีบริการ Personal Shopper หรือผู้ช่วยส่วนตัวที่พาช้อปปิ้งให้ได้สิ่งของที่ต้องการภายในเวลาอันจำกัด แถมยังมากับบริการชั้นยอด พูดได้ถึง 40 ภาษาอีกด้วย สนามบินฮีทโธรว์จึงเป็นแหล่งช้อปปิ้งสำคัญ จนคนไทยอย่างเราๆ เข้าไปติดหนึ่งในชนชาติขาช้อปที่ใช้บริการที่นี่มากที่สุด และอีกหนึ่งสนามบินที่ต้องกล่าวถึงคือ สนามบินปารีสชาร์ลส์เดอโกล ประเทศฝรั่งเศส ที่มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับสองของยุโรปรองลงมาจากฮีทโธรว์ที่ 69 ล้านคน โดดเด่นในเรื่องการศูนย์การคมนาคมที่เชื่อมต่อจากสนามบินไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ตามองค์ประกอบของการคมนาคมไร้รอยต่อ เป็นปัจจัยสำคัญให้สนามบินแห่งนี้เป็นหนึ่งในโมเดล Aerotropolis ที่ประสบความสำเร็จ
อนาคตของสุวรรณภูมิในการเป็นเมืองสนามบินแห่งใหม่
ในบ้านเราเอง สนามบินสุวรรณภูมิ คือทำเลทองในการพัฒนาไปสู่การเป็น Aerotropolis ด้วยคุณสมบัติในการเป็น 1 ใน 10 อันดับของสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในเอเชีย กว่า 55 ล้านคนในปี 2560 และส่วนขยายของสนามบินที่จะแล้วเสร็จในปี 2563 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี รวมไปถึงพื้นที่ย่าน บางนา – สุวรรณภูมิ เป็นที่ตั้งของถนนหลักหลายสาย อย่างเช่นถนนบางนา – ตราดที่เป็นเกตเวย์สู่ภาคตะวันออก มีจำนวนรถยนต์ที่วิ่งผ่านบนถนนบางนา-ตราด ต่อวัน กว่า 200,000 คัน หรือคิดเป็นกว่า 75 ล้านคันต่อปี รวมถึงมีเส้นทางรถไฟฟ้า Airport Rail Link และส่วนต่อขยายในอนาคต เรียกว่าเป็นทำเลศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้เทียบเท่าสนามบินระดับโลกก็ว่าได้
Central Village: Bangkok Outlet Experience
ด้วยศักยภาพของพื้นที่รอบๆ สนามบินสุวรรณ์ภูมิจึงทำให้ เซ็นทรัลพัฒนา สร้างแพลทฟอร์มใหม่ของสถานที่ช้อปปิ้ง ด้วยการเนรมิตโครงการ Central Village บนพื้นที่กว่า 40,000 ตร.ม. ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเพียง 10 นาที ด้วยการเป็น International Luxury Outlet แห่งแรกของไทย ประกอบไปด้วยร้านค้าแบรนด์ดังกว่า 235 ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม สนามเด็กเล่น จุดบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้มีแบรนด์ชั้นนำระดับโลกตอบรับแล้วอาทิ Polo Ralph Lauren, Kenzo, Vivienne Westwood เอาท์เล็ตแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย, CK Jeans,Adidas, Matter Makers, Guess, Converse, Super dry, Rip Curl, Roxy, Quiksilver, Samsonite เป็นต้นรวมถึงแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใช้ในครัวของเล่นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านอีกมากมาย ในบรรยากาศอันร่มรื่นของธรรมชาติผสานกับพื้นที่กลางแจ้งด้วยการตกแต่งแบบไทยร่วมสมัย เป็นจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวต้องแวะช้อปทุกครั้งก่อนเข้าเมืองหรือเดินทางกลับเข้าสนามบิน เปลี่ยนสนามบินสุวรรณภูมิให้กลายเป็นฮับแห่งการช้อปปิ้งและความบันเทิงแบบครบวงจรแห่งใหม่ของคนไทยและนักท่องเที่ยวทั่วโลก พร้อมเปิดให้บริการสิงหาคมปีหน้าอย่างแน่นอน
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645409
https://www.theguardian.com/artanddesign/2013/mar/03/aerotropolis-london-kasarda-rowan-moore
https://en.wikipedia.org/wiki/Aerotropolis
https://en.wikipedia.org/wiki/Heathrow_Airport#Heathrow_City