คงไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่า ไม่มีช่วงเวลาไหนของมนุษยชาติที่การสื่อสารภายในองค์กรจะสำคัญมากเท่าวันนี้มาก่อน
เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ทุกองค์กรเผชิญหน้ากับความท้าทายสารพัดสิ่ง หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนวิถีการทำงาน จากการนั่งออฟฟิศกลายเป็น Work From Home อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นับเป็นเรื่องใหม่ที่ทุกคนต้องปรับตัว ปรับใจ และปรับทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานกันหมดเลย
โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่แต่เดิมเฝ้ามองความสุขพนักงานในองค์กรได้ยากอยู่แล้ว กลับกลายเป็นเพิ่มดีกรีความยากมากขึ้นไปอีก ทำให้ไม่ว่าพนักงานจะทำงานอยู่ไหน เราก็จะตรวจวัดความสุขได้ยากเหมือนกันหมด
ดังนั้นจะดีกว่าไหม ถ้าผู้บริหารมีเทคโนโลยีที่สามารถติดตามความสุขของพนักงานได้ทุกวัน แถมยังได้ Feedback ด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง อย่าง Happily.ai เครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการสื่อสารภายในองค์กร (Workplace Happiness) เพื่อรักษาความสุขให้พนักงานโดยเฉพาะ
Work Form Home ทำให้ Workplace Happiness ลดลง
จริงๆ แล้วการทำงานอยู่บ้านก็มีข้อดีอยู่หลายอย่าง ทั้งการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถจัดสรรเวลาทำงานและพักผ่อนได้เอง หรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่นั่นก็แลกมาด้วยความเครียดที่พนักงานอาจปรับตัวไม่ทัน
ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่ว่าตัวเองติดเชื้อหรือยังนะ เครียดจากการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับใคร หรือเครียดจากสภาวะบ้านไม่ใช่สถานที่พักผ่อนอีกต่อไป เพราะพื้นที่การทำงานและพื้นที่ส่วนตัวกลายเป็นพื้นที่เดียวกันไปแล้ว
สภาวะดังกล่าวกลายเป็นความท้าทายของการ Work From Home ที่ผู้บริหารจะต้องหาทางสื่อสารกับพนักงานให้มากขึ้น เพราะความห่างไกลย่อมหมายถึงการพูดคุยกันที่น้อยลง ทำให้ไม่รู้ว่าตอนนี้พวกเขากำลังหมดไฟหรือมีความสุขในการทำงานหรือเปล่า
รู้ตัวอีกทีพนักงานที่รักก็ส่งอีเมลขอลาออกเสียแล้ว
Workplace Happiness สิ่งสำคัญที่หัวหน้าต้องดูแล
มีข้อมูลจาก วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่ได้สำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครช่วงปลายปี 2562 จํานวน 1,280 คน พบว่า
12% ของคนวัยทำงานอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) และ 57% กำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ซึ่งกลุ่ม Gen Z เป็นวัยที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ที่ 13% และกลุ่ม Baby Boomer ที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟ 7%
ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น หลายองค์กรจึงให้ความสำคัญกับการรักษาความสุขของพนักงานเพื่อสร้าง Workplace Happiness มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การสำรวจและการวัดความสุขของพนักงานเป็นเรื่องยาก การใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
เมื่อ HR จับมือกับเทคโนโลยี
เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเวลา นับวันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะยิ่งรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ทุกวงการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
ในวงการ HR ก็เช่นกัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวช่วยใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เกิดเป็น HR Tech ที่ HR ยุค 4.0 ต้องปรับตัว ผู้บริหารทุกองค์กรจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ทัน เพื่อพร้อมเข้าสู่การเป็น Digital Transformation เต็มตัว
อย่างประเด็นการสื่อสารในองค์กรที่หายไป บางครั้งการแชทผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอหรอก เพราะเราไม่สามารถประเมินความสุขผ่านตัวอักษรได้อย่างเดียว องค์กรยุคใหม่จึงจำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยีที่แก้ปัญหาเรื่องการสื่อสารองค์กร รวมถึงช่วยดูแล Workplace Happiness โดยเฉพาะ
และนั่นก็คือ Solution ของ HR Tech ที่ชื่อว่า Happily.ai
Happily.ai แอปจากใจที่คนไทยทำเอง
Happily.ai คือแพลตฟอร์มสร้างความสุขในสถานที่ทำงาน (Workplace Happiness) ผ่านการมีส่วนร่วมกับพนักงาน (Employee Engagement) เพื่อรักษาความสุขในองค์กร เป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ตั้งเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน และสร้างพฤติกรรมเชิงบวกด้วยกัน และเมื่อพนักงานมีความสุขมากขึ้น ก็จะทำงานออกมาได้ดีและได้ปริมาณที่มากขึ้นตามไปด้วย
เครื่องมือนี้ออกแบบให้ใช้งานง่าย ผ่านคาแร็กเตอร์น่ารัก ดูสนุก และเป็นมิตร สามารถช่วยดูแลสุขภาพจิตและความเครียดของพนักงานผ่านการสำรวจความสุขของพนักงานรายวันในรูปแบบคล้ายการเล่นเกม (Gamification)
โดยแต่ละวัน Happily.ai จะดูว่าพนักงานมีความสุขมากน้อยแค่ไหน พร้อมชุดคำถามสั้นๆ ที่เหมือนคนคุยกัน เช่น การถามว่า “วันนี้ทำงานเป็นยังไงบ้าง” “กับเพื่อนร่วมงานโอเคไหม”
รวมไปถึงการตั้งคำถามในบรรยากาศเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เช่น “ชอบอะไรในตัวเพื่อนร่วมงาน” “สัปดาห์ที่แล้วทำอะไรให้หัวหน้าภูมิใจ” ซึ่งพนักงานสามารถสะสมเหรียญเวลาตอบเพื่อนำมาแลกของรางวัลได้ต่อไป
ผู้บริหารไร้ความกังวลเรื่องพนักงานลาออก
นอกจากการถาม-ตอบรายวันแล้ว Happily.ai ยังสามารถรับ Feedback จากพนักงานได้วันต่อวัน ทำให้ผู้บริหารเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กรได้แบบเรียลไทม์ ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กรว่าเป็นอย่างไร หากเกิดปัญหาใด ก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ลดปัญหาความสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวได้
สิ่งนี้ทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น มีความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้น ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาในการสรรหาพนักงานใหม่ได้ถึง 25% เห็นได้จากผลลัพธ์จากการใช้งานจริงที่ผ่านมา มีจำนวนพนักงานกว่า 1,000 ทีมที่ให้การยอมรับและเข้าใช้งาน Happily.ai มากกว่า 97%!
สิ่งนี้จะลดความกังวลสูงสุดของผู้บริหารต่อพนักงานได้ โดยเฉพาะการไม่สามารถรักษาพนักงานมือดีไว้ในองค์กร ซึ่งบางครั้งสาเหตุที่ทำให้พนักงานคนหนึ่งตัดสินใจลาออกก็มาจากปัญหาเล็กๆ ในองค์กรเท่านั้น เช่น การไม่ลงรอยกับเพื่อนร่วมงาน เงินเดือนน้อยเกินไป การถูกทวงงานในวันหยุด หรือแม้กระทั่งความเครียดจากการ Work From Home อย่างเดียว
เหมือนที่คุณ ทรีฟ แจเฟอรี่ (Tareef Jafferi) ผู้ริเริ่มแอป Happily.ai เคยให้สัมภาษณ์ใน HR NOTE.asia ว่า “พนักงานไม่ได้ลาออกจากบริษัท แต่ลาออกจากหัวหน้าของตัวเอง รู้สึกหาเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการทำงานไม่เจอและไม่มีความสุขเพราะไม่มีความเป็นทีม โดยเฉพาะในเด็กยุคใหม่ เขาเริ่มให้ความสำคัญกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานมากพอๆ กับเรื่องเงิน”
Happily.ai จะเป็นเครื่องมือที่ลดปัญหาดังกล่าวได้ เพราะ HR จะสามารถรายงานข้อมูลความสุขของพนักงานได้ทุกวัน ช่วยให้หัวหน้าเข้าใจสิ่งที่ทีมกำลังเผชิญ รวมถึงคำแนะนำเบื้องต้นในการรับมือปัญหาต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริหารเป็นมากกว่าแค่เจ้านาย
อย่าลืมว่าการลงทุนกับคนเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด Happily.ai จะช่วยให้คุณรักษาใจพนักงาน สร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยการโฟกัสที่ “ความสุข” ในที่ทำงานนั่นเอง
เพราะทุกวันนี้ผู้บริหารไม่ได้มีหน้าที่แค่บริหารงาน แต่ยังมีหน้าที่ในการบริหารคน เราจึงต้องคำนึงถึงสุขภาพจิตของพนักงานควบคู่กันไป และเมื่อพนักงานมีความสุข ก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าและทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ Happily.ai จึงพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรอยยิ้มในที่ทำงานให้กว้างขึ้น
มาร่วม Workplace Happiness ไปกับ Happily.ai ได้ที่ https://happily.ai/th/
อ้างอิงข้อมูลจาก
th.hrnote.asia1
th.hrnote.asia2
th.hrnote.asia3
forbes1