นวัตกรรม AI ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างความสะดวกสบายให้กับเราอย่างมากในทุกๆ เรื่อง ซึ่งความฉลาดในการประมวลผล เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในจุดที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดและรวดเร็วแบบสุดๆ
และสิ่งที่พัฒนาไปพร้อมๆ กันคือเรื่องของฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานของ AI อย่าง AI PC หรือคอมพิวเตอร์ที่มีชิพประมวลผล NPU (Neural Processing Unit) ที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้งาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในแบรนด์ผู้นำ AI PC ตอนนี้ คงเป็นใครไม่ได้นอกจาก ASUS ที่เจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้งานในไทยเป็นเจ้าแรกๆ
ชวนไปพูดคุยกับ คุณเบียร์-วิจิตรา หิรัญญการ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจคอนซูเมอร์ เอซุส (ประเทศไทย) ถึงความโดดเด่นของ AI PC ที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของความสะดวกสบายในการใช้งาน และการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในตลาด
จากอดีตถึงปัจจุบัน มองว่าความต้องการของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ต้องบอกว่าในยุคที่ 15-20 ปีที่แล้ว คนจะเลือกซื้อโน้ตบุ๊กจากสเปกเป็นส่วนใหญ่ จะใช้ CPU อะไร ใช้ RAM เท่าไร ราคาประมาณไหน ทุกอย่างจะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งนี้ทั้งหมด แต่พอมาปัจจุบัน ต้องบอกว่าทุกๆ แบรนด์ต้องสนใจสิ่งที่จะตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานได้มากขึ้น เพราะกลุ่มผู้ใช้งานมีความแตกต่างจากเดิม บางคนใช้งานแค่เรียนหนังสือ ทำเอกสาร บางคนใช้ทำกราฟิกดีไซน์ บางคนใช้เพื่อความบันเทิง เล่นเกม ต้องบอกว่าปัจจุบันโน้ตบุ๊กที่ผลิตออกมา เข้าใจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น นอกจากสเปกที่อัปเดตขึ้นไปเรื่อยๆ แล้ว เรื่องแบรนด์มีผลมาก อย่างเช่น ASUS เองก็อยู่ในธุรกิจไอทีมาทั้งหมด 35 ปี ถือว่าเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ บางครั้งผู้บริโภคก่อนจะเลือกซื้ออะไรก็ต้องมองหาแบรนด์ที่โอเค มีการพัฒนาเรื่องของนวัตกรรมไม่หยุดนิ่ง
แล้วสภาพตลาดของวงการไอทีในปีนี้เป็นอย่างไร
สภาพตลาดของไอทีในปีนี้ โดยรวมในเอเชียแปซิฟิก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ดรอปลงมาประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของประเทศไทย ถ้าดูจากตัวเลขล่าสุด ไตรมาส 1-3 ต้องบอกว่าคงที่ ส่วน ASUS ก็เป็นแบรนด์อันดับ 1-3 ของตลาดมาโดยตลอด เป็นเพราะเราทำตลาดในประเทศไทยมาอย่างยั่งยืนและยาวนาน นอกจากนั้นในปีนี้ จะมีสินค้าที่เป็นนวัตกรรม AI เข้ามามีส่วนช่วยทำให้ในปี 2025 ธุรกิจคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กจะยังคงเติบโตได้อีก
อยากให้เล่าถึงการเข้ามาของ AI PC ที่กำลังเข้ามาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในตลาด
ตั้งแต่ช่วงประมาณปลายปีที่แล้ว จนถึงมาต้นปีนี้ บริการ AI service ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานบน Cloud รูปแบบจะไม่ค่อยหลากหลายมาก เช่นการ generate รูปภาพ การโต้ตอบเป็นแชท แต่ว่าพอมาในปีนี้ผู้ผลิตทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ พยายามที่จะพัฒนาฟังก์ชันฟีเจอร์ AI ออกมาให้มันหลากหลาย ตอบโจทย์การใช้งานให้มันมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น สิ่งที่พัฒนาขึ้นมา คือ AI ไม่จำเป็นใช้งานผ่าน Cloud แล้ว เพราะมีส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์หน่วยประมวลผล หรือที่เรียกว่า NPU ซึ่งตอนนี้ ASUS มีออกมาแล้ว ทั้ง Snapdragon, AMD Ryzen AI และ Intel Core Ultra 200รวมถึงด้านซอฟต์แวร์ของ ASUS ก็เป็นซอฟต์แวร์เฉพาะในเครื่องที่เป็นเอกสิทธิ์ของเรา ยกตัวอย่างเช่น StoryCube ที่ช่วยรวบรวมรูปภาพในการใช้งาน สามารถจะเรียกใช้ได้สะดวก และ MuseTree ที่ช่วยสร้าง idea map ด้วยการวาดขึ้นมาได้ ถ้าในปี 2024 ASUS ถือเป็น First Mover หรือเจ้าแรกที่นำ AI PC เข้ามาสู่ตลาดนี้
อะไรคือความท้าทายในการสร้างความเข้าใจ AI PC ให้กับผู้ใช้งาน
AI เป็นเรื่องที่ใหม่ของทุกคน เราจึงต้องทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในไทย พร้อมกับการให้ความรู้กับผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายไปในเวลาเดียวกัน เริ่มแรกเราจึงเลือกนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเสถียรและผ่านการทดสอบการใช้งานมาแล้ว หลังจากนั้นเราก็เรียนรู้ สร้างความเข้าใจกับตลาด และดูฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ จากตรงนี้เราก็ค่อยๆ ทำการตลาดกับทางผู้ใช้งาน รวมถึงผู้จัดจำหน่าย มีการเทรนเขาให้รู้จักฟังก์ชันต่างๆ ผ่านการทดลองใช้จริงจนใช้งานเป็น โดยตระเวนไปจัดกิจกรรม Roadshow ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อให้รู้สึกว่า AI เป็นผู้ช่วย ทั้งในเรื่องการทำงานและด้านอื่นๆ ได้จริงๆ
แต่ผู้ใช้งานหรือองค์กรในปัจจุบัน ก็ยังคงกังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
ตั้งแต่ช่วงประมาณกลางปีที่แล้ว เทรนด์การให้บริการเรื่องของ AI service เริ่มบูมขึ้นมา คนลองใช้กันเยอะมาก แต่ ณ ช่วงเวลานั้นมันยังเป็นบน Cloud ทั้งหมด ทุกคนก็จะกลัวเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งจะมาจากในภาคของธุรกิจเยอะมาก คนใช้งานในองค์กรบางทีเขาไม่กล้าใช้ AI เพราะกลัวว่าข้อมูลบริษัทจะปลอดภัยไหม เหมือนเอาความลับบริษัทออกไปสู่ภายนอกหรือเปล่า นอกจากภาคธุรกิจแล้ว ภาคผู้ใช้ปกติทั่วไป ก็มีกังวลเรื่องของ privacy ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ AI ก็พยายาม utilize ฮาร์ดแวร์อย่าง NPU เพื่อประมวลผล AI โดยเฉพาะให้อยู่ภายในเครื่องมากขึ้น เป็นมาตรฐานต่อไปที่เมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ จะไม่มีการดึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ออกมา
AI PC ของ ASUS แตกต่างจาก PC ในตลาดทั่วไปอย่างไร
แน่นอนคือการประมวลผลจะรวดเร็วมากขึ้น การทำงานฟังก์ชันต่างๆ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คือถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มี NPU การประมวลผลก็อาจจะช้ากว่า และการทำงานอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ เรามีแอปพลิเคชันของเราเองที่มากับตัวเครื่อง นอกจากนั้นคือฟังก์ชันอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น อย่างฟังก์ชัน Two-Way AI Noise Cancelation เรามีการเทรนโมเดล AI เพื่อให้เรียนรู้เรื่องของสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ใช้ ว่าเสียงแบบนี้คือเสียงรบกวน เสียงแบบนี้ต้องตัดออก เปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องประชุมเงียบๆ บางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ไม่มี AI ช่วยตัดเสียงรบกวน เราจะประชุมที ต้องหาห้องเงียบๆ หรือไม่ก็ต้องหาไมค์เสริมที่เป็นไมค์ตัดเสียงรบกวน ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องไปหาห้องเงียบๆ แล้ว สามารถที่จะใช้ไมค์ที่อยู่กับตัวเครื่องได้เลย แล้วก็ในสายงานเฉพาะทาง ซอฟต์แวร์บางตัว สำหรับคนทำเพลงที่จะต้องมีการตัดไฟล์เพลง มิกซ์เพลง AI ก็เริ่มมีบทบาทแล้ว ซึ่งสามารถใช้พลังของ NPU อยู่ในเครื่อง เพื่อใช้ประโยชน์จากในส่วนนี้ได้เต็มๆ หรือในส่วนของการทำ presentation เสนอโปรเจกต์ต่างๆ บางทีเริ่มต้นไอเดียไม่ถูก AI ก็จะเข้ามาช่วยดราฟต์ให้ เราอาจจะเพิ่มไอเดียของเราไปบ้าง การทำงานก็จะสะดวก และไหลลื่นมากขึ้น
อยากให้อธิบายถึง segment โปรดักต์ของ ASUS ว่าสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างไร
ถ้าพูดถึง segment โปรดักต์ของ ASUS มีสินค้าใหม่ๆ ในการเข้ามาทำตลาดในไทยทุกๆ ปี เริ่มต้นจากกลุ่ม Non gaming เรามีโน๊ตบุ๊กที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มสาย creator มีรุ่น ProArt ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและมีความแม่นยําในการทำงานด้านการตัดต่อ มีหน้าจอที่คมชัด และประสิทธิภาพสูง รุ่น Zenbook DUO (2024) ที่มี 2 หน้าจอ ซึ่งได้รับรางวัล Good Design Gold Award ของปี 2024 ซึ่งจัดโดยสถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Institute of Design Promotion) นับเป็นหนึ่งในเวทีรางวัลการออกแบบที่ดีและสำคัญที่สุดของโลก และเป็นผลิตภัณฑ์เดียวในกลุ่มคอมพิวเตอร์พีซีที่ได้รับรางวัลนี้อีกด้วย นอกจากเรื่องหน้าจอแล้ว ยังมีการพัฒนาเรื่องของดีไซน์ที่สวยงาม พร้อมกับวัสดุที่เรียกว่า Ceraluminum เป็นการผสมกันระหว่าง Ceramic กับ Aluminum เป็นวัสดุที่เมื่อสัมผัสแล้วจะไม่เป็นรอยนิ้วมือ และ segment ถัดมาคือ Vivobook S เป็น segment ระดับกลางที่มีฟังก์ชันสูง คุ้มค่ากับราคา ตอบโจทย์เรื่องของสเปกและประสิทธิภาพการใช้งาน และรุ่นรองลงมาคือ Vivobook เป็นรุ่นมาตรฐาน ที่เน้นความหลากหลายมากขึ้น มีหน้าจอ ขนาด 14 15 16 นิ้ว เพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้เริ่มต้น ส่วนกลุ่ม gaming มีสินค้าเปิดตัวใหม่คือ ROG Zephyrus G16 เป็นกลุ่มผู้ใช้งานระดับพรีเมียมที่ต้องการประสิทธิภาพระดับสูงแต่ยังคงพกพาได้คล่องตัว แต่สำหรับคอเกมเมอร์หรือว่าผู้ใช้งานหนักๆ แนะนำเป็น ROG Strix SCAR ซึ่งเป็นอีกซีรีส์หนึ่งที่รองลงมาจาก Zephyrus และสุดท้าย คือรุ่น TUF Gaming มีการนำรุ่นหน้าจอ 14 นิ้วเข้ามาใหม่ พร้อมกับฟังก์ชัน AI ได้รับการตอบรับอย่างดี แล้วนอกจากนี้ เรายังมีสินค้ากลุ่ม Desktop / AiO ที่ทำตลาดในประเทศไทยแล้ว มีบริการแบบ On-Site service และยังมี ROG Ally เครื่องเล่นเกมพีซีแบบพกพา รวมถึง ROG phone ซึ่งเป็นเกมมิ่งโฟนโดยเฉพาะเลยด้วย
คือเรามีครบไลน์ ไม่ใช่แค่เฉพาะโน้ตบุ๊ก เรียกว่าไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Headquarter ที่ให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในประเทศไทย เราจะดูความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ดังนั้นเราจะไม่ได้มองว่านำรุ่นไหนเข้ามาแล้วจะสร้างยอดขาย ทำกําไรสูงสุด หรือ Market Share สูงสุด แต่เราจะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ใช้งานมีความต้องการอะไรบ้าง จะเห็นได้ว่าเรามีทุกรุ่น ทุกระดับราคา เริ่มต้นตั้งแต่หมื่นกว่าบาทเลย แน่นอนว่าเราต้องอยากขายนวัตกรรมที่ดีให้กับผู้บริโภค อยากให้ทุกฟีเจอร์ตอบโจทย์กับผู้ใช้จริงๆ
ASUS มีนโยบายเกี่ยวกับความยั่งยืนอย่างไร
ต้องบอกว่า Headquarter ของ Asus มีเป้าหมายว่า อยากจะใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืนให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในปี 2025 นี้อย่างเรื่องกล่องแพ็คเกจจิ้ง สามารถที่จะนำมาปรับใช้ให้เป็นที่รองแท่นวางของโน้ตบุ๊กได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตั้งใจดีไซน์ออกมาให้เป็นอย่างนั้น ซึ่งตลอดปี 2022 สามารถลดภาวะเรือนกระจก ได้ถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และมีเป้าหมายจะลดให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ในปีถัดไป ซึ่งเป็นจุดที่ ASUS ยังคงให้ความสำคัญในการดูแลโลกให้ยั่งยืนมากขึ้น
ในฐานะที่เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไอที มองประเด็นเรื่องของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร
อยากให้มองย้อนกลับไปช่วงโควิด ประมาณ 4-5 ปีแล้ว มีการเติบโตในธุรกิจของไอทีสูงมากๆ เพราะทุกคนต้อง Work from home ทุกคนต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงตอนนี้ ถ้าลูกค้าอยากจะเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนโน้ตบุ๊กใหม่ ให้มีฟังก์ชัน AI ก็สมควรแก่เวลาในการที่จะเปลี่ยน รวมถึงการอัพเกรดจาก Windows 10 มาเป็น 11 คำถามคือเปลี่ยนแล้วจะทำยังไงกับเครื่องเก่า ซึ่งในตลาดตอนนี้ จะมีการ Trade-in โดยมีบริษัทที่มีความรู้เรื่องการเปลี่ยนสภาพของชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อ หรือนำไปบริจาคให้กับหน่วยงานต่างๆ และโรงเรียนที่เขาขาดแคลน มีโครงการของ กทม. ที่ดําเนินการอัพเกรดซอฟต์แวร์เพื่อสามารถนําไปบริจาคได้ ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภค ไม่ต้องมองหาที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่สามารถทำให้ตัวเครื่องมีประโยชน์ต่อไปได้
มองอนาคตของ AI PC ไว้อย่างไร
ถ้าเราดูจาก forecast ที่คาดการณ์ ภายในปี 2027 มองว่า AI PC จะมีสัดส่วนแชร์กับคอมพิวเตอร์ปกติถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตอนนี้ รวมทุกๆ แบรนด์อาจจะยังมีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เพราะเพิ่งจะเริ่มมาทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงความหลากหลายของรุ่น ก็ยังไม่ได้เต็มพื้นที่ของการขาย แต่ปี 2025 แน่นอนคือจะมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เข้ามาในไทยมากขึ้น อย่างน้อยมีมากขึ้นอีกหลาย segment เลย เพราะทุกคนจะเริ่มเรียนรู้กับการใช้ AI PC มากขึ้น
อยากฝากอะไรให้ผู้ใช้เปิดใจลอง AI PC มากขึ้น
ถ้าให้พูดโดยส่วนตัว เราบอกไม่ได้ว่ามันจะฉลาดมากกว่ามนุษย์ขนาดไหน แต่ถ้าหากมองเบื้องต้นในฐานะเราเป็นผู้ใช้งาน สมมติมีคนสองคน แล้วคนหนึ่งใช้งาน AI เป็น กับอีกคนใช้งาน AI ไม่เป็น ความรวดเร็วในการทำงานจะแตกต่างกันอย่างแน่นอน มีการ assign งานเดียวกัน คนที่ใช้เครื่องที่มี AI น่าจะส่งงานได้เร็วกว่า ต้องลองเปิดใจก่อน สุดท้ายแล้วสิ่งที่จะช่วยคือตัดสินใจได้ คือการทดลองใช้ แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลให้เขาฉลาดขึ้นด้วย
ถ้าเราอยู่ในองค์กรที่มีคนใช้กับไม่ใช้ คนที่ใช้จะมีทักษะมากกว่าและเร็วกว่า แล้วในอนาคต ราคาก็อาจจะจับต้องได้มากขึ้นกว่าในปัจจุบันแน่นอน