ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ ที่หลายคนไม่เพียงมีผลกระทบทางด้านรายได้ แต่เจอทางตันจนหมดความมั่นใจ เวลานี้ไม่ใช่เวลาแห่งการรอคอยความช่วยเหลือจากใคร
แต่เป็นเวลาหันกลับมามองตัวเอง มองทุกคุณค่าในตัวเอง ว่าทุกความสามารถในตัวเราที่เราอาจคิดว่าเล็กน้อย คือศักยภาพอันยิ่งใหญ่ ได้เวลานำทุกความสามารถ ทุกความถนัดของคุณมาสร้างมูลค่าให้เกิดรายได้ และสร้างสังคมให้เดินหน้าต่อไป
‘NEIGHBOR SERVICE เพื่อนบ้าน..เพื่อคุณ’ แพลตฟอร์มทางเลือกที่สร้างสรร โดย เอพี ไทยแลนด์ ที่เปิดโอกาสให้ลูกบ้านได้แลกเปลี่ยนทักษะระหว่างเพื่อนบ้านด้วยกัน สร้างรายได้พิเศษด้วยการให้ ‘ช้อป’ ความถนัดที่มี แม้อาจจะเป็นความสามารถเล็กๆ น้อยๆ อย่างการทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ หรือซ่อมคอมพิวเตอร์ก็ตาม แต่อาจจะเป็นสิ่งที่มีความหมายกับเพื่อนบ้านก็เป็นได้
The MATTER ชวนไปคุยกับ คุณเป๋า – สรรพสิทธิ์ ฟุ้งเฟื่องเชวง ผู้อำนวยการสายงานกลยุทธ์แบรนด์องค์กร บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ถึงที่มาของแคมเปญนี้ ที่จะเป็นต้นแบบในการสร้าง Community of The Future ที่ไม่ยึดติดกับขนบเดิมๆ ของสังคม
จากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น มองภาพรวมของสังคมและลูกบ้านเอพีอย่างไร
สำหรับวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ในสังคมเรา ไม่ได้เป็นเรื่องของแค่สุขภาพอย่างเดียว คนส่วนใหญ่เสียรายได้ ตกงาน รู้สึกท้อแท้ เอพีในฐานะคนสร้างบ้าน เวลาเรามองเข้ามา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความสุขของคนในบ้าน เรารู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุด มากกว่าการตกงานสิบครั้ง มากกว่าการที่สูญเสียรายได้ ก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่า เราอยู่บนพื้นที่ที่เราตันแล้ว เราเดินต่อไปไม่ได้แล้ว และตัดสินชีวิตตัวเองว่าไม่เหลือความหวังแล้ว และจากปรากฏการณ์เหล่านี้ก็เป็นที่มาของการที่เรากลับมาคิดกับตัวเองว่า เราจะทำอย่างไรที่จะช่วยลูกบ้านของเรา และสังคมของเราให้ก้าวต่อไปได้ เราก็เลยเกิดแนวคิดที่เรียกว่า ‘Next Door Economy’
อยากให้เล่าถึงแนวคิด ‘Next Door Economy’ ว่ามีที่มาอย่างไร
แนวคิดที่เรียกว่า ‘ระบบเศรษฐกิจจุนเจือ หรือ Next Door Economy’ คือระบบเศรษฐกิจที่ไม่จำเป็นจะต้องผูกติดกับระบบแบบเก่า จริงๆ แล้วทุกคนมีความสามารถ มีความถนัดพิเศษบางอย่างในตัว เราจะทำยังไงให้คนที่สูญเสียงานประจำ ขาดรายได้ อยู่บ้านเฉยๆ สามารถสร้างรายได้ขึ้นมาจากความถนัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีคุณค่ามากขึ้น จริงๆ อาจจะเป็นความสามารถเล็กๆ แต่มันอาจจะมีค่ามากสำหรับคนข้างบ้านก็ได้ สิ่งที่สำคัญก็คือการที่เกิดเป็น Community ที่ช่วยเหลือกัน จึงทำให้เกิดแคมเปญ ‘NEIGHBOR SERVICE เพื่อนบ้าน….เพื่อคุณ’ ขึ้นมา
แคมเปญ ‘NEIGHBOR SERVICE เพื่อนบ้าน….เพื่อคุณ’ มีรูปแบบการดำเนินงานอย่างไร
แคมเปญ Neighbor Service ก็ถือว่าเป็นนโยบายอย่างหนึ่งที่อยากจะสร้างให้สังคมแบบเอพี มีลักษณะพิเศษ มีลักษณะจุนเจือน้ำใจ มีลักษณะไม่อยู่ในกรอบ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความถนัดระหว่างเพื่อนบ้านด้วยกัน ชวนคนมาสร้างรายได้พิเศษด้วยการให้ ‘ช้อป’ ความถนัดที่มี ไม่ว่าจะช่วยทำอาหาร สอนไถเชิร์ฟสเก็ต ไปจนถึงการตัดผมให้ที่บ้าน เพราะทุกความถนัดของคุณมีความหมายได้ ซึ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัย ไม่ใช่แค่ขายบ้าน แต่เราต้องสร้างชีวิตที่ดีให้คนที่เป็นลูกบ้านด้วย เราจึงมองเห็นประโยชน์ที่สำคัญมากๆ 2 อย่างจากแคมเปญนี้ คือข้อหนึ่ง ทำให้เกิด Community หรือ สังคมแบบเอพี ขึ้น ทั้ง Personality และ Dynamic ที่เกิดขึ้นระหว่างชุมชน เราอยากจะให้ Community of The Future ของเราเป็นการมองความสุขในแบบฉบับของเราเอง และข้อสอง สิ่งที่โครงการนี้มอบให้กับสังคม ก็คือการที่มนุษย์คนหนึ่งได้หันกลับมามองตัวเอง ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ต่อให้มันจะเล็กแค่ไหน มันอาจจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตคนอีกคนหนึ่งให้มีความสุขมากขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เราหวังว่าจะสร้างวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนน้ำใจในการอยู่อาศัยร่วมกัน เพื่อให้ลูกบ้านทุกคนมองความสุขในแบบฉบับของตัวเอง
มีเคสตัวอย่างลูกบ้านที่เข้ามาแชร์ความถนัดไหม ฟีดแบ็กเป็นอย่างไร
เราเริ่มที่ประชาสัมพันธ์ลูกบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ ให้ลงทะเบียนความถนัดกันเข้ามา มีคนสนใจจำนวนมากทั้งช่างตัดผม เชฟโรงแรม สอนเล่นเซิร์ฟสเก็ต หรือยกตัวอย่างเช่นหลานผม สามารถรีเซ็ตคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งมันอาจจะมีค่ามากๆ กับคุณตาที่อยู่บ้านติดกันเลยก็ได้ หรือการปอกทุเรียน มันอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องการมากๆ สำหรับคุณผู้หญิงที่อยู่บ้านอีกหลังหนึ่งก็ได้ ทุกคนตอบรับกับตรงนี้มาก เพราะสิ่งที่สำคัญมากไปกว่าการมีรายได้ ก็คือการที่เกิด Community ใหม่ขึ้นมา ทำให้ลูกบ้านที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น
คาดหวังให้แคมเปญนี้ช่วยเหลือลูกบ้านในระยะยาวได้อย่างไร
สำหรับโครงการนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ทุกคนหันกลับมามองตัวเอง ด้วยสายตาใหม่ กลับมามองความสามารถของตัวเองในบริบทใหม่ เพราะมันอาจจะมีค่า และเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตของใครอีกคนก็ได้ และยังสร้างรายได้หมุนเวียนให้เกิดขึ้นในสังคมของตัวเอง สร้างความสัมพันธ์จากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่ Community of The Future ที่ดีไปด้วยกันได้ เราอยากจะสร้างวัฒนธรรมใหม่แบบเอพี ที่ช่วยตอบโจทย์ให้กับสังคมได้ บางทีเราคิดว่าสิ่งเล็กๆ ที่เรารู้ ที่สั่งสมประสบการณ์มา อาจจะไม่มีค่า เราไม่อยากบอกใครด้วยซ้ำ แต่มันอาจจะเป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต ที่ทำให้เขาอยากเดินหน้าต่อไปก็เป็นได้
ลงทะเบียนแชร์ความถนัด และช้อปความถนัดของเพื่อนบ้านได้ที่ www.apneighborservice.com