“เพราะเยาวชนไม่ใช่เหยื่อ แต่คือผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
ความเสี่ยงบนโลกไซเบอร์ (Cyber Risk) คือหนึ่งในประเด็นความเสี่ยงระดับโลก ที่เยาวชนกว่า 150 ประเทศทั่วโลก แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงผ่านแผนเยาวชนฟื้นฟูโลก (Youth Recovery Plan) ในที่ประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อปี 2564 ทั้งนี้ จากข้อมูลองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ ตำรวจสากล (International Criminal Police Organization หรือ INTERPOL) คาดการณ์ว่าภัยไซเบอร์จะคุกคามสร้างความเสียหายทั่วโลก 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2568 และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าผลสำรวจพบว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่หรือ Gen Z เป็นกลุ่มที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์มากที่สุด เพราะพวกเขาเรียกได้ว่าเป็น Digital Natives ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสื่อสาร การเข้าสังคม หรือการสร้างตัวตนของพวกเขาอยู่บนโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
นี่เองก็เป็นที่มาของ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ค่าย Metaverse ที่มุ่งเน้นให้เยาวชนได้สัมผัสประสบการณ์เรียนรู้ในรูปแบบค่ายเสมือนจริง เพื่อเรียนรู้และทดลองพัฒนานวัตกรรมทางสังคมในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) บนพื้นที่ The Cybersecurity Sandbox ซึ่งสำหรับค่ายครั้งที่ 4 นี้ น้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมจะได้ระดมไอเดีย พัฒนาโครงการร่วมกับเพื่อนใหม่ในค่าย และทดลองกระบวนงานทำงานแบบ Startup ตั้งแต่กระบวนการสร้างทีม (Team matching) กระบวนคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ด้วยการใช้ Business Model Canvas และการเสนอความคิดแบบ pitching เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการในวัน Demo Day เพื่อรับทุนการศึกษาและต่อยอดโครงการรวมมูลค่า 400,000 บาท
โดยหลังจาก 504 ชั่วโมง ที่เยาวชนกว่า 200 ชีวิตได้บ่มเพาะโปรเจกต์ของพวกเขาใจกลางแพลตฟอร์ม Metaverse วันนี้เราก็ได้ผู้ชนะที่เข้าตากรรมการทั้งหมด 5 ทีม จาก 10 ทีม ซึ่ง The MATTER ก็อยากรู้ว่าน้องๆ ที่ชนะคิดค้นนวัตกรรมอะไรขึ้นมาบ้าง และนวัตกรรมของแต่ละทีมตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยมากแค่ไหน จึงได้ไปพูดคุยกับน้องๆ ทั้ง 5 ทีมถึงผลงานที่พวกเขาสร้างสรรค์ออกมา รวมไปถึงความประทับใจในค่ายครั้งนี้ และมุมมองที่พวกเขามีต่อเรื่อง Cybersecurity ในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโลกออนไลน์ด้วย
ทีม Ailurus
ทีมแรกที่อยากชวนให้รู้จัก คือทีมที่ออกแบบเว็บไซต์เยียวยาจิตใจชื่อ ‘Ailurus’ ที่เห็นผลกระทบของ Negative Digital Footprint หรือการทิ้งร่องรอยบนโลกออนไลน์จากการระบายความรู้สึกเชิงลบ ที่อาจทำให้ในอนาคตเกิดปัญหาตามมาได้ รวมถึงปัญหา Online Privacy ที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้สึกไม่เป็นส่วนตัวเท่าไหร่เวลาโพสต์ระบายอะไร เพราะกลัวมีคนนำเรื่องของเราไปเผยแพร่ต่อหรือใช้ในทางที่ไม่ดี ซึ่งเว็บไซต์นี้จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เข้ามาระบาย โดยไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะรั่วไหลไปที่อื่น อีกทั้งยังมีปัญญาประดิษฐ์คอยประมวลผลรูปภาพ ศิลปะ หรือโควตต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเห็นแล้วรู้สึกสบายใจมากขึ้น
“ในค่ายได้สอนเรื่อง Digital Footprint ว่ามีความน่ากลัวหรืออันตรายยังไง เราเลยนำความรู้ตรงนั้นมาปรับใช้ในโปรเจกต์ของเรา ไม่ให้ผู้ใช้งานสร้าง Negative Digital Footprint โดยให้ผู้ใช้งานเข้ามาพิมพ์เรื่องราวที่ตัวเองได้เจอมา และเว็บไซต์ของเราก็จะประมวลผลรูปภาพให้เขาดู เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องเครียดๆ ที่เจอมา อาจจะเป็นภาพแนว Abstract ที่มีความสวยงาม และสามารถเยียวยาจิตใจได้”
พร้อม, Chief Technical Officer, ทีม Ailurus
ทีม Dr.Pla
ต่อมาคือทีมที่เข้าใจปัญหาการแอบอ้างรับเงินบริจาค ในยุคที่มิจฉาชีพใช้ช่องโหว่จากโลกออนไลน์ เพื่อเข้ามาหาผลประโยชน์จากการเปิดรับบริจาคในหลายแพลตฟอร์ม ทำให้ความช่วยเหลือไปไม่ถึงผู้ที่ต้องการจริงๆ ทางทีมจึงระดมไอเดียสร้าง ‘เว็บไซต์เติมเต็ม’ ขึ้นมา เพื่อตัดมิจฉาชีพออกจากวงจร เพราะเว็บไซต์นี้จะมีฐานข้อมูลที่แน่นหนาของผู้รับบริจาครายบุคคล และสามารถตรวจสอบได้ว่าใครที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ผ่านการเช็กรูป บัญชี หรือข่าวสาร ทำให้ผู้ที่บริจาคเองก็สบายใจได้ว่า ความช่วยเหลือของพวกเขาไม่ได้ตกไปอยู่ในมือของมิจฉาชีพอย่างแน่นอน
“โปรเจกต์ของเรามีการแบ่งทีมออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกคือหัวหน้าที่คอยประสานงานและแจกแจงงาน กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มหลักของเรา ก็คือสายเทคโนโลยีที่ออกแบบเว็บไซต์และโปรแกรมที่สามารถกดเข้าไปดูได้ กลุ่มที่ 3 คือฝ่ายรวบรวมข้อมูล โดยไปตรวจสอบฐานข้อมูลต่างๆ ผ่านทางเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ว่าใครต้องการความช่วยเหลือจริงๆ กลุ่มที่ 4 คือฝ่ายอาร์ต ซึ่งออกแบบ Prototype ของเว็บไซต์ รวมถึงพื้นหลังและโลโก้ในแอปพลิเคชันของเราด้วย”
อินดี้, Chief Creative Officer, ทีม Dr.Pla
ทีม Don’t leave the door open
เชื่อว่าหลายคนมักจะมองข้ามเวลาเจอTerms and Conditions ในเว็บไซต์ แต่รู้มั้ยว่าการไม่อ่านเงื่อนไขเหล่านั้น อาจนำมาสู่ความเสียหายต่อข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินได้เลยนะ ซึ่งทีมนี้จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาดั
“เพราะมีคนจำนวนมาก ประมาณ 92% ที่รับรู้ว่า Terms and Conditions มีความสำคัญ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญจริงๆ มีแค่ 1% เท่านั้นที่อ่านเกือบทุกครั้ง และเมื่อเราให้ข้อมูลส่วนตัวของเราไปโดยไม่อ่านให้ดี ก็อาจมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายตามมา หรือหากเว็บไซต์นั้นเก็บข้อมูลของเราไม่ดี ก็จะทำให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลต่างๆ ได้”
แพร, Chief Executive Officer, ทีม Don’t leave the door open
ทีม ดีแทคดีใจ
ต่อมาเป็นทีมที่ต้องการจะลดปั
“เรามองเห็นแนวโน้มการเติบโตของ Metaverse และคิดว่าถ้านวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ผู้เล่นมีความตระหนักเกี่ยวกับ Cybersecurity และ Cyber Attack มากขึ้น จากการที่เราจำลองตัวเองเป็นเหยื่อที่เจอกับปัญหานั้นจริงๆ พอเราตระหนักรู้ว่าผลกระทบที่ตามมาเป็นยังไง เราก็คงไม่อยากไปทำกับคนอื่นเหมือนกัน เพราะเราได้เรียนรู้จากตรงนี้ไปแล้ว”
เชอร์รี่, Chief Technical Officer, ทีม ดีแทคดีใจ
ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ
ส่วนทีมสุดท้ายคือเจ้าของนวัตกรรม ‘น้องเตือนใจ’ Chat Bot ในแอปพลิเคชัน Line ที่จะช่วยเตือนให้ผู้ใช้งานรู้ว่าลิงก์ที่กำลังจะกดมีความปลอดภัยหรือไม่ เพราะทุกวันนี้เต็มไปด้วยลิงก์ปลอมมากมายที่เนียนเหมือนกับลิงก์จริง ซึ่งพร้อมจะขโมยข้อมูลและปล่อยไวรัสเข้าสู่อุปกรณ์ของเราได้ทุกเมื่อ โดยน้องเตือนใจจะเข้ามาอยู่ในแชทของผู้ใช้งาน และช่วยตรวจสอบว่าลิงก์นั้นมีความเสี่ยงหรือเปล่า โดยใช้ฐานข้อมูลที่มาจาก 2 ส่วน ได้แก่ ฐานข้อมูลที่ทีมงานรวบรวมมา และฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานช่วยเข้าไปเพิ่มให้จากการเจอลิงก์ปลอมด้วยตัวเอง ซึ่งในอนาคตก็จะมีการต่อยอดไปยังแพลตฟอร์ตแชทอื่นๆ ด้วย
“ผมมองว่ามันเป็นการช่วยเหลือผู้คนเพื่อไม่ให้กดลิงก์ที่อันตราย เช่น หลายคนมีแจ้งเตือนเด้งขึ้นมาว่า ‘เฟซบุ๊กของคุณถูกแฮก’ และมีลิงก์ให้กดเข้าไปแก้ไขหรือเปลี่ยนรหัสผ่าน ซึ่งจริงๆ เป็นลิงก์ที่อันตราย แต่พอผ่านไปสัก 1-2 ปี เราก็ลืมไปแล้วว่าเคยมีอะไรแบบนี้ พอมันเด้งขึ้นมาอีกครั้ง เราก็อาจจะเผลอกดเข้าไป เราเลยสร้าง Bot ตัวนี้ขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการกดลิงก์ปริศนานั้น”
เปรม, Chief Financial Officer, ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ
แต่นอกเหนือจากน้องๆ ทั้ง 5 ทีม เราก็อยากจะพูดถึงอีก 5 ทีมที่เหลือด้วยเช่น เพราะถึงแม้จะไม่ได้ผ่านเข้ารอบ แต่พวกเขาก็สร้างสรรค์นวัตกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย ได้แก่ ทีม 8 สหาย 84,000 เซลล์ ผู้ออกแบบเทคโนโลยี Biometric ที่ช่วยยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือ เพื่อแสดงข้อมูลของผู้ได้รับบาดเจ็บที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนด้วยตัวเองได้ ทีม CyberGOAT ผู้ออกแบบแอปพลิเคชันการเรียนรู้ในรูปแบบเกม เพื่อทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับข่าวปลอม ทีม Secure Security Seciety (SSS) ผู้ออกแบบแพลตฟอร์มเพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ทีม Kab Kab ผู้ออกแบบควิซวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเองที่มีต่อความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ และ ทีม น้ำไหลไฟดูด ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์ที่ป้องกันการหลอกล่อจากมิจฉาชีพที่สามารถติดตั้งลง Web Browser ได้
และจากนวัตกรรมทั้งหมดที่ได้
ความประทับใจในค่าย Metaverse
เมื่อถามน้องๆ ถึงความประทับใจที่มีต่อค่าย แต่ละทีมก็ได้เล่าถึงบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่นและสนุกสนาน แม้จะเป็นการเรียนรู้บนโลกเสมือนจริงก็ตาม อย่าง ทีม ดีแทคดีใจ ที่เล่าว่า พวกเขาประทับใจในพี่เลี้ยงของกลุ่มมาก เพราะได้รับความรู้และความช่วยเหลือจากพี่ๆ อย่างเต็มที่ และชื่นชมวิทยากรในค่ายว่าทั้งเก่ง ความรู้แน่น และช่วยต่อคำถามที่ทุกคนสงสัยได้อย่างเข้าใจง่าย แตกต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เคยเจอมา
ทางด้านสมาชิกใน ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ ก็บอกว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจให้อยากทำงานด้าน Cybersecurity เพราะทางค่ายมีการชวนผู้ที่ทำงานสายนี้มาร่วมแนะแนวด้วย เมื่อได้ฟังแล้วก็เกิดความสนใจ และอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสายงานนี้เพิ่มเติม หรือเมื่อได้ลอง Pitching ให้กรรมการฟัง ก็ทำให้สมาชิกในทีมอยากมีสกิลด้านนี้มากขึ้น
ทีม Dr.Pla เผยว่า แค่เห็นชื่อค่ายก็ทำให้พวกเขารู้สึกว่าได้รับโอกาสในการเปลี่ยนแปลงโลกออนไลน์ และชื่นชมการทำงานของเพื่อนๆ ในทีม เพราะถึงแม้จะยังเป็นแค่ Prototype หรือตัวต้นแบบ แต่การร่วมทีมกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และสามารถสร้างเว็บไซต์ออกมาได้ขนาดนี้ พวกเขามองว่าเป็นสิ่งที่สุดยอดมากๆ
“ทุกวันนี้มีภัยบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งต้องการคนมาช่วยแก้ไข
หากคนเหล่านั้นเป็นเยาวชนที่มีความคิดเหมือนกัน แต่มีความสามารถแตกต่างกันไป ก็จะช่วยทำให้เกิดงานชิ้นหนึ่งขึ้นมาได้”
ทีม Dr.Pla
ทีม Don’t leave the door open ประทับใจในบทเรียนใหม่ๆ ที่ได้รับ อย่างเรื่อง Deepfake ที่พวกเขารู้สึกว่าถ้านำไปใช้ในทางที่ดี ก็จะมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาก และเรื่อง Biometric Authentication หรือการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ ซึ่งพี่ๆ ได้เปิดคลิปตัวอย่างให้ดูว่าเวลามีคนแฮกข้อมูล เราต้องรับมือยังไงบ้าง
ส่วน ทีม Ailurus รู้สึกว่าการที่วิทยากรสอนสนุกและดูแลทุกคนอย่างทั่วถึง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้พวกเขาตั้งใจเรียน และการเรียนรู้แบบ Design Thinking หรือการทำ Business Model Canvas ก็ถือเป็นเรื่องใหม่ที่พวกเขาได้รับจากค่ายนี้ ซึ่งทำให้พวกเขากล้าที่จะนำเสนองานมากขึ้นด้วย
สร้างสรรค์วัฒนธรรมโลกออนไลน์ในฐานะ Active Citizen
แม้ค่ายจะจบลงไปแล้ว แต่สิ่งที่ยังติดตัวน้องๆ ทุกคนไปก็คือ ‘ภูมิคุ้มกัน’ ที่จะช่วยให้รู้เท่าทันอาชญากรรมบนโลกออนไลน์มากขึ้น และความรู้สึกที่อยากจะเห็นโลกออนไลน์ปลอดภัยกว่าเดิม ในฐานะที่เป็น Active Citizen หรือพลเมืองที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม พวกเขาอยากจะต่อยอดสิ่งที่ทำอยู่ หรืออยากชวนคนอื่นๆ ให้มาร่วมสร้างวัฒนธรรมโลกออนไลน์ให้ดีขึ้นยังไงบ้าง
ทีม Dr.Pla ให้ความเห็นว่า ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์จะเกิดขึ้นได้ ทุกคนต้องเริ่มจากการให้เกียรติกันและกันก่อน และทุกวันนี้ การที่กลุ่มคนที่มีอายุน้อยมากๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย มิจฉาชีพหรือคนที่ไม่ประสงค์ดีก็ย่อมหาโอกาสสร้างภัยคุกคามต่างๆ ด้วยเช่นกัน ในฐานะเยาวชนที่ผูกพันกับอินเทอร์เน็ต พวกเขาอยากจะให้ทุกคนร่วมป้องกันภัยเหล่านี้ไปด้วยกัน เพื่อให้คนรุ่นต่อไปมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยมากขึ้นด้วย
ส่วนทีม Ailurus บอกว่า สมาร์ตโฟนเป็นสิ่งสำคัญที่เราใช้กันในปัจจุบัน ทำให้ภัยบนโลกออนไลน์ใกล้ตัวเรามาก หากเรามีความรู้และความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น ก็จะทำให้สามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย รู้วิธีรับมือหรือป้องกันภัยต่างๆ และไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรบนโลกออนไลน์ด้วย ในฐานะ Active Citizen พวกเขาก็อยากใช้นวัตกรรมที่คิดขึ้นมาเพื่อช่วยปกป้อง Footprint ต่างๆ ของผู้ใช้งาน โดยคำนึงถึง Online Privacy ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ทางด้านทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ ก็ได้สังเกตว่า ช่วง New Normal จนจะ Next Normal ออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น แต่การที่ผู้คนไม่ได้คำนึงว่าโลกออนไลน์มีอันตราย ก็อาจทำให้พวกเขาละเลยและไม่ได้คิดถึงเรื่อง Cybersecurity ซึ่งหากมีคนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ ก็จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ แต่ก็ถือว่ายังขาดบุคลากรอยู่มาก ถ้าเราศึกษาไว้ก็เป็นเรื่องที่ดีต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคมด้วย ในขณะเดียวกัน การที่เราจะเชิญชวนให้คนอื่นมาร่วมสร้างวัฒนธรรมใหม่
“เราจะต้องเริ่มจากการปลุกให้ผู้คนเห็นถึงปัญหาก่อนว่ามันใกล้ตัวมาก
และในไม่ช้าปัญหานี้จะมาถึงพวกเขา เพราะถ้าเริ่มจากปัญหาที่ใกล้ตัว
ผู้คนก็จะเริ่มหันมาสนใจมากขึ้น เหมือนประเด็นทางสังคมอื่นๆ ซึ่งสื่อสังคมก็ควรจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยจุดประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน”
ทีม กลัวเสียฟอร์ม เลยยอมเสียเธอ
ทีม Don’t leave the door open เองก็เห็นด้วยว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไปไกลมากขึ้น เราจึงต้องทำให้ความปลอดภัยพัฒนาไปไกลด้วยเช่นกัน เพื่อให้ก้าวทันคนที่จะมาก่ออาชญากรรมต่างๆ และเราจะต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะในโลกความเป็นจริงหรือโลกเสมือน เพราะถ้าเรารู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ข้อมูลนั้นส่งไปให้ใครบ้าง หรือเราทิ้งร่องรอยอะไรไว้บนโลกออนไลน์ ก็จะทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ทัน ตรงนี้อาจจะเริ่มจากการชวนคนสนิทหรือคนใกล้ตัวก่อน เพื่อมาแลกเปลี่ยนความเข้าใจเรื่อง Cybersecurity กันอยู่เรื่อยๆ
เช่นเดียวกับ ทีม ดีแทคดีใจ ที่มองว่า ปัญหา Cybersecurity เกิดขึ้นทุกวัน ยิ่งช่วงโรคระบาด COVID-19 เราต้องเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น และมีโอกาสที่จะโดนภัยคุกคามตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีภัยในรูปแบบต่างๆ ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ข้อความทางอีเมลหรือ SMS โดยหลายคนไม่ได้ตระหนักถึงความเสี่ยง ก็จะหลงเชื่อและกดเข้าไป จนเกิดผลเสียต่อตัวเขาหรือองค์กรได้ แต่จริงๆ แล้วทุกคนสามารถป้องกันตัวเองในเรื่องนี้ได้ในระดับหนึ่ง เพียงแค่ต้องเริ่มจากการตระหนักในปัญหาก่อน ถ้าเรามีความรู้ในส่วนนี้แล้ว ก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นไม่ให้เกิดปัญหาได้
ไม่ว่าจะนวัตกรรมหรือมุมมองความคิดของน้องๆ ก็เห็นได้ชัดเลยว่า ทุกคนพร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภัยบนโลกออนไลน์ในยุคนี้ ด้วยความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดที่สั่งสมจากในค่าย และรู้สึกได้เลยว่าคนรุ่นใหม่มีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้อีกมาก หากเรามีพื้นที่สนับสนุนให้พวกเขาได้เรียนรู้และนำเสนอไอเดียอยู่เสมอ
ส่วนน้องๆ เยาวชนคนไหนที่สนใจเข้าร่วมค่ายที่มีประโยชน์แบบนี้ สามารถสมัครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครั้งต่อไปได้นะ