วันนี้กินอะไรดี?
ประโยคคำถามยอดฮิตที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน แถมบางครั้งยังดูเป็นปัญหาระดับวาระแห่งชาติกว่าจะเลือกอาหารสักมื้อได้ เพราะนอกจากอาหารจะเป็นหนึ่งในปัจจัยในการดำรงชีวิตของเราแล้ว การกินเมนูอร่อยถูกใจก็เป็นอีกความสุขเล็กๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ในวันที่ต้องเจอกับมรสุมความเครียดจากงานและชีวิต
ไม่ว่าจะอยู่เพื่อกินหรือกินเพื่ออยู่ ก็ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีและโซเชียลเข้ามามีบทบาทและทำให้เราพิถีพิถันในเรื่องของการเลือกบริโภคอาหารมากขึ้น เพราะทั้งแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ รวมไปถึงบทความรีวิวอาหารพากันงอกขึ้นมาเต็มไปหมดทั้งโซเชียล ซึ่งหากค้นหาคำว่า ‘รีวิวร้านอาหาร’ จากเว็บไซต์ค้นหายอดนิยมอย่าง Google ผลการค้นหาจะโผล่มาให้คุณเลือกมากถึง 90 ล้านหน้า ดูกันจนยังไงก็ไม่มีวันหมด
เมื่อลองย้อนกลับมาตั้งคำถามว่าในขณะที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรากินกันมากขนาดนี้ แล้วเราให้ความสำคัญกับบรรดาอวัยวะสำคัญที่ต้องใช้ในการกินของเรามากขนาดไหน คำตอบคือผลการค้นหาคำว่า ‘สุขภาพช่องปาก’ หรือ ‘สุขภาพฟัน’ มีเพียง 20 ล้านหน้าเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการค้นหาร้านอาหารกว่า 4 เท่า แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะแม้เทรนด์สุขภาพจะกำลังมาแรง แต่หลายๆ ครั้งเราก็ยังคงสนุกสนานกับไลฟ์สไตล์หนุ่มสาว และไม่รู้ว่าหลายๆ พฤติกรรมในการกินในยุคนี้ของชาวมิลเลนเนียลสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เหมือนกัน
กินนอนนอกบ้าน
ชาวมิลเลนเนียลนิยมกินอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น สอดคล้องกับผลการวิจัยทางด้านพฤติกรรมในการบริโภคอาหารของ University of Arkansas ซึ่งพบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านในปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นถึง 43.5% ซึ่งจากเดิมคือ 25.9 % ในปี 1970 เหตุผลมีด้วยกันหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น เรื่องของค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือคนสมัยนี้ยุ่งวุ่นวายและมีเรื่องให้ทำมากเกินกว่าจะมานั่งตระเตรียมอาหาร แหงสิ! แค่ลำพังจะนอนให้พอก็เป็นเรื่องยากแล้ว นอกจากนี้การกินนอกบ้านยังช่วยเติมเต็มในเรื่องของการเข้าสังคม การสัมผัสกับบรรยากาศและประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวมิลเลนเนียลชื่นชอบ แถมจะถ่ายบรรยากาศร้านสวยๆ กับอาหารหน้าตาแปลกใหม่ลงไอจีสตอรี่อวดเพื่อนก็ได้ด้วย
กินจุบกินจิบ
ปกติมนุษย์เราส่วนใหญ่กินอาหารจริงๆ ประมาณ 7 มื้อด้วยกัน (หลายๆ คนที่ตื่นสายหรือลดความอ้วนก็อาจจะน้อยกว่านี้) ประกอบด้วยมื้อหลักๆ 3 มื้อ คือ อาหารเช้า กลางวัน และเย็น แล้วยังมีมื้อระหว่างวันอีก คือ อาหารว่างก่อนมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายแก่ๆ และอาหารรอบดึก! บางครั้งด้วยความยุ่งวุ่นวายของการทำงานในแต่ละวันอาจทำให้มื้อหลักๆ อาจถูกเปลี่ยนมาเป็นเพียงอาหาร Grab-to-Go แบบง่ายๆ หรือถูกแทนที่ด้วยของจุบจิบตลอดทั้งวัน เพราะว่าการสมองของเราต้องการพลังงานในขณะที่เราทำงาน
อีกพฤติกรรมที่จะไม่พูดถึงคงไม่ได้ คือการดื่มชา กาแฟ ซึ่งกลายมาเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากไปเรียบร้อย โดยมีอัตราการเข้าถึงร้านกาแฟหรือคอฟฟี่ช็อปมากถึง 60% ทั่วประเทศ ส่วนกรุงเทพฯ นั้นมีอัตราการ 69% เฉลี่ยแล้วคือเราเข้าร้านกาแฟอย่างน้อย 8 ครั้งต่อเดือน (แน่นอนว่าหลายๆ คนเข้าบ่อยกว่านั้นแน่) และเมื่ออาชีพฟรีแลนซ์เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น ร้านกาแฟหรือ co-working space ก็ขยันผุดขึ้นมาตอบสนองความต้องการจนเลือกร้านนั่งกันไม่ถูก
เช้าไม่กลัว กลัวไม่เช้า
ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เราไม่ได้นอนหลับหลังละครหลังข่าวจบเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว เพราะในปัจจุบันเรามีทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รวมไปถึงแอปพลิเคชันต่างๆ ตั้งแต่ Facebook Twitter Instagram ที่จะเล่นตอนไหนก็ได้ ไหนจะซีรีย์ออนไลน์ที่หลายคนดูเพลินจนเผลอรู้ตัวอีกทีตอนพระอาทิตย์กำลังจะขึ้น ยิ่งดึกก็ยิ่งหิว เห็นภาพอาหารตามโซเชียลก็ยิ่งทำให้อดไม่ได้ที่จะหาอะไรกินตอนดึก ส่วนถ้าเปิดตู้เย็นที่บ้านแล้วไม่มีของกินก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะเราอยู่ในยุคที่ร้านสะดวกซื้อเปิดตลอด 24 ชม. และบริการส่งอาหารออนไลน์ก็ขยันตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบพร้อมส่งยันเช้า ปัญหาเดียวที่เหลือคือถ้ากินแล้วเผลอหลับไปแบบไม่ได้แปรงฟันนี่ยุ่งแน่ๆ
ฮัลโหลแบคทีเรีย
พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปของชาวมิลเลนเนียล ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารนอกบ้าน ซึ่งกว่าจะกลับบ้านมาแปรงฟันก็ไม่รู้กี่โมงกี่ยามกันแล้ว กินจุบจิบระหว่างวันก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการสะสมของแบคทีเรียระหว่างวัน มิหนำซ้ำการใช้ชีวิตที่ยาวนานขึ้นยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพช่องปากมากขึ้นไปอีก เพราะจำนวนแบคทีเรียในปากคนเรามีมากกว่า 700 ชนิด และมากกว่า 50 พันล้านตัว เชื้อแบคทีเรียในช่องปากหลายชนิดเป็นแบคทีเรียที่มีความจำเป็นสำหรับการรักษาสมดุลในช่องปาก แต่หากเราปล่อยให้มันสะสมและเติบโตเป็นระยะเวลานานเกินไป จะเริ่มมีแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อโรคมาสะสมร่วมด้วย ซึ่งมันอาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียจะกินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เรากินเข้าไปแล้วเจริญเติบโตอุดมสมบูรณ์ ตกค้างสะสมบนผิวฟันจนกลายเป็นไบโอฟิล์มซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพช่องปาก ตั้งแต่ ฟันผุ ปัญหาเกี่ยวกับเหงือก และเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างเหลือเชื่อใน โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ ไปจนถึงความดันโลหิต น่ากลัวแบบไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะอย่างนั้นไม่ว่าคุณจะกินเพื่ออยู่หรืออยู่เพื่อกิน คุณก็จะไม่ได้ทั้งกิน และไม่ได้ทั้งอยู่ ถ้าไม่ดูแลสุขภาพช่องปาก
บอกแล้วว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่! ไม่ใช่แค่จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก แต่ปัญหาฟันผุ เหงือกร่นก่อนวัยอันควร ไปจนถึงบรรดาโรคร้ายก็จะพากันถามหา หากจะดูแลช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างเดียวก็คงไม่พอ เพราะจริงๆ แล้วฟันคิดเป็นแค่พื้นที่ 25% ของช่องปาก และยังมีส่วนอื่นๆ ที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดได้ถึง ที่สำคัญอีกอย่างคือจะยังมีแบคทีเรียอีกกว่า 10 ล้านตัวตกค้างอยู่ภายในปากหลังจากเราคิดว่าเราแปรงฟันจนสะอาดแล้ว
เพราะฉะนั้นมาเริ่มดูแลรักษาสุขภาพช่องปากง่ายๆ ด้วยการบ้วนปากระหว่างวันกับ Listerine ที่สามารถกำจัดแบคทีเรียได้มากถึง 99.9% ดีกว่า จะได้เก็บเงินค่ารักษาไว้หาอะไรอร่อยๆ กินกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.washingtonpost.com/lifestyle/wellness/