ในชีวิตประจำวันของคนทำงาน โดยเฉพาะกับหนุ่มสาวออฟฟิศ ชีวิตเราล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการพิมพ์งานเอกสาร การใช้งานพลาสติก
เหล่านี้คือทรัพยากรที่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้วก็จะกลายเป็นขยะ และ Epson เองก็เล็งเห็นว่าขยะเหล่านี้ก็เป็นวัตถุดิบสำคัญที่พร้อมชุบชีวิตใหม่ ให้กลายเป็นของใช้ที่เกิดจากการใช้งานทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด
นี่จึงเป็นที่มาของแนวคิด “From Plastic To Fabric” ที่เดินตามเส้นทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG – Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติ ผ่านทางการสร้างสรรค์โครงการที่พาสังคมและสิ่งแวดล้อม เดินหน้าไปพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจที่ตอบความต้องการของผู้ใช้งาน
ระบบนิเวศที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
ที่ผ่านมา ทาง Epson เองก็ได้เดินตามเส้นทางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติผ่านทางการคิดค้นนวัตกรรมของการพิมพ์อย่าง Epson PaperLab เครื่องรีไซเคิลกระดาษเครื่องแรกของโลก หรือเครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์รุ่นใหม่ ที่ไม่ใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ (Heat-Free) และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ถึง 85% รวมทั้งพรินเตอร์เชิงพาณิชย์เพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ช่วยลดการใช้น้ำในกระบวนการพิมพ์ลงถึง 60% ช่วยลดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน และลดของเสียที่จะส่งออกต่อสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัทเอปสัน จึงไม่หยุดแค่เพียงการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการพิมพ์เท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมและสร้างสรรค์ให้ชีวิตประจำวันของคนทำงานมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมนำความสุขทั้งหมดส่งคืนสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่อาศัยเพื่อให้ยั่งยืนได้นานเท่านาน จึงเกิดเป็นโครงการครั้งใหม่ที่สอดรับกับนโยบายของสหประชาชาติและนโยบายงดใช้ถุงพลาสติกของประเทศ
From Plastic To Fabric
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการขานรับนโยบายงดใช้ถุงพลาสติกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทางบริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกับ ผศ.ดร. เวชสวรรค์ หล้ากาศ และโครงการ Green Road จึงดำเนินการผลิตถุงผ้าจากวัสดุรีไซเคิล สำหรับนำไปแลกกับถุงพลาสติกจากหนุ่มสาวออฟฟิศในอาคารสำนักงาน 10 แห่งทั่วกรุงเทพฯ
ความพิเศษของถุงผ้ารักษ์โลกใบนี้ คือการพิมพ์ลายด้วย Epson SureColor SC-F2130 พรินเตอร์ระบบ Direct-To-Garment ของเอปสันที่ใช้สำหรับงานสินค้าแฟชั่นและเครื่องแต่งกายโดยเฉพาะด้วยหัวพิมพ์ PrecisionCore จึงเป็นถุงผ้าที่สวยงาม สร้างสีสันให้กับไลฟ์สไตล์ของคนทำงานออฟฟิศ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีงามอย่างยั่งยืน
Green Road จากถุงพลาสติกสู่บล็อกปูพื้น
ผลตอบรับที่ดีเกินคาดจากหนุ่มสาวออฟฟิศทั่วกรุงเทพฯ ที่ส่งต่อถุงพลาสติกเหลือใช้จากชีวิตประจำวัน ซึ่งทางเอปสันรวบรวมถุงพลาสติกเหล่านี้ได้มากถึงกว่า 30,000 ใบ และส่งต่อให้โครงการ Green Road ทำหน้าที่คัดแยก และเปลี่ยนจากขยะพลาสติกกลายเป็นอิฐบล็อก สำหรับปูนพื้นทางเดินและลานกิจกรรมภายในวัดหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่
อิฐบล็อกที่ได้เป็นผลิตผลจากการนำถุงพลาสติกและขยะพลาสติกมารีไซเคิล โดยให้ยังคงประสิทธิภาพของอิฐบล็อกปูพื้นที่จะต้องรับน้ำหนัก แรงสั่นสะเทือน และแรงกระแทกจากการใช้งานได้ดี ตัวอิฐเองต้องแข็งแรงทนทาน และใช้งานได้อย่างเต็มที่ตลอดอายุการใช้งาน ลานกิจกรรมและทางเดินภายในวัดที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเหมือนตัวแทนของการหมุนเวียนใช้งานทรัพยากรที่คุ้มค่าสูงสุด จากฝีมือของคนไทยทุกคน
พื้นที่กิจกรรม พื้นที่สิ่งแวดล้อม
โครงการนี้เป็นตัวแทนของการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า การรีไซเคิลเป็นเรื่องที่ทำได้จริง และเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนที่ใช้งานในพื้นที่ ให้ได้รับทั้งความสะดวกสบาย และความสุขจากพื้นที่กิจกรรมแห่งใหม่ภายในวัด ศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชนที่สืบทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผลสะท้อนอีกประการจากโครงการนี้คือ เราได้เห็นว่าผู้คนให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนการแยกขยะ การเลือกใช้งานทรัพยากร และการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับจุดยืนของที่ทางเอปสันยึดมั่นมาโดยตลอด ที่ต้องการเติบโตโดยผสานจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง