ความสัมพันธ์สมัยนี้ซับซ้อนเนอะ เพราะไม่ใช่แค่จีบ พูดคุย แล้วได้คบกันเลย แต่เป็นความสัมพันธ์แบบเรื่อยๆ คุยหยอดกันไปมาโดยไม่มีสถานะ ดูเหมือนจะเป็นแฟน แต่ก็ไม่ใช่ ว่างก็ตอบ ไม่ว่างก็ไม่ตอบ รู้ตัวอีกที เขาก็ขึ้นสถานะคบกับอีกคนในเฟซบุ๊กเลย อะไรแบบนั้น
ทุกวันนี้ความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ไม่แน่ไม่นอน มีเหตุการณ์แทรกซ้อนเข้ามาเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบคลุมเครือ ที่ไม่รู้ว่าคนสองคนจะได้พัฒนาต่อเป็นแฟนไหม แต่ที่แน่ๆ มักจะมีคนใดคนหนึ่งจู่ๆ ก็หายไป และอีกคนก็นั่งจ้องแชทรอคำตอบ จนหน้าจอจะแตกร้าวแล้ว
‘คนคุย’ ความสัมพันธ์ยุคใหม่ที่ไร้การผูกมัด
ถ้าถามคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์คงเกาหัวแกร่กๆ อะไรคือคนคุย? ทุกวันนี้เราก็คุยกันอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ? แต่ถ้าหันมาถามคนรุ่นมิลเลนเนียลหรือเจเนอเรชัน Z ก็คงร้องอ๋อ แต่ก็อธิบายไม่ได้อยู่ดีว่าคนคุยคืออะไรกันแน่
ตั้งแต่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคม ก็ทำให้เกิดสถานะที่เรียกว่า ‘คนคุย’ ขึ้น เป็นความสัมพันธ์ของคนสองคนที่พูดคุย ตอบแชท บอกคิดถึงกันทุกวัน บอกฝันดีกันทุกคืน ทำทุกอย่างเหมือนเป็นแฟน แต่ยังไม่ใช่แฟน (หรืออาจจะเป็นในอนาคตข้างหน้าก็ว่ากันไป) ส่วนเวลาใครถามว่าตอนนี้เป็นอะไรกัน ก็จะตอบไปแบบกั๊กๆ ว่า “อ๋อ คนคุยน่ะ”
ซึ่งเหตุผลที่ความสัมพันธ์แบบคนคุยเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ก็เพราะผู้คนสมัยนี้รักอิสระและไม่ชอบการผูกมัด ทำให้ความสัมพันธ์แบบคนคุยตอบโจทย์ในเรื่องนี้ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องคบกันก็ได้ แต่สามารถพูดคุย หยอกเย้ากันเหมือนแฟน พอให้หัวใจกระชุ่มกระชวย มีเรื่องให้เขินในทุกๆ วัน
ควรพอหรือรอต่อไป ในความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน?
แม้ความสัมพันธ์แบบคนคุยจะหวือหวา ชวนให้ใจสั่นตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความสัมพันธ์ที่คาดเดาไม่ได้ว่าเขาจะหายไปเมื่อไหร่ ด้วยความที่เราสองคนไม่มีข้อผูกมัดต่อกันตั้งแต่แรก ก็ไม่แปลกที่คนใดคนหนึ่งจะตัดสินใจจากไปเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ถูกมองว่าเป็นเรื่องผิด
หลายคนพบเจอกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า ‘ghosting’ หรือคุยกันอยู่ดีๆ ก็หาย ไลน์ไม่ตอบ ราวกับผีที่มองไม่เห็น ชวนให้งุนงงว่าที่ผ่านมาระหว่างเราคืออะไรกันแน่ แต่ครั้นจะทักไปถามก็ดูงี่เง่า เพราะสถานะของเราที่มีก็แค่คนคุยเท่านั้น สิ่งเดียวที่ทำได้คือการนั่งๆ นอนๆ เฝ้ามองหน้าจอมือถือ เฝ้าคิดว่าเมื่อไหร่น้า…เขาจะตอบกลับมา
เมื่อมีอีกคนหายไป ก็เป็นปกติที่จะมีอีกคนที่ ‘รอ’ แล้วก็นำไปสู่คำถามที่ว่า เราควรพอหรือรอต่อไปดี? เพราะดูท่าทีไม่มีแววว่าเขาจะตอบกลับมา แต่ลึกๆ ในใจก็ยังอยากที่จะรอ เพราะคิดๆ ดูแล้ว เขาอาจจะมีเหตุผลส่วนตัวก็ได้ เช่น ติดสอบ ทำงานหนัก มือถือตกน้ำ โดนโจรวิ่งราว ถูกลักพาตัว หรือเขวี้ยงมือถือออกนอกโลกเลยไม่มีสัญญาณ โอ๊ย ไม่รู้ล่ะ เรื่องนี้ต่อให้ปรึกษาเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักเป็นร้อยเป็นพัน สุดท้ายก็ไม่มีใครรู้คำตอบดีเท่าคนที่หายไปหรอก
รอนานๆ ก็อาจจะบั่นทอน…สายตา
รอเธอตอบไม่ใช่แค่หัวใจเท่านั้นที่บอบช้ำ แต่ยังส่งผลกระทบให้สายตาค่อยๆ พร่ามัวลงไปด้วย อย่าลืมว่าทุกวันนี้ เราไม่ได้จีบกันผ่านกระดาษจดหมายเหมือนสมัยก่อนแล้วนะ เพราะโซเชียลมีเดียได้เข้ามาเอื้ออำนวยความสะดวกในการสร้างความสัมพันธ์ให้กับเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันหาคู่ แชท หรือวิดีโอคอล เพราะฉะนั้น การที่คนคุยหายไป ก็จะต้องมีใครสักคนที่เฝ้ารออยู่ ‘หน้าจอมือถือ’ และจ้องมันอยู่อย่างงั้นราวกับจะสะกดจิตให้เขาตอบกลับมาได้
แต่นอกจากเขาจะไม่ตอบกลับมา เรายังจะมีอาการตาล้า ปวดกระบอกตา และสายตาสั้นเทียมแทนอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเราใช้งานสายตาหนักๆ เช่น เพ่งเล็งสิ่งที่ละเอียดใกล้ๆ เป็นเวลานาน หรือจ้องหน้าจอมือถือตลอดเวลา ซึ่งถ้าละเลยหรือปล่อยไว้ก็อาจนำไปสู่โรคต้อกระจก ต้อหิน และจอประสาทตาเสื่อมได้ด้วย
ดังนั้น ถ้าคิดจะรอเขาต่อไป ก็อย่าลืมดูแลสายตาของตัวเอง โดยหมั่นพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ ตามสูตรที่เรียกว่า ‘20-20-20’ หรือทุกๆ 20 นาที ให้ละสายตาจากสิ่งที่เพ่งอยู่ระยะ 20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที หรือบริหารกล้ามเนื้อตา ด้วยวิธีกรอกตาซ้ายขวาสลับกับบนล่าง โดยทำต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5-10 นาที
แต่อะไรก็ไม่เท่าการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างการสวมใส่แว่นตา โดยเฉพาะแว่นที่มีเลนส์เหมาะสมกับเรา จะเปรียบเสมือนเกราะป้องกันชั้นดีเพื่อไม่ให้เกิดอาการตาล้าได้ แต่บางคนอาจจะคิดว่าคนที่สวมแว่นคือคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วคนทั่วไปก็สามารถสวมแว่นเพื่อเป็นการถนอมสายตาได้เช่นกัน
ซึ่งถ้าพูดถึงเลนส์ที่มีความเหมาะสม ‘เลนส์ Zeen’ จากหอแว่น ก็ได้ถูกออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตาล้าได้เป็นอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้งานที่มีปัญหาสายตาและมีสายตาปกติ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายสบายตา แม้ผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก เช่น ทำงาน อ่านหนังสือ หรือรอแชทคนคุยทั้งวัน เป็นต้น (โห น้ำตาคลอเบ้าแล้ว)
ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะที่ช่วยคำนวณตำแหน่งการมองตามลักษณะการสวมใส่ เพื่อให้ได้เลนส์ตามลักษณะของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ พร้อมกำหนดค่า inset (ค่าการเบนของตาในการเหลือบมองระยะใกล้) ได้ในระดับ 0.1 มม. ช่วยลดภาระในการมองระยะใกล้ เหมาะกับทุกกรอบแว่น และยังมีค่ากำลังสายตาลดการเพ่งให้เลือกถึง 3 โปรไฟล์ด้วยกัน ได้แก่ 0.40 0.60 และ 0.80 โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากหอแว่นเป็นผู้แนะนำค่าที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา
นอกจากนี้ สารที่ใช้เคลือบเลนส์ยังช่วยทะนุถนอมสายตาเรา ไม่เหมือนเขาที่ใจร้ายไม่ยอมตอบแชท และเพื่อการป้องกันปัญหาสายตาได้อย่างสมบูรณ์แบบ เรายังสามารถเลือกใช้วัสดุพิเศษอย่าง Bluloc เสริมเข้าไปในเลนส์ได้อีก เพียงเท่านี้ ก็จะสามารถปกป้องเราจากอาการตาล้าและแสงสีฟ้าได้มากถึง 95% ไปพร้อมๆ กัน แม้จะรอแชทเขาทั้งวันก็ไม่ต้องกังวล (แต่ก็พักไปทำอย่างอื่นบ้างก็ดีนะ)
เพราะความสัมพันธ์ที่พร่ามัว ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากล้ามเนื้อตาที่ล้า ยังไงคนคุยก็หาใหม่ได้เสมอ แต่ดวงตาของเรามีอยู่แค่คู่เดียวบนโลกนะ อาจจะฟังดูใจร้ายไปหน่อย แต่บางครั้งการไม่ตอบก็อาจจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนเราเองก็อย่าปล่อยให้สายตาพร่ามั่วตามไปด้วย เพราะถึงยังไง ถ้าสายตาเราดีซะเปล่า สักวันเราอาจจะมองเห็นคนที่พร้อมจะรักและชัดเจนกับเราจริงๆ ก็ได้
สนใจข้อมูลเลนส์ Zeen เพิ่มเติม คลิก www.zenith.in.th/th/zeen
ค้นหาสาขาใกล้คุณ คลิก https://btv.co.th/th/branch/