ความหมายของคำว่า ‘บ๊วย’ ที่เรารับรู้กันส่วนใหญ่ อาจมีความหมายในเชิงลบ แต่ถ้าลองมองถึงความหมายในเชิงลึกแล้ว หากจะได้ชิมบ๊วยที่อร่อยและรสชาติดี อาจต้องใช้เวลาในการบ่มนั่นเอง
ขณะเดียวกัน ความบ๊วยก็อาจเป็นบันไดขั้นแรกไปสู่การเป็น Best ก็เป็นได้ เพราะทุกคนที่ประสบความสำเร็จ ต้องผ่านการล้มและผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น
จึงเป็นที่มาของแคมเปญ ‘กว่าจะ Best ต้องลอง Taste ความบ๊วย’ บ้านปู หนึ่งในผู้นำองค์กรด้านพลังงานใน 10 ประเทศ ที่มีความเชื่อว่า ‘พนักงานของเราทุกคน’ เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในบ้านปู ทุกคนล้วนมีความสามารถแตกต่างกันไป และมีเส้นทางการเติบโตในแบบฉบับของตนเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโอกาสเข้ามาในชีวิตการทำงาน บ้านปูก็พร้อมสนับสนุนและอยากให้ทุกคนคว้าไว้ ได้กล้าลองผิดลองถูกกับโอกาสเหล่านั้น ไม่ต้องกลัว ค่อยๆ พัฒนาและเรียนรู้ เมื่อนานวันเข้า สิ่งเหล่านี้จะบ่มเพาะศักยภาพของเราให้ได้เรียนรู้และได้สั่งสมทักษะต่างๆ รอบด้าน จนมีประสบการณ์มากขึ้นและประสบความสำเร็จในงานที่ทำ เช่นเดียวกับการดองบ๊วยนั่นเอง
The MATTER ชวนไปสำรวจเบื้องหลังของแคมเปญนี้ บอกเลยว่าไม่มีใครกล้าทำมาก่อน ด้วยการเปิด Open Space เวิร์กชอปสุดสร้างสรรค์ สะท้อนถึงจุดยืนของบ้านปูว่า ‘คน’ คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
ลองบ๊วย 101: ค้นหาความหมายของการบ่ม
เริ่มต้นกันที่เวิร์กชอปในช่วงเช้า ที่เปิดโอกาสให้คนบ้านปูได้ทดลองดองบ๊วยด้วยตัวเอง โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกผลบ๊วยสดมาทำความสะอาด บรรจงเจาะรูที่ผล ก่อนจะใส่ลงไปในขวดโหลพร้อมกับน้ำตาลกรวดและไซรัป แต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความประณีตและใส่ใจอยู่ไม่น้อย เรียกว่าเป็นเวิร์กชอปที่ทำให้ได้เห็นอีกมุมของคนบ้านปู นอกเหนือไปจากการทำงานที่ตั้งใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว
กระบวนการดองบ๊วยทั้งหมดนี้มีความหมายสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของบ้านปู ที่มุ่งมั่นและตั้งใจบ่มเพาะศักยภาพของคนบ้านปูให้สามารถเรียนรู้รอบด้าน ไม่ว่าจุดเริ่มต้นมาจากจุดไหน บ้านปูก็มีพื้นที่ให้ได้แสดงความสามารถ เปิดโอกาสให้ได้ลองผิดลองถูก ภายใต้ดีเอ็นเอของ Banpu Heart โดยมีแนวคิด ‘Learn Fast, Do First’ การเปิดโอกาสให้ทุกคนทลายความกลัว สะท้อนถึงวิสัยทัศน์การดูแลคนของบ้านปู การเปิดโอกาสให้ทุกคนทลายความกลัว ด้วยการลองลงมือทำ เรียนรู้และเติบโตจากความผิดพลาด เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาตัวเองเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ให้ดีขึ้น เปรียบเหมือนการดองบ๊วยที่ต้องใช้เวลาบ่มเพื่อให้ได้
Innovative Bar: ค้นหารสชาติบ๊วยสู่ความ Best
หลังจากที่ได้ทดลองดองบ๊วย สัมผัสขั้นตอนกว่าจะเป็นรสชาติที่ีดีที่สุดกันไปแล้ว มาถึงช่วงบ่ายกับกิจกรรม Innovative Bar: Learn Buay to Best กับบาร์สุดสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้คนบ้านปูได้ลองดื่มเครื่องดื่ม Banpu Heart Mocktail ถึง 3 รสชาติ โดยมีมิกโซโลจิสต์มารังสรรค์ให้ดื่มกันแบบสดๆ ไม่ว่าจะเป็น Agile Sour รสชาติของการปรับตัวที่มีความโดดเด่น, Innovative Daiqurie รสชาติของการคิดค้นลงมือทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ และ Passionate Spritz รสชาติของความหลงใหลและรักในสิ่งที่ทำ
แต่ละแก้วที่มีรสชาติแตกต่างกัน ก็มีความหมายแตกต่างกันไป ใครที่เลือกรสชาติไหนก็สะท้อนถึงความเป็นคนบ้านปูได้อย่างชัดเจน
ได้สัมผัสกับกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ไปแล้ว ลองไปคุยถึงเบื้องหลังแคมเปญนี้กับ คุณวิธพล เจาะจิตต์ Head of Human Resources ของบ้านปู ถึงความตั้งใจในการบ่มเพาะความสำเร็จให้กับคนบ้านปู
ที่มาของแคมเปญ ‘กว่าจะ Best ต้องลอง Taste ความบ๊วย’ เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอนที่เราเริ่มคิดกัน เราอยากให้คนบ้านปูให้คุณค่ากับความมุมานะและความพยายาม ในปัจจุบันทุกคนอยากจะเป็น Best กันโดยเร็ว แล้วก้าวข้ามทุกอย่างไป แต่ความจริง ความสำเร็จเป็นแค่ผลที่ตามมาของความมานะบางอย่าง เราก็เลยคิดว่าคนที่จะเป็น Best ก็บ๊วยมาก่อนได้นะ ซึ่ง Point ที่เรามอง คือบ๊วยช่วยให้เราตระหนักว่ามีความสำเร็จมากกว่าที่เราจินตนาการ โลกนี้มันกว้างใหญ่ มีคนเก่งกว่าเราเยอะ ทำให้เรามุมานะ แล้วในเชิงรสชาติของบ๊วย ด้วยรสเปรี้ยว พอเรากินแล้วก็ช่วยเรียกสติ บางครั้งในชีวิตเราต้องไปเจอกับความยากลำบากและอะไรที่คาดไม่ถึง แต่ว่าสิ่งที่เราตอบสนองนั้น จะบ่งบอกว่าเราเป็นคนยังไง บ๊วยจะช่วยย้ำเตือนว่า การจะเป็นคนที่ดีกว่าได้ ต้องผ่านกระบวนการบ่มก่อน เรื่องนี้เป็นความหมายลึกซึ้งที่ทำให้เราจัดกิจกรรมครั้งนี้ขึ้นมา
การบ่มเพาะบ๊วยกับการบ่มเพาะพนักงาน มีความหมายเหมือนหรือต่างกันยังไง
ในบ้านปูมักจะเชื่อเสมอว่า คนที่ดีจะเป็นที่มาของงานที่ดี เพราะฉะนั้นเราคิดว่าถ้างานที่ดีออกมาจากคนไม่ดี เราก็ไม่อยากได้ เราเชื่อว่าคนที่ดีจะสร้างผลงานที่ดีเอง อย่างเรื่อง Training ของบ้านปู จะเห็นว่าอุดมไปด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมพี่สอนน้อง ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นกระบวนการหนึ่งของการบ่มเพาะคน และบางทีในการ Coaching เป็นการบ่มทั้งพี่บ่มทั้งน้อง การที่มีกิจกรรมวันนี้เราไม่อยากให้คนมองข้ามความสำคัญของวิธีการและกระบวนการ เพราะวิธีการดองบ๊วยอาจจะดูเหมือนง่ายๆ แต่ความจริงต้องเอาภาชนะไปนึ่งก่อน เมคชัวร์ว่าไม่มีเชื้อเจือปน การใส่น้ำตาลกรวดต้องเข้าใจรสชาติ ว่าบ๊วยเปรี้ยวใส่น้ำตาลกรวดได้แค่ไหน และเพื่อให้น้ำตาลกรวดซึมเข้าบ๊วยได้ คุณก็ต้องเจาะรูที่ผลบ๊วย ซึ่งการเจาะรูมากหรือน้อยก็ให้รสชาติที่ต่างกัน ทุกอย่างมีดีเทลของมันอยู่ เรื่องวิธีการ กระบวนการ สำคัญพอๆ กับผลลัพธ์ เราจึงไม่อยากให้พนักงานของเราสนใจแค่ผลลัพธ์อย่างเดียว
อะไรคือข้อดีของการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองผิดลองถูก หรือลองเป็นบ๊วยมาก่อน
มันดีมากเลยนะ ความผิดพลาดและการล้มเหลวมีอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือความผิดพลาดที่มีประโยชน์ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ามีประโยชน์ ก็คือเราได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง ส่วนความผิดพลาดที่ไม่มีประโยชน์ คือเจ๊งไปแล้วก็ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้นกระทั่งในผู้บริหารระดับสูงของบ้านปู บอร์ดไม่ได้ตั้งคำถามว่า คุณคิดแบบนี้ได้ยังไง เราไม่เคยได้ยินเลย แต่เขาจะบอกว่าแบบนี้อาจจะไม่เวิร์ก ได้เรียนรู้อะไรจากมัน เป็น Lesson learned ถ้าเราจะทำให้ดีขึ้น อะไรคือสิ่งที่เราต้องแก้ไข
แนวคิด Learn Fast, Do First เกิดขึ้นจากอะไร
มาจากความคิดที่ว่า ไม่มีวิชาการใดที่เพียบพร้อมสมบูรณ์ คือเราไม่มีทางเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง อีกมุมหนึ่งคือการที่มีความรู้เยอะๆ โดยไม่ลองทำจริงๆ ก็ไม่เกิดปัญญา เพราะปัญญาเกิดจากความรู้ที่ทดลองทำ เจ๊งบ้างดีบ้างก็เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นเนื้อหาสาระจริงๆ คืออยากให้คนของเรามี Wisdom ซึ่งจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่ลองทำ พอมี Banpu Heart เราก็เลยคิดและตกลงร่วมกับพนักงานทุกคนว่า เราต้องมี Learn Fast, Do First เป็นพฤติกรรมหนึ่งของการเป็นบ้านปู ถ้าคุณคิดมาดี ศึกษามาดีแล้ว สิ่งที่คุณต้องมีคือความกล้า ต้องมีอะไรมาทลายกำแพงความกลัว การทดลองของเราคือการทำงานจริง บางคนศึกษามาดีแล้ว คิดว่าไม่พลาดแน่ แต่พอเวลาลงมือทำจริงอาจจะล้มได้ ซึ่งพอล้มแล้วก็จะไม่มีการโทษกัน จากหลายภาพที่เล่ามา สุดท้ายก็จะตอบโจทย์ที่ว่า ที่บ้านปูเราให้เกียรติและเชื่อใจพนักงาน พอเชื่อใจแล้วพนักงานก็แฮปปี้
คาดหวังกับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันนี้อย่างไรบ้าง
อย่างแรกเลยที่อยากให้ทุกคนได้คือความสุข แต่ธรรมชาติหนึ่งของบ้านปูคือเราไม่ค่อยฮาร์ดเซลล์ เพราะฉะนั้นความสุขจะเป็นความสุขที่ลึกซึ้งหรือเปล่า ก็แล้วแต่คน กิจกรรมวันนี้ เราเปิดกว้างในการสร้างความสุขที่ทุกคนอยากมี การดื่มเครื่องดื่มบ๊วยครั้งนี้นอกจากได้เรียนรู้แล้ว พนักงานยังได้มีความสุขไปกับกิจกรรมครั้งนี้ หรือบางคนมาเวิร์กชอปดองบ๊วย ก็เริ่มสนใจมากขึ้น ถ้าเราไปจัดกิจกรรมแล้วเชื่อมโยงกับ Purpose ของพนักงานได้ก็ยิ่งทำให้เขา Engage กับกิจกรรมได้ ปัจจุบันบ้านปูมีพนักงาน 6,000 คน 20 เชื้อชาติ ไม่มีกิจกรรมสูตรสำเร็จที่ทุกคนจะชอบได้ เรามีหน้าที่เปิดโอกาสให้พนักงาน ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนอยากจะมาสัมผัสความสุขแบบไหน
ได้เห็นมองมุมของผู้บริหารไปแล้ว ลองไปฟังผลลัพธ์จากสิ่งที่ตั้งใจ ผ่านความรู้สึกของคนบ้านปูกัน
“สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลย ตลอดเวลาที่ทำงานบ้านปู ทุกคนมีความเป็นมืออาชีพ มี Passion ในทุกงานที่ตัวเองรัก เพราะฉะนั้นพอผลลัพธ์ออกมาจึงเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ คือคิดแล้วต้องทำ ถ้าคนเราอยู่นิ่งๆ ก็จะไม่รู้จักความล้มเหลว เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าทุกคนผ่านความล้มเหลวมา ไม่ว่าจะด้วยครอบครัวหรือชีวิตการทำงาน คำว่าบ๊วย เราจึงเคยสัมผัสคำนี้กันหมด เราอาจรู้สึกว่าเป็นความไม่สำเร็จ แต่เมื่อทุกครั้งเราใช้ความบ๊วยเป็นตัวผลักให้เราเรียนรู้ มันจะไม่มีคำว่าเฟลในพจนานุกรม เลยรู้สึกชอบนิยามของคำนี้มาก”
ตู่ – นงจรสภรณ์ กิตติบัณฑูร
Section Manager – People Capability Development, Department Banpu Academ, Banpu
“ผมก็เคยเป็นคนบ๊วยคนหนึ่งมาก่อนเหมือนกัน ก่อนจะมาอยู่บ้านปู เน็กซ์ ผมเคยเปลี่ยนสายงานมาแบบคนละขั้ว จากเดิมที่ทำงานด้านการตลาด วางแผน นำเสนองานให้ลูกค้า จนผู้ใหญ่เขาเห็นศักยภาพจึงลองให้ผมไปช่วยอีกทีมดู ซึ่งผมไม่มีความชำนาญในด้านนั้น เคยโดยว่าอย่างหนัก จนทำให้ได้มาคิดทบทวน ลองและลงมือทำเรื่อยๆ ท้ายสุดเมื่อเวลาผ่านไป ผมได้เปลี่ยนข้อผิดพลาดทั้งหมด มาเป็นคำชมว่าเราเหมาะสมกับงานนี้และไม่มีใครทำได้ดีเท่าเรา ผมก็เลยมองว่าถ้าเราจะตั้งใจทำอะไรจะทำทั้งที ทำไมไม่ทำให้ดีที่สุดไปเลย ก็เลยมุ่งมั่นจะทำให้สิ่งที่เราไม่ถนัด ฝึกฝนตลอดมา จนทุกวันนี้กลายเป็น Best ในด้านนี้ไปแล้ว การดองบ๊วย จริงๆ ก็สามารถเปรียบเทียบกับงานหรือการประสบความสำเร็จได้ เราไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ภายในวันสองวัน เพราะกว่าจะได้กินน้ำบ๊วยที่รสชาติดี ต้องใช้เวลาหมักบ่ม 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งก็เหมือนกับงานของเรา ไม่ได้แปลว่าเราจะสามารถประสบความสำเร็จได้เลย ณ ตอนนี้”
อ๊อก – ธนรัตน์ หัตถากรวิริยะ
Supervisor – License Management, Department Customer Experience, Banpu NEXT
“ส่วนตัวไม่ได้รู้สึกว่าการเป็นที่โหล่มันแย่ ไม่ได้มีใครเก่งมาตั้งแต่แรก การที่เราผ่านความบ๊วยมาก่อน ไม่ต้องมองว่ามันคือเรื่องแปลกหรือเรื่องเฟล แต่มันคือรสชาติหนึ่งของชีวิต เราคิดว่าที่บ้านปูให้โอกาส ถึงจะไม่รู้ว่าในการทำงานแต่ละครั้งจะมีโอกาสสำเร็จมากน้อยแค่ไหน อย่างน้อยเราก็ได้ลอง ชีวิตจริงเราอาจจะไม่ได้เป็น Best ทุกครั้งก็ได้ เราอาจจะเป็นที่สองที่สาม แต่การที่เราได้ลองลงมือทำ อย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์ ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่ในตำราไม่มีให้ หัวหน้าของเราและพี่ๆ ที่บ้านปูเขาเปิดใจรับฟัง ทำให้เราสบายใจที่และกล้าตัดสินใจในงานที่เรารับผิดชอบ การที่เราพูดหรือแสดงความคิดเห็นอะไรออกไป พี่ๆ เขาจะรับฟังทุกเรื่อง ให้เราได้ลองคิดทบทวนกับสิ่งที่เสนอออกไป เขาเปิดโอกาสให้เราลองหาทางออกในแบบของตัวเอง ได้ลองผิดลองถูก ผิดบ้าง พลาดบ้าง สำเร็จบ้าง ทำให้เราได้รับประการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ และทำให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้นในวันข้างหน้าค่ะ”
ลูกนัท – พิชิตา ภุมมาลา
Supervisor – Accounting, Finance and Accounting, Banpu NEXT
ทั้งหมดนี้คือความตั้งใจของบ้านปูที่ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคน ผ่านทั้งกิจกรรมและโปรแกรมต่างๆ ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี เต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็น Banpu Heart ทั้ง Passionate, Innovative และ Committed โดยมีหนึ่งดีเอ็นเอสำคัญ นั่นก็คือ Learn Fast, Do first ที่กล้าให้พนักงานลองผิดลองถูก ได้ก้าวออกมาจากกรอบเดิมๆ
บ่มเพาะคนที่เก่งอยู่แล้วให้เก่งขึ้นไปอีก เพื่อไปสู่ความสำเร็จในแบบของตัวเอง