คงเป็นที่ฟ้าเบื้องบน เป็นคนขีดโชคชะตา ให้เดือนกุมภามี 28 ไม่ก็ 29 วัน
เมื่อเวลาผ่านพ้นมาถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี คำถามที่หลายคนมักถามก็คือ ‘เดือนกุมภาปีนี้มีกี่วันนะ ?’ เพราะเดือนนี้มีความพิเศษ เป็นเดือนเดียวที่บางปีมี 28 วัน บางปีมี 29 วัน
แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมว่า ‘ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีวันไม่เท่ากัน ?’
เพื่อขจัดข้อสงสัยดังกล่าว The MATTER และ Blancpain แบรนด์นาฬิกาสัญชาติสวิสฯ ที่มีอายุเกือบ 290 ปี อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับปีอธิกสุรทิน พร้อมๆ กับการสัมผัสภูมิปัญญาในการวัดและจัดการเวลาของมนุษย์ ผ่านเรือนเวลา Blancpain Villeret Perpetual Calendar รุ่นใหม่ กับหน้าปัดสีเขียวเข้มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากป่าสนของเมือง Le Brassus ณ หุบเขา Vallée de Joux ซึ่งถือว่าเป็นฐานหลักในการผลิตกลไกนาฬิกาของ Blancpain
เพราะ 29 กุมภาไม่ได้มาบ่อยๆ ลองมาฟังความสำคัญของปีอธิกสุรทินสักหน่อย ว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้ปีนี้พิเศษกว่าปีอื่นๆ
ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) 1 วันที่เพิ่มเข้ามาทุกๆ 4 ปี
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักปีอธิกสุรทิน (Leap Year) กันก่อนดีกว่า โดยคำนี้เป็นคำเรียกปีที่มี 366 วัน แตกต่างจากปีที่มี 356 วัน ที่เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (Common Year) เหตุผลที่ต้องเพิ่มวันเข้ามานั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือพรหรมลิขิต แต่เกิดจากความสามารถทางดาราศาสตร์ในการคำนวณปฏิทินของมนุษย์ล้วนๆ เนื่องจากโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งจะใช้เวลา 365 วัน
ทว่าความจริงแล้วมันไม่ใช่ 365 วันพอดีเป๊ะๆ หรอก แต่เป็น 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที (365.2524 วัน) ดังนั้นเพื่อชดเชยเศษเวลาที่เกินมานี้ จึงมีการนับรวม 0.25 เป็น 1 วันทุกๆ 4 ปี และเพิ่มเข้าไปในเดือนกุมภาพันธ์นั่นเอง
การปรับปฏิทินเป็นปีอธิกสุรทิน นับเป็นหนึ่งในความชาญฉลาดของมนุษย์ที่ช่วยให้เรามีระบบการวัดเวลาที่ตรงกับการเคลื่อนที่จริงของโลกเรา เพื่อเราจะได้ใช้เวลาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
และนี่คือเหตุผลที่เดือนกุมภาพันธ์ของบางปีมี 29 วัน ไม่ใช่เพียง 28 วันเสมอไป
History of Leap Year ตำนานเวลาและที่มาของปีอธิกสุรทิน
ประวัติศาสตร์ของปีอธิกสุรทินนั้นเริ่มต้นย้อนหลังไปถึงสมัยโรมันกว่า 800 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในขณะนั้นปฏิทินที่ใช้กันมีเพียง 10 เดือน แต่เนื่องจากปฏิทินดังกล่าวไม่ตรงกับฤดูกาล กษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (Numa Pompilius) จึงเพิ่มเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เข้าไป ต่อมาในยุคของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้มีการปรับปรุงปฏิทินอีกครั้ง เปลี่ยนให้เดือนมีนาคมมี 31 วัน และเดือนต่อๆ ไปมี 30 วันสลับกันไป
จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน และในปีอธิกสุรทินจะมี 30 วัน – ปฏิทินนี้เรียกว่า ‘ปฏิทินจูเลียน’ (Julian Calendar)
ครั้นถึงยุคกษัตริย์ออกัสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar) ต้องการให้มีชื่อของตนเองอยู่ในปฏิทิน เขาจึงเปลี่ยนชื่อเดือนสิงหาคมจาก Sextillis เป็น August และเพิ่มวันให้เดือนนี้มี 31 วัน เท่ากับเดือนของจูเลียส ซีซาร์ (July) และปรับเดือนกุมภาพันธ์ให้เหลือ 28 วันในปีปกติสุรทิน และ 29 วันในปีอธิกสุรทิน เพื่อให้สอดคล้องกับปีดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์การนับเวลา ที่ซ่อนอยู่ในปฏิทินที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน
จาก Leap Year สู่ Perpetual Calendar นวัตกรรมกลไกอัจฉริยะ
สำหรับคนรักนาฬิการู้ดีว่า เรือนเวลามิใช่แค่เครื่องนับเวลาที่ผ่านไป แต่ยังบรรจุวิวัฒนาการเชิงกลไกด้านปฏิทินด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชัน Complete Calendar ที่สามารถบอกข้อมูลเกี่ยวกับปฏิทินต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนทั้ง วันที่, วันในสัปดาห์, เดือน ไปจนถึงฟังก์ชัน Annual Calendar ที่อัจฉริยะพอที่จะรู้ว่าเดือนไหนมี 30 หรือ 31 วัน ทว่าเดือนกุมภาพันธ์ก็ยังคงต้องปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง เพื่อให้ตรงกับวันที่แท้จริง ทว่าสุดยอดฟังก์ชันของวงการคือ Perpetual Calendar ที่มาพร้อมกับกลไกอัจฉริยะ สามารถรู้จักและปรับเปลี่ยนวันที่ 29 กุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินได้อย่างอัตโนมัติ
Perpetual Calendar จึงเป็นกลไกที่ซับซ้อนที่สุด และเป็นสัญลักษณ์ของความชาญฉลาดในวงการนาฬิกา ที่ไม่เพียงแต่เล่าเรื่องราวของเวลา แต่ยังสะท้อนถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการออกแบบที่ไม่หยุดยั้ง
Blancpain Villeret Perpetual Calendar ความคลาสสิกที่ไม่มีวันเลือนราง
Blancpain เป็นแบรนด์นาฬิกาที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดของโลก ทั้งยังเป็นเจ้าของคอลเลกชัน Villeret ซึ่งเป็นตำนานที่อยู่คู่กับแบรนด์มาอย่างยาวนาน เพราะเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ที่เป็นบ้านเกิดของเจ้าของแบรนด์อีกด้วย
ความพิเศษของคอลเลกชัน Villeret อยู่ที่การนำกลไกที่แสนวิจิตรและซับซ้อน อย่าง Perpetual Calendar มาใช้ในนาฬิการุ่น Villeret Perpetual Calendar ซึ่งทำให้เรือนเวลา สามารถระบุวันที่, วันในสัปดาห์, เดือน แม้กระทั่งวันที่ 29 กุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนจนถึงปี 2100 ทีเดียว !
นอกจากนี้ ทุกเรือนเวลาของ Blancpain Villeret Perpetual Calendar ยังถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้กระบวนการอินเฮ้าส์ของแบรนด์เองทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พัฒนา เรื่อยไปจนการผลิตชิ้นส่วน และการประกอบ เพื่อรับประกันความประณีตบรรจงและพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ไม่เพียงแต่มอบความสวยงามจากภายนอกเท่านั้น แต่ยังรักษาความแม่นยำในการทำงานของกลไกภายใน จึงเป็นนาฬิกาอีกเรือนที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังคงไว้ซึ่งความคลาสสิกตลอดกาล
ประณีตในทุกฟังก์ชันของนาฬิกา Blancpain Villeret Perpetual Calendar
เมื่อก้มมองเรือนเวลา Blancpain Villeret Perpetual Calendar จะพบความละเอียดอ่อนในการออกแบบที่เน้นความสมดุลและความสวยงาม ด้วยการจัดเรียงฟังก์ชันต่างๆ อย่างเป็นระเบียบที่ตำแหน่ง 3, 9, 6, และ 12 นาฬิกา เติมเสน่ห์ด้วยฟังก์ชัน Moon Phase รูปพระจันทร์หน้าคนอันเป็นเอกลักษณ์ของ Blancpain
ความพิเศษยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ พลิกด้านหลัง Blancpain Villeret Perpetual Calendar จะพบกลไกอัตโนมัติคาลิเบอร์ 5954 มาพร้อมการออกแบบระบบการป้องกันกลไกเสียหาย เมื่อมีการตั้งเวลาหรือปฏิทินในขณะที่กลไกกำลังเปลี่ยนข้ามวัน นอกจากนี้ยังมีการดีไซน์ปุ่มปรับที่ซ่อนไว้ใต้ขาของนาฬิกา (Under-lug Correctors) ซึ่งเป็นนวัตกรรมเฉพาะของ Blancpain ที่ช่วยให้ตัวเรือนมีความเรียบหรู ปราศจากปุ่มจิ้มด้านข้างตัวเรือน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อพิสูจน์ถึงมาตรฐานและความเป็นเลิศของ Blancpain ในการสร้างนาฬิกาอย่างแท้จริง
สัมผัสความงดงามอมตะของ Blancpain Villeret Perpetual Calendar
Blancpain Villeret Perpetual Calendar จึงกลายเป็นตำนานความงดงามอมตะที่คงความประณีตในทุกองค์ประกอบ สะท้อนถึงงานศิลปะที่สามารถสวมใส่ได้บนข้อมือ
และล่าสุดก็ออกรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน้าปัดสีเขียวเข้มแบบซันเบิร์ส ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากป่าสนของเมือง Le Brassus เข้ากันดีกับหลักชั่วโมงสีเรดโกลด์แสนโดดเด่น และเข้าคู่กับสายหนังจระเข้สีน้ำตาลประดับด้วยบานพับ เสริมให้นาฬิกาเรือนนี้มีความสง่างาม ซึ่งไม่เพียงแค่สวยงามจากภายนอก แต่ยังแฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายและความประณีตในทุกรายละเอียด
ขณะที่ตัวเรือนเวลามาพร้อมกับการขัดแต่งขอบตัวเรือนอย่างมีชั้นเชิง 2 ระดับ พร้อมขนาด 40 มิลลิเมตรที่สามารถกันน้ำได้ลึก 30 เมตร และกระจกที่ทำจากแซฟไฟร์คริสตัลช่วยลดการสะท้อนแสง
ทั้งหมดนี้ทำให้ Blancpain Villeret Perpetual Calendar ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือวัดเวลาเท่านั้น แต่ยังเป็นผลงานศิลปะที่เล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความก้าวหน้าในวิทยาการของมนุษยชาติอีกด้วย
ร่วมสัมผัสความพิเศษของ 29 กุมภาพันธ์แห่งปีอธิกสุรทิน ผ่านเรือนเวลา Blancpain Villeret Perpetual Calendar รุ่นใหม่ได้ที่ https://www.blancpain.com/en/villeret/quantieme-perpetuel-6656-3653-55b