เจ็บมาเท่าไหร่กับการเดินทางในกรุงเทพฯ ผิดหวังมากี่ครั้งกับการรอระบบขนส่งที่ไม่มาตรงเวลา นี่ๆ ขนาดจะหนีไปเดินทางเท้ายังต้องเจอกับบล็อกระเบิดเสี่ยงทาย แล้วฉันจะต้องเดินทางยังไงในสถานที่แห่งนี้กันนะ?
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ‘เมือง’ ก็เหมือนกับ ‘คน’ คือมีร่างกายและมีการเคลื่อนไหว ซึ่งการเคลื่อนไหวของเมืองก็หมายถึงการเคลื่อนที่ของผู้คนนั่นแหละ ในสายวิชาการผังเมืองจึงคำว่า “Urban Mobility” หรือแปลง่ายๆ ว่า “การเคลื่อนที่ของเมือง” ซึ่งเป็นหนึ่งในตัววัดความศิวิไลซ์ของบ้านเมืองนั้นๆ
แต่ก็รู้กันอยู่ว่า การเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งของกรุงเทพฯ นั้น ช่างยากเย็น ลำบาก ไม่สะดวก สะเปะสะปะ และขาดความคล่องตัวเสียเหลือเกิน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เฉพาะกรุงเทพฯ ที่ประสบหรอก แต่เป็นปัญหาที่หลายเมืองใหญ่ในโลกต้องเผชิญ มันจึงเป็นความท้าทายอันดับต้นๆ ที่ต้องแก้ไข เพื่อเปลี่ยนเมืองธรรมดาให้ตอบรับการเดินทางของคนทุกคน ทุกคนที่ว่านี้รวมถึงคนพิการ คนสูงอายุ ที่หลายครั้งต้องเจอปัญหาเรื่องการเดินทางคนเดียวอยู่เสมอ
Connectivity is the first access.
เมื่อพูดถึงปัญหาของคนเมือง หลายคนจะนึกถึงปัญหาเรื่องการเดินทางเป็นอย่างแรกเสมอ ความที่เราอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงแห่งการรถติดที่มีตัวเลขสถิติมากมายมายืนยัน สภาพจราจรอันเลวร้ายจึงมักเป็นภาพแรกๆ ที่แว็บเข้ามาในหัวตลอด เป็นปัญหาเรื้อรังของคนกรุงเทพฯ ที่เราคุ้นชินจนกลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งๆ ที่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติเอาเสียเลย
แนวทางหนึ่งในการเพิ่มการเคลื่อนที่ของเมือง คือการสร้าง Connectivity ขึ้นมา หมายถึงการเชื่อมโยงระบบขนส่งเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบรถ ระบบราง และระบบเรือ เพื่อกระจายความหนาแน่นในการเคลื่อนที่ต่างๆ ไม่ให้กระจุกตัวแค่ในที่ใดที่หนึ่งเพียงอย่างเดียว
ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเราเดินทางจาก เพชรเกษม 69 มาสะพานตากสิน ถ้าใช้รถยนต์ส่วนบุคคลจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง เสียค่าน้ำมันมูลค่ากว่า 100 บาท แต่ถ้าเปลี่ยนมาเดินทางทางน้ำ นั่งเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ > ต่อด้วยรถไฟฟ้า BTS สถานีบางหว้า > มาลงสถานีสะพานตากสิน จะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง และลดค่าใช้จ่ายลงกว่าหนึ่งในสามทีเดียว
การสร้าง Connectivity จึงไม่ได้หมายถึงแค่สร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าให้เสร็จตามนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่คือการสร้างความต่อเนื่องในการเดินทาง นั่งรถต่อเรือ นั่งเรือต่อราง เปลี่ยนเป็นรถต่อราง แล้วกลับมาเรือก็ยังได้ ซึ่งหากเราทำได้สำเร็จ กรุงเทพฯ ก็จะมีประสิทธิภาพในการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิตทั่วไปให้ดีขึ้น
แนวคิด Inclusive Cities เปลี่ยนเมืองให้ทั่วถึงทุกคน
ความที่เมืองเป็นพื้นที่ส่วนกลางของสังคม ไปไหนมาไหนเราก็จะเห็นการปะทะสังสรรค์ของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทั้งเพศ วัย เชื้อชาติ ภาษา ชนชั้น สถานภาพ ตลอดจนวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติ ขณะเดียวกันในความหลากหลายเหล่านั้น ก็แฝงไปด้วยความต้องการที่ต่างกันเช่นกัน นำมาซึ่งความท้าทายในการพัฒนาเมืองให้เป็น Inclusive Cities หรือที่แปลง่ายๆ ว่าเป็น ‘เมืองทั่วถึง’ ของทุกคน
สาระสำคัญของแนวคิด Inclusive Cities คือการพัฒนาเมืองด้วยใจที่เปิดกว้าง มองเห็นความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลายในเมืองโดยไม่ละทิ้งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้เบื้องหลัง เป็นการสร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการสาธารณะได้อย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค พื้นที่สาธารณะ และระบบขนส่งมวลชน
ฉะนั้นการจัดสาธารณูปโภคของรัฐ จึงต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนทุกกลุ่ม เป็นการสร้างความเท่าเทียมกันต่อประชาชนทุกๆ คน แต่ในความเป็นจริงกายภาพของเมืองกลับมิได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายนัก เห็นได้จากทางเดินเข้าอาคารที่มีแต่บันไดไร้ทางลาด, ลิฟท์รถไฟฟ้าที่มีไม่ทั่วถึง หรือมีก็ดันไปตั้งตรงเกาะกลางถนน, เบรลล์บล็อค (Braille Block) หรือกระเบื้องปูทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้งานไม่ได้จริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สะพานลอย ซึ่งเป็นดั่งอนุสาวรีย์ความใจร้ายตลอดกาลที่ไม่เคยมีใครสังเกต เพราะมันสะท้อนให้เห็นโครงสร้างที่ไม่คำนึงถึงความหลากหลายทางกายภาพของผู้คน โดยเฉพาะผู้พิการ ผู้สูงอายุ ทั้งยังเป็นการเพิ่มต้นทุนทางเวลา และสร้างความภาระความเหนื่อยให้แก่ผู้สัญจรอีกด้วย ทำเอาพวกเราต้องเพลียใจทุกครั้งเวลาออกเดินทาง
แนวคิด Inclusive Cities จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ภาครัฐจะออกแบบกายภาพให้เหมาะสมกับคนทุกกลุ่มได้อย่างไร เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกัน และความเข้าใจในความแตกต่างนั้นๆ
การเดินทางสำหรับคนทุกคน
เพราะ Uber มีความเชื่อว่า “การเดินทางเป็นของทุกคน” มองเห็นถึงความต้องการในการเดินทางของผู้พิการ และผู้สูงอายุ จึงมีการแตกไลน์ uberASSIST ขึ้นมา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้คนเหล่านี้ได้ใช้ชีวิตสะดวกขึ้น และยกระดับการขนส่งในกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ดีกว่าเดิม
จริงอยู่ที่ทุกคนจะสามารถเดินทางได้อย่างราบรื่นทุกวัน แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องการบริการที่เป็นมิตร ปลอดภัย และสะดวกมากกว่าปกติ แถมบริการสาธารณะก็อาจจะยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันได้ uberASSIST จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนการเดินทางที่มักติดขัดเหล่านั้น ให้ง่ายขึ้นจากแค่ปลายนิ้วผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
นับเป็นบริการทางเลือกใหม่สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่ต้องการความสะดวกในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ผ่านพาร์ทเนอร์ร่วมขับมีคะแนนดาวสูง และมีประสบการณ์การขับกับ Uber มาแล้วมากกว่า 100 เที่ยว นอกจากนี้พวกเขายังต้องผ่านเทสจากภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (Transportation For All – T4A) เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงมารยาทและการวางตัวต่อผู้พิการ ผู้สูงอายุ จึงจะสามารถเข้าร่วมขับกับ uberASSIST ได้ รวมถึงมีขนาดรถที่เหมาะสมที่สามารถขนย้ายรถเข็นแบบพับได้อีกด้วย ส่วนการใช้งานนั้น เพียงกดเรียกบริการ uberASSIST ผ่านแอพ Uber ระบบจะเลือกรถ uberASSIST ที่ใกล้ที่สุดมารับ ส่วนอัตราค่าโดยสารนั้น ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ ทั้งสิ้น! คิดอัตราเดียวกับบริการ uberX และ uberFLASH
เพราะถึงแม้พวกเขาจะมีร่างกายที่แตกต่างจากพวกเรา แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือความต้องการความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง uberASSIST จึงพร้อมยกระดับการขนส่งในกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ดีกว่าเดิม ตามความเชื่อที่ว่า “การเดินทางเป็นของทุกคน”
ข้อมูลจาก