ลองมองปฏิทินจีนบนผนัง อีกไม่กี่วัน ‘ตรุษจีน’ ก็จะวนมาบรรจบอีกครั้ง ลูกหลานชาวจีนคงเตรียมที่จะกลับไปรวมตัวกับญาติพี่น้องเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ให้ชีวิตการงานรุ่งโรจน์เป็นมงคลตลอดปี หรือไม่ก็ออกเที่ยวพักผ่อนเพื่อชาร์ตพลังให้พร้อมสำหรับปีใหม่กันแล้ว
แต่เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า ทำไมตรุษจีนหรือวันเฉลิมฉลองปีใหม่ของคนจีนนั้น ถึงไม่เคยซ้ำวันกันเลยในแต่ละปี ไม่เห็นเหมือนปีใหม่แบบสากลเลย
หากเป็นสมัยก่อนก็คงชวนทุกท่านพินิจตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์บนปฏิทินจีนสีแดงเพื่ออธิบายให้เห็นถึงการนับวันเวลาแบบจีนอันซับซ้อน ทว่าปัจจุบันทำได้ง่ายกว่านั้นเพียงยกข้อมือ เพราะแบรนด์ Blancpain (บลองแปง) นาฬิกาสัญชาติสวิสฯ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกนั้นผลิตนาฬิกาข้อมือซึ่งสามารถบอกวันเวลาแบบจีนโบราณ พร้อมแสดงเวลาระบบสากลบนหน้าปัดเดียวกันได้แล้วเป็นแบรนด์แรกและแบรนด์เดียวของโลก
สายน้ำไม่คอยท่า วันเวลาไม่คอยใคร เชิญทุกท่านอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจวิธีคำนวณวันเวลาแบบจีนโบราณ พร้อมกับทำความรู้จักนาฬิการุ่น Traditional Chinese Calendar ได้เลย
ตามตำนานกล่าวขานกันว่า ในสมัยราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ลำดับแรกในยุคประวัติศาสตร์จีน มีการคิดค้นปฏิทินจันทรคติขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร เรียกว่า ‘ปฏิทินหนงลี่’ หรือปฏิทินการเกษตร ด้วยความเชื่อว่ามนุษย์มีความเชื่อมโยงกับสวรรค์ผ่านทางสภาพดินฟ้าอากาศ จึงคิดค้นปฏิทินนี้ขึ้นเพื่อถอดสารที่สวรรค์ได้แจ้งมา โดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 4 ฤดูกาลในช่วงแรกเริ่ม
แต่ต่อมาภายหลังก็พบว่าข้อมูลที่ได้นั้น ยังละเอียดไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และทำปศุสัตว์ พวกเขาต้องการรู้มากกว่านั้น จึงสังเกตและจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในบริเวณแม่น้ำเหลือง อันเป็นศูนย์กลางการปกครองของจีน ทำให้ราวแปดร้อยปีต่อมา ระบบ 4 ฤดูกาล 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศก็เกิดขึ้น ก่อนที่บลองแปงจะพัฒนานาฬิการุ่
เมื่อใช้วิธีนับวันคืนแบบจันทรคติ พระจันทร์จึงเป็นองค์ประกอบหลักในการแบ่งเดือน เริ่มต้นเดือนเมื่อพระจันทร์เสี้ยวปรากฏ และคืนก่อนหน้าพระจันทร์เสี้ยวจะปรากฏตัวใหม่อีกครั้งคือวันสุดท้ายของเดือน
หนึ่งเดือนในแบบจันทรคติจึงมีราวๆ 29 วันครึ่ง และหนึ่งปีมีเพียง 354-355 วัน คลาดจากเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองประมาณ 11 วัน เป็นที่มาของ ‘เดือนอธิกมาส’ หรือเดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ โดยจะเพิ่มเข้าไป 1 เดือนในทุกๆ 2-3 ปี รวมแล้วจะเพิ่ม 7 เดือนในรอบ 19 ปี ด้วยเหตุนี้วันตรุษจีนในแต่ละปีจึงไม่ตรงกัน
แม้ยากที่จะจำได้ว่าเดือนไหนคือเดือนอธิกมาส แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะบลองแปงออกแบบให้บนหน้าปัดนาฬิการุ่น Traditional Chinese Calendar สามารถแสดงวันเดือนปีเป็นอักษรจีนพร้อมเครื่องหมายระบุเดือนอธิกมาสตามหลักปฏิทินจีนโบราณ และอยู่ ณ ตำแหน่ง 9 นาฬิกา
หากใครเคยดูหนังจีนก็คงจะเคยได้ยินคำว่า ‘ชั่วยาม’ กันมาบ้าง มันเป็นหน่วยวัดเวลาที่เกิดจาก ‘นาฬิกาแดด’ ในสมัยนั้นซึ่งแบ่งออกเป็น 12 ช่อง ทำให้ 1 ชั่วยาม เท่ากับ 2 ชั่วโมง
นอกจากนาฬิกาแดดแล้ว จีนยังมีระบบการนับเวลาแบบนาฬิกาน้ำ หรือ ‘โล่วหู’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายถังน้ำที่ปล่อยให้น้ำหยดลงมาใส่ภาชนะรองรับเรื่อยๆ โดยที่ภาชนะจะมีเส้นขีดไว้ทั้งหมด 100 ขีด ซึ่งเท่ากับ 1 วันนั่นเอง (1 ขีด = 15 นาที) อีกหนึ่งวิธียอดฮิตในหนังจีนก็คือการนับเวลาแบบหนึ่งก้านธูป อันที่จริงมันก็ไม่แม่นยำนัก เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และความสั้นยาวของธูปด้วย แต่ถ้าว่าตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ 1 ก้านธูปจะเท่ากับ 1 ชั่วโมง
จากวิธีแบ่งชั่วยามและชื่อเรียกที่ซับซ้อนเหล่านั้น บลองแปงได้นำความซับซ้อนมาไว้บนหน้าปัดนาฬิกา ณ ตำแหน่งเวลา 12 นาฬิกา แสดงระบบชั่วยาม และสัญลักษณ์ปีนักษัตรซึ่งผสานการนับ 12 ชั่วยามเข้ากับระบบ 24 ชั่วโมงผ่านตัวอักษรที่มีการกำกับเอาไว้ให้อ่านได้ง่าย
ยังจำ 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เล่าไปตอนแรกได้ไหม
ก็อย่างที่เห็น ระบบวันและเวลาของจีนนั้นผูกพันกับดวงจันทร์เป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากเราจะแบ่งเดือนจากรูปร่างของดวงจันทร์แล้ว มันยังสัมพันธ์กับ 24 ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือจะเรียกว่า 24 ฤดูกาลก็คงไม่ผิดนัก เพราะในปฏิทินการเกษตรนั้นสามารถบอกความเปลี่ยนแปลงทางอากาศได้อย่างละเอียด ทำให้ชาวเกษตรกรและชาวจีนทั่วไปในยุคนั้นยึดถือระบบนี้ในการดำรงชีวิต และวางแผนการเพาะปลูก
แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากแผ่นดินจีนมีความกว้างใหญ่ไพศาล สภาพอากาศจึงแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่สำหรับนาฬิการุ่น Traditional Chinese Calendar ที่มีระบบป้องกันการตั้งค่าเวลาผิดพลาด เราจึงมั่นใจได้ว่าวันเวลาที่แสดงบนหน้าปัดจะแม่นยำสม่ำเสมอเหมือนวันแรกที่ใส่
รู้หรือเปล่าว่าทำไมนักษัตรถึงมีแค่ 12 ปี คำตอบนั้นต้องย้อนกลับไปที่หน่วยเวลาที่ใหญ่ที่สุดของจีนคือ มหายุค (epoch) ซึ่งมีระยะเวลายาวนาน 3,600 ปี แบ่งเป็น 60 วงรอบ (cycle) วงรอบละ 60 ปี ในแต่ละวงรอบ 60 ปี จะแบ่งเป็น 5 รอบ (Great Years) รอบละ 12 ปี จึงมีการกำหนดชื่อนักษัตรลงไปประจำในแต่ละปี โดยในบางตำราก็บอกว่าเป็นไปเพื่อความสะดวกในการจดจำ บ้างก็ว่าเป็นการเลือกสัตว์จากการกำเนิดและข่มกันตามกฎเบญจธาตุ (ไฟ ดิน ทอง น้ำ ไม้)
เมื่อปฏิทินจีนไม่ได้บอกแค่วันเดือนปี บลองแปงจึงนำการนับปีนักษัตร ธาตุทั้ง 5 และวงสัญลักษณ์อนุกรมทั้งสิบ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าแต่ละปีนักษัตรนั้นตรงกับธาตุใด ตามกิ่งฟ้า 10 ราศี (terrestrial branches) และระบบวัฏจักร 60 ปี ที่เปรียบเสมือนแก่นของวัฒนธรรมจีน มาแสดงไว้บนหน้าปัดอย่างครบถ้วน
หยิน-หยาง และธาตุทั้ง 5 เกี่ยวข้องกับระบบวันเวลาของจีนมากๆ โดยในแผนภูมิจักรราศีจะแบ่งปีนักษัตรทั้ง 12 เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นปีหยิน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นปีหยาง โดยในทุกปีนักษัตรจะมีธาตุใดธาตุหนึ่งเป็นองค์ประกอบร่วมในปีนั้นด้วย เช่น ปีชวดธาตุน้ำ เมื่อครบรอบ 12 ปีกลับมาที่ปีชวดอีกครั้ง ก็จะเปลี่ยนเป็นปีชวดดิน หรือธาตุอื่นๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
เมื่อเราอายุครบ 60 ปี หรือที่คนจีนเรียกว่าแซยิด จึงมักมีการจัดเฉลิมฉลอง เพราะเราได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกปีนักษัตรครบทุกธาตุแล้วนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าบนหน้าปัดนาฬิการุ่นปฏิทินจีนโบราณก็สามารถบอกธาตุในปีนั้น ๆ ด้วยแผนภูมิสวรรค์อักษรทั้งสิบ ภายใต้ธาตุทั้งห้า ราวกับนำปฏิทินจีน 60 ปีบนฝาผนังมาไว้บนข้อมือ
หลังจากเรียนรู้ระบบการนับวันเดือนปีและเวลาของจีนที่แสนซับซ้อนแล้ว เราก็คงจะเข้าได้ว่าทำไมปฏิทินจีนสีแดงบนผนังของเรานั้นต้องมีตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์เต็มไปหมด รวมถึงคงเข้าใจมากขึ้นด้วยว่าทำไม ‘ตรุษจีน’ จึงไม่เคยซ้ำวันเดิมเลย
แต่ก็ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้จะผูกโยงเข้ากับโหราศาสตร์เพียงอย่างเดียว หากมันยังนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้เช่นเดียวกับที่เกษตรกรชาวจีนสมัยก่อนใช้ 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในการจัดการเพราะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าพวกเราจะใช้ชีวิตในเมือง ไม่ได้ทำการเกษตรก็ตาม แต่การรู้เวลาและมีข้อมูลอยู่ในมือก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราเตรียมตัวรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ไม่พลาดที่จะพกร่ม หรือใส่เสื้อแขนยาว ให้เหมาะสมกับอากาศในแต่ละวัน
ยิ่งมีทั้งเวลาและข้อมูลรวมอยู่บนหน้าปัดนาฬิกาข้อมือด้วยแล้ว ชีวิตของเราก็จะสะดวกขึ้นไม่น้อย
เรารู้ดีว่ามันคงไม่สะดวกนักถ้าเราจะพกปฏิทินจีนไปด้วยทุกที่ เห็นจะมีแต่นาฬิกาข้อมือเท่านั้นที่จะตอบโจทย์ เราจึงขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘Blancpain นาฬิกาสัญชาติสวิสฯ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รุ่น Traditional Chinese Calendar’ บลองแปงนาฬิกาข้อมือรุ่นพิเศษ รุ่นแรกและรุ่นเดียวในโลกที่ขับเคลื่อนตามระบบปฏิทินจีนโบราณไปพร้อมๆ กับระบบสากล โดยเดอะ แมนูแฟคเจอร์ (The Manufacture) สำนักประดิษฐ์นวัตกรรมเรือนเวลาของบลองแปงคิดค้นและใช้เวลาในการรังสรรค์เรือนเวลาด้วยศิลปะขั้นสูง (haute horlogerie) กว่า 5 ปี
นาฬิกาบลองแปงรุ่นปฏิทินจีนโบราณนั้นสามารถแสดงระบบวันเวลาของจีนและสากลได้ครบถ้วนบนหน้าปัดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเวลาชั่วยาม สัญลักษณ์ปีนักษัตร ธาตุทั้ง 5 เดือนอธิกมาส และข้างขึ้นข้างแรม ซึ่งเป็นระบบหัวใจหลักที่ทำให้กลไกการคำนวณเดือนของนาฬิการุ่นนี้เป็นไปตามแบบจันทรคติ
นาฬิกาบลองแปงรุ่นปฏิทินจีนโบราณนั้นมี 2 รุ่น ประกอบไปด้วยรุ่นปกติที่ทำจากวัสดุเรดโกลด์ และรุ่นลิมิเต็ดอิดิชันทำจา
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนคิดหวังสิ่งใดก็สมปรารถนา มีแต่ความสุขมั่งคั่ง โชคดี ร่ำรวยตลอดปี ซินเจิ้งหยูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ