“สิ้นปีแล้ว ฉันจะหาทางลดหย่อนภาษียังไงดีเนี่ย”
วนมาอีกครั้งกับวัฏจักรปลายปีและภาษีที่รัก เมื่อเหล่ามนุษย์เงินเดือนเตรียมหัวหมุนกันอีกรอบ กับการต้องมานั่งหาทางลดหย่อนภาษีว่าพอจะมีวิธีอะไรที่ทำง่ายๆ บ้าง
ไหนจะต้องศึกษากองทุนสารพัด ไหนจะมาตรการต่างๆ ของรัฐฯ ซึ่งล้วนแล้วมีขั้นตอนกระบวนการชวนปวดหัว จะไปนั่งอ่านรายละเอียดก็ไม่มีเวลา นี่ยังไม่รู้เลยว่าจะอ่านบทความนี้จบหรือเปล่า หรือต้องสลับหน้าต่างไปส่งอีเมล์ก่อน
โอ๊ยยย มีวิธีลดหย่อนภาษีแบบง่ายๆ บ้างมั้ยเนี่ย!
เวลาผ่านไปเร็วเสมอสำหรับคนทำงาน
เคยเป็นไหม? พอเข้าวัยทำงานชีวิตก็ยุ่งแสนยุ่ง ทั้งๆ ที่ 1 วันมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไมวันเวลาผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน เผลอแป๊บเดียวนี่ก็จะหมดปี 2019 แล้ว
คำถามนี้ไม่ใช่แค่เราที่สงสัยหรอก เพราะนักจิตวิทยาก็เคยลงทุนทำทดลองคำถามนี้มาตั้งแต่ปี 2005 และค้นพบทฤษฎีว่าตอนเด็กๆ เวลาผ่านไปช้าเพราะสมองเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่อยู่ตลอด ขณะที่วัยทำงานสมองทำงานซ้ำๆ เดิมๆ จึงคุ้นชินกับประสบการณ์ต่างๆ นั้น พอย้อนนึกอะไรก็เหมือนผ่านไปเร็วเสมอ
เห็นแบบนี้ต้องมานั่งเช็คลิสต์ว่าปณิธานที่ตั้งไว้ต้นปี มีอะไรบ้างที่ทำสำเร็จบ้างนะ โดยเฉพาะเรื่องการลดหย่อนภาษี เหลือเวลาไม่มากแล้ว เร่งมือเลยค่ะ!
การลดหย่อนภาษีที่ใครๆ หลายคนลืมวางแผน
การจ่ายภาษีเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเวียนมาปวดหัวเป็นประจำทุกปี เพราะนั่นเป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยแต่ละคนจะต้องจ่ายภาษีตามอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่อัตราเงินได้ในปีนั้นๆ ทว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนทำได้เหมือนกัน ก็คือการวางแผนลดหย่อนภาษีซึ่งมีแนวทางสารพัดในการทำ
การลดหย่อนภาษีนั้น ถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่จะทำให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษีน้อยลง และบางครั้งอาจทำให้ผู้เสียภาษีได้รับเงินเงินคืนเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือเราเข้าใจหลักเกณฑ์การลดหย่อน สิทธิประโยชน์ และข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้เราสามารถวางแผนภาษีได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ และถูกต้องตามกฎหมาย
เพราะถ้าเกิดวางแผนผิดไปนิดเดียว อาจเข้าเกณฑ์ชำระไม่ถูกต้องกระทั่งถึงเจตนาหนีภาษี ซึ่งบทกฎหมายลงโทษด้วย
เตือนแล้วนะ!
เช็คดูการลดหย่อนภาษี อะไรบ้างที่ทำได้ง่ายๆ
สำหรับการลดหย่อนภาษีมีทั้งระดับพื้นฐานที่ทุกคนได้รับสิทธิเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท หากมีลูกก็สามารถลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตรอายุไม่เกิน 25 ปีได้คนละ 30,000 บาท แต่ถ้าเป็นคนที่ 2 ที่เกิดปี 2561 เป็นต้นไปจะได้ 60,000 บาท ฯลฯ
รวมไปถึงการลดหย่อนระดับแอดวานซ์อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะทำตามเงื่อนไขหรือไม่ ซึ่งวันนี้ขออนุญาตยกตัวอย่างหัวข้อง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ เช่น สำหรับสายท่องเที่ยวก็มีมาตราการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศลดหย่อนตามจริงที่จ่าย ซึ่งในปีนี้มีแบ่งทั้งเมืองหลักไม่เกิน 15,000 บาท และเมืองรองไม่เกิน 20,000 บาท
- สายนักอ่านไม่ว่าจะเป็นหนังสือเล่มหรือ e-book สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงที่จ่าย รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
- สายกีฬาที่ซื้ออุปกรณ์การศึกษาและอุปกรณ์การกีฬา ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงที่จ่าย ไม่เกิน 15,000 บาท
- หรือสายช้อปปิ้งสินค้า OTOP ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงที่จ่าย ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นกัน
- และสำหรับสายคุ้มที่ชอบซื้อประกันสะสมทรัพย์ไว้ลดหย่อนภาษี สามารถลดหย่อนได้ตามจริงที่จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งไม่เพียงมีประกันไว้คุ้มครอง แต่ยังให้ผลตอบแทนดีๆ เหมือนการออมเงินเพื่ออนาคตอีกด้วย
การลดหย่อนภาษี มีหลากหลายวิธีก็จริง แต่สิ่งที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนวัยทำงานมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการเลือกซื้อประกันสะสมทรัพย์ เพราะได้ทั้งออมเงิน ผลตอบแทน ความคุ้มครอง และการลดหย่อนภาษี แต่รู้หรือไม่ว่าในภาวะเศรษฐกิจขาลง ดอกเบี้ยธนาคารน้อยจนแทบจะเข้าใกล้ติดลบแบบทุกวันนี้ ประกันสะสมทรัพย์ที่ว่าดี ก็หาซื้อยากขึ้นทุกวัน เพราะบริษัทประกันหลายเจ้าทะยอยปิด ไม่ขายประกันประเภทนี้ เพราะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการการันตีผลตอบแทน ทำให้ตัวเลือกในการลดหย่อนภาษีลดลงไปด้วย ใครที่สนใจประกันประเภทนี้เพื่อลดหย่อนภาษีในปีนี้ ก็ยังพอมีความหวัง เพราะยังคงมีบริษัทประกันบางบริษัทที่ยังเปิดขายแบบประกันสะสมทรัพย์และให้ผลตอบแทนที่ดี แถมยังซื้อเองได้ผ่านออนไลน์อีกด้วย
ประกันสะสมทรัพย์ออนไลน์ Easy E-SAVE ซื้อเองได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับคนวัยทำงานที่ต้องการลดหย่อนภาษีโดยการซื้อประกันสักตัว หลายคนอาจคิดว่าต้องมีขั้นตอนวุ่นวายสารพัด แต่สำหรับ FWD มีประกันสะสมทรัพย์ Easy E-SAVE ที่ซื้อออนไลน์ได้ง่ายภายใน 10 นาทีก็คุ้มครองทันที และสามารถนำไปลดหย่อยภาษีได้
ประกันสะสมทรัพย์เป็นประกันคุ้มครองระยะยาวที่จะสร้างความมั่นใจให้กับคุณในอนาคต ด้วยการผลตอบแทนสูงและดีกว่าดอกเบี้ยธนาคาร นับเป็นจุดได้เปรียบและเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้ออย่างแท้จริง โดยทุกๆ ปีการันตีได้รับเงินคืนสบายๆ 6% ของทุนประกัน ซึ่งหากจ่ายผ่านเครดิต KTC สามารถแลกรับเงินคืนได้ถึง 15% เรียกได้ว่าได้ทั้งประกันและได้ทั้งเงินออมไปในตัว
การซื้อประกันสะสมทรัพย์ Easy E-SAVE สามารถทำได้เพียง 4 ขั้นตอนง่ายๆ แค่กรอกข้อมูลสุขภาพ, กรอกข้อมูลผู้ขอเอาประกัน, ยืนยัน, ชำระเงิน เพียงเท่านี้ก็ทำรายการสำเร็จแล้ว สามารถเลือกเบี้ยประกันได้ตามใจ หากคุณยังไม่ทราบว่าควรซื้อประกันด้วยเบี้ยเท่าไหร่ ลองเลือกรายรับที่ใกล้เคียงกับคุณมากที่สุดเพื่อดูเบี้ยประกันที่เราแนะนำ
รายรับต่อเดือน | การออมต่อปี 10% | การออมต่อปี 15% | การออมต่อปี 20% |
>40,000 บาท/เดือน | เบี้ยประกันต่อปี 20,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 30,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 40,000 บาท |
>80,000 บาท/เดือน | เบี้ยประกันต่อปี 40,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 60,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 80,000 บาท |
>120,000 บาท/เดือน | เบี้ยประกันต่อปี 60,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 90,000 บาท | เบี้ยประกันต่อปี 120,000 บาท |
แต่ถ้ามีเบี้ยที่ต้องการในใจอยู่แล้ว ก็สามารถลองคำนวณดูผลประโยชน์ง่ายๆ ได้ที่ https://fwdth.co/BW6m
ความง่ายนี้มาพร้อมสิทธิประโยชน์ที่ #ของมันต้องมี กับการจ่ายเบี้ยสั้น ชำระเบี้ยเพียง 4 ปี รับความคุ้มครองชีวิต 10 ปี โดยเบี้ยประกันเต็มจำนวนนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ประกันสะสมทรัพย์ Easy E-SAVE ซื้อง่าย ได้คุ้ม ให้คุณพร้อมสำหรับทุกอย่างในชีวิต สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1351 หรือคลิกซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีที่ https://fwdth.co/2pVH
อ้างอิงข้อมูลจาก