ในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ลูกค้ารายย่อยหรือแบบเราๆ เท่านั้นที่มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ลูกค้าที่เป็นร้านค้า บริษัท หรือองค์กรต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
ยิ่งในยุคนี้ที่กระแสดิจิทัลกำลังมาแรง ไม่ว่าไปงานเสวนาวงไหน เป็นต้องพูดถึงเรื่องการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Transformation กันหมด หรือกระทั่งภาครัฐที่ออกมาพูดเรื่อง Thailand 4.0 จนชินหู ด้วยบรรยากาศแบบนี้เลยให้บริษัท ห้างร้าน องค์กรต่างๆ ยิ่งมองหาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยให้ตัวเองล้ำสมัยมากขึ้น
ดังนั้น AIS ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยี จึงลงทุนพัฒนา และเตรียมเทคโนโลยีไว้ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจหรือองค์กรที่อยากเปลี่ยนตัวเองให้เป็นดิจิทัล โดยมีหัวหอกที่ดูแลงานฝั่งนี้โดยตรง คือ AIS Business ซึ่งล่าสุดทาง AIS Business ได้จัดงาน AIS Business the Digital future 2019 ขึ้นมาเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 เพื่อเป็น Showcase ให้ลูกค้าธุรกิจได้มาเลือกชมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ AIS เตรียมไว้ช่วยกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนตัวเองเป็นดิจิทัล โดยมีเทคโนโลยีเด่นๆ สำคัญ ได้แก่
เทคโนโลยีการจ่ายเงินดิจิทัล (Digital Payment by mPAY)
เทคโนโลยีที่ดูจะมาแรงและใกล้ชิดกับคนมากที่สุดเวลานี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ที่ภาครัฐหวังเป็นหนักเป็นหนาว่า อยากให้บ้านเราเป็นสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ซึ่งทางด้าน AIS เองก็มี Solution ด้านการจ่ายเงินนี้ด้วยเช่นกัน เป็นชื่อที่คุ้นหูกันดีคือ mPAY
จริงๆ mPAY ไม่ใช่เรื่องใหม่ของ AIS เพราะทำมานานและสั่งสมประสบการณ์มามากกว่า 14 ปี นับตั้งแต่ยุคที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟน ทาง AIS ก็เริ่มมาตั้งแต่ที่ยังต้องกด # * เพื่อให้ลูกค้าสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไฟได้ โดยไม่ต้องยื่นเงินสดหรือเดินไปที่เคาท์เตอร์จ่ายเงิน
ปัจจุบัน AIS พัฒนา mPAY ให้เป็น Payment Gateway ที่ตอบโจทย์ทั้งฝั่งลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลแบบครบจบที่เดียว เริ่มจากการเป็นช่องทางจ่ายเงิน (Payment Gateway) ที่สามารถรับชำระจาก e-wallet ได้แทบทุกธนาคาร ทุกบัตรเครดิต หรือกระทั่งต่างชาติ เช่น Wechat, Signtel ก็รับได้ ฉะนั้น ร้านค้าที่อยากได้ระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ครบจบในที่เดียว คือไม่ว่าตัวเองจะมีลูกค้าเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ ก็สามารถเดินตรงมาหา AIS ได้เลย
ขณะเดียวกัน ลูกค้าธุรกิจที่อยากทำ e-payment เป็นของตัวเอง เช่น ร้านกาแฟที่อยากทำบัตรเติมเงินใช้แทนเงินสด ซึ่งการจะทำ e-payment แบบนี้ได้ จะต้องมีระบบหลังบ้านรองรับและยังมีใบอนุญาตต่างๆ จากทางการ ลูกค้าธุรกิจที่สนใจก็สามารถเดินมาหา AIS ได้เช่นกัน เพราะทาง AIS มีบริการ “White Label” หรือพูดแบบชาวบ้านๆ คือ รับทำ e-payment แล้วแปะโลโก้ของลูกค้าลงไป เพราะ AIS มีทั้งเทคโนโลยี ระบบหลังบ้าน โนว์ฮาว และใบขออนุญาตต่างๆ อยู่แล้ว
ส่วนอีกขาหนึ่ง ไม่ใช่แค่เรื่องการจ่ายเงินเท่านั้น แต่บริการเสริมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ e-wallet ต่างๆ ทาง AIS ก็ทำได้ด้วยเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น e-wallet ที่ทาง AIS ทำขึ้นมา คือ Rabbit Line pay ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง AIS, BTS และ Line โดย Rabbit Line pay ไม่ได้แค่จ่ายเงินเท่านั้น แต่ร้านค้าที่เป็นพันธมิตรยังสามารถทำคูปองออนไลน์ ไว้สำหรับทำโปรโมชั่น หรือ CRM กับลูกค้ารายย่อยตัวเองได้ด้วย
เทคโนโลยีคลาวด์ (AIS Business Cloud)
สมัยก่อนทุกๆ ออฟฟิศจะต้องมีห้อง Server ของตัวเอง แต่อย่างที่ทราบว่า ต้นทุนการดูแล Server เองนั้นสูงมาก เมื่อเทคโนโลยี Cloud เข้ามา ก็มีหลายออฟฟิศหรือองค์กรที่มองหา Cloud Server เพื่อลดการลงทุนในการซื้อเครื่อง และต้นทุนในการดูแล ซึ่งทาง AIS เองก็มี AIS Business Cloud ไว้รองรับเช่นเดียวกัน โดยมีจุดแข็งในการให้บริการสำคัญๆ คือ 1. AIS มีศูนย์ Data Center ไว้บริการอยู่ทั่วประเทศไทย โดยล่าสุด AIS ร่วมกับ CS Loxinfo ทำให้เท่ากับมีศูนย์ Data Center บริการอยู่ในกรุงเทพฯ ทำให้สะดวกกับ ลูกค้าองค์กรที่อยากจะเข้ามาเช็กมาดู Server ของตัวเอง ถัดมา 2. AIS มี Security Solution หรือระบบป้องกันความปลอดภัยต่างๆ ให้เลือกหลายรูปแบบ ซึ่งลูกค้าที่ซื้อ Cloud Server กับ AIS ก็สามารถเลือกได้ว่าอยากซื้อ Security Solution ตัวไหนที่เหมาะกับงานของตัวเอง และ 3. AIS มีบริการเสริมในการจัดการ Big Data ด้วยการร่วมมือกับบริษัท G-able ที่เชี่ยวชาญด้าน Data Analytics พูดอีกอย่างคือ ไหนๆ ก็เอา Big Data มาฝากไว้ที่ AIS แล้ว ทาง AIS ก็มีบริการไว้ช่วยคิดช่วยออกแบบสำหรับลูกค้าที่อยากต่อยอด เอา Big Data ที่ตัวเองมีไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจต่อ เช่น จะทำ Targeting Marketing เป็นต้น
ดังนั้น จะเห็นว่า AIS Business Cloud เองก็พยายามคิดและตอบโจทย์ลูกค้าแบบ one-stop service ไม่ต่างจากตัว Payment Gateway คือ ถ้าอยากได้อะไร ทาง AIS คิดไว้ให้หมดแล้ว
เทคโนโลยี Internet of Things (AIS IoT)
แต่ก่อนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เราจะทำได้ผ่านคอมพิวเตอร์หรือมือถือเท่านั้น แต่สมัยนี้อุปกรณ์หลายๆ อย่างก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ รวมไปถึงยังเชื่อมต่อกับอุปกรณือื่นๆ ได้ หรือที่เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Internet Of Things (IoT)
ซึ่ง AIS ก็ลุกมาทำ IoT ด้วยเหมือนกัน เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดกับธุรกิจหลัก AIS แบบสุดๆ คือ แค่พัฒนาจากการ connect ระหว่างคนกับคน ก็ต่อยอดมาเป็น connect สิ่งของกับสิ่งของ หรือสิ่งของกับคน โดยทาง AIS Business ก็เปิดแขนอ้ารับให้ลูกค้าธุรกิจที่อยากลุย IoT ได้มาออกแบบพัฒนาร่วมกัน
ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท The Cool ผู้ให้บริการตู้แช่เย็น ที่มีสเกลใหญ่มาก คือพวกตู้แช่เย็น ตู้ไอศกรีมของเนสเล่ ของซีพี ของเซเว่นอีเลฟเว่น เป็นลูกค้าบริษัทนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น ตู้แช่เย็นที่ The Cool จึงมีปริมาณมหาศาล ทีนี้ ปัญหาที่ผ่านมา คือทาง The Cool ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการกับลูกค้า โดยเฉพาะการ detect ให้ได้ก่อนว่าตู้แช่ตัวไหนกำลังจะเสีย เพราะที่มาต้องรอให้ตู้แช่เสียก่อน ทาง The Cool ถึงเข้าไปซ่อม ซึ่งทำให้สินค้าลูกค้าได้รับความเสียหาย
เพื่อแก้ปัญหานี้ ทาง The Cool จึงติดต่อกับ AIS เพื่อให้ช่วยออกแบบ เทคโนโลยีตู้แช่เย็นแบบ IoT คือติดตั้งระบบ detect ตู้แช่เย็นไว้ เมื่อตู้ไหนมีอาการว่าจะเสีย ทาง The Cool จะได้ส่งช่างไปซ่อมล่วงหน้าได้ทัน โดยประโยชน์ไม่ใช่แค่ตัวลูกค้า The Cool เท่าที่ได้ แต่ทาง The Cool เองยังสามารถลดต้นทุนในการส่งช่างไปซ่อมได้อีกด้าย และในอนาคตทาง The Cool ยังวางแผนจะให้ตู้แช่เย็นฉลาดขึ้นกว่านั้น เช่น สามารถจับข้อมูลได้ว่าสินค้าตัวไหนถูกหยิบบ่อยๆ (ขายดี) เรียกว่าเป็นการสร้างจุดแข็งให้การบริการตัวเองได้ต่ออีก
ทั้งหมดนี้ คือ 3 เทคโนโลยีไฮไลท์สำคัญๆ ที่ AIS Business เตรียมไว้รองรับลูกค้าธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่ใครๆ ก็อยากจะลุกมาทำ Digital Transformation คือหลายคนอาจนึกว่า Thailand 4.0 เป็นภาพเพ้อฝัน แต่หากดู Showcase ที่ AIS ยกมา จะเห็นได้ว่า การ Transformation ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะ AIS พยายามคิดไว้ให้ครบหมดแล้วแบบ one-stop service นอกจากนี้ ตัว AIS ไม่ได้เจาะแค่กลุ่มบริษัทใหญ่เท่านั้น แต่กว่า 20,000 ลูกค้าธุรกิจของ AIS เป็นธุรกิจแบบ SMEs ซึ่ง AIS ก็ให้ความสำคัญ และหา Solution ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทั้งหมด
ฉะนั้น สำหรับใครที่เป็นผู้ประกอบการ หรือนักการตลาด ที่อยากลุยเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ดิจิทัล ก็สามารถแวะไปพูดคุยกับ AIS Business ได้