หลายคนคงคุ้นเคยกับการเชื่อมั่นว่าแบรนด์ที่มาจากยุโรปหรืออเมริกาคือเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งทางธุรกิจมากที่สุดในทุกๆ อุตสาหกรรม
แต่ทุกวันนี้แบรนด์สัญชาติเอเชียหลายแบรนด์ได้ยืนยันถึงความเป็น Global Brand อย่างแท้จริงไปแล้ว จากการประเมินของ Brandfinance เมื่อปี 2017 แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกก็มีชื่อของแบรนด์จากเกาหลีใต้และจีนติดเข้าไปด้วย หรือจากรายงานของศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ Centre for Economics and Business Research: CEBR เผยว่า อิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียจะยังคงมีผลต่อเนื่องไปอย่างน้อยอีกสิบปีข้างหน้าจนโตแซงหน้าประเทศตะวันตก และคาดว่าในปี 2032 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด 4 อันดับแรกของโลก จะมีจีน อินเดีย และญี่ปุ่นอยู่ในนั้นด้วย
โอกาสของเราไม่ใช่เพียงแค่ได้ใช้สินค้าและบริการจากแบรนด์เอเชียเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสได้เป็นเจ้าของแบรนด์เหล่านี้ผ่านกองทุนรวม ที่ไปลงทุนในประเทศต่างๆ ในเอเชียด้วย ลองไปดูกันว่า แบรนด์สัญชาติเอเชียแบรนด์ไหนที่ทำให้โลกต้องหมุนรอบและชวนให้เราอยากลงทุนเป็นเจ้าของบ้าง
Uniqlo: ญี่ปุ่น
แบรนด์เสื้อผ้าที่เรียบง่ายแต่โดนใจคนทั้งโลก
ถ้าถามว่าแบรนด์เสื้อผ้าแบรนด์ไหนที่ถูกใจคนไทยอย่างเราๆ และเป็นที่นิยมมากที่สุดในเวลานี้ คงหนีไม่พ้นแบรนด์เสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Uniqlo ด้วยปรัชญาการออกแบบที่เรียบง่ายไม่อิงกับเทรนด์แฟชั่นใดๆ สวมใส่ได้ทุกโอกาส แถมยังมาพร้อมกับนวัตกรรมที่ช่วยให้การสวมใส่สบาย เรียกว่าเน้นฟังก์ชั่นนำดีไซน์ ทำให้แบรนด์นี้เป็นที่นิยมในหมู่ลูกค้าทุกเพศทุกวัย โดยเจ้าของแบรนด์นี้คือบริษัท Fast Retailing มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.1 ล้านล้านบาท ถือเป็นแบรนด์เสื้อผ้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกเลยทีเดียว เป็นรองแค่ Zara จากสเปน และ H&M จากสวีเดนเท่านั้น ปัจจุบันในบ้านเราเองมีสาขาทั่วประเทศมากถึง 35 สาขา ประกอบกับกลยุทธหลักในการทำการตลาดคือการเลือกศิลปินหรือดีไซเนอร์ชื่อดังระดับโลกมา collaboration ร่วมกันบ่อยๆ หรือดีลช็อคโลกล่าสุด นักเทนนิสระดับตำนานอย่าง Roger Federer เซ็นสัญญาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ จึงทำให้เรียกลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ให้หันมาสนใจแบรนด์ Uniqlo ได้ไม่ยาก ส่งผลให้รายได้ในไทยเมื่อปี 2560 มียอดรวมกว่า 8,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 กว่า 2 พันล้านบาท และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้
Tencent: จีน
เจ้าแห่งเกมมือถือที่ทำให้ทั้งโลกสนใจ eSports
เหล่าเกมเมอร์ทุกคนคงรู้จักเกม RoV เป็นอย่างดี แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าเกมนี้มีเจ้าของเป็นบริษัท Tencent บริษัทไอทีสัญชาติจีนที่ตอนนี้ถือได้ว่าเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่ากว่า 16.9 ล้านล้านบาท สร้างรายได้ในปี 2017 เหนือกว่าบริษัทเกมจากยุโรปอย่าง Microsoft เจ้าของเครื่องเกมคอนโซลอย่าง Xbox และ EA ที่เป็นเจ้าของเกม FIFA ชนิดเทียบกันไม่ติด เพียงแค่ตลาดเกมมือถือเพียงอย่างเดียวก็สามารถครองใจคนทั้งโลกได้แล้ว อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญในการปลุกปั้นกีฬา eSports ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอีกด้วย ขณะเดียวกัน Tencent ยังเป็นเจ้าของ WeChat แอปพลิเคชั่นที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 1,000 ล้านคนทั่วโลก ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นแค่คนจีนใช้เองก็ตาม แต่ความเจ๋งของเจ้าแอปนี้คือการทำให้ไม่ใช่แค่แอปสำหรับแชทเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมฟังก์ชั่นทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งเล่นเกม ฟังเพลง เรียกรถแท็กซี่ ช้อปปิ้ง รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก mobile payment เจ้าแรกๆ อีกด้วย ถึงขั้นที่มีการเรียกร้องให้ WhatsApp ลองศึกษาฟีเจอร์เจ๋งๆ จาก WeChat แล้วทำตามซะบ้าง
Bharti Airtel: อินเดีย
เครือข่ายโทรศัพท์มือถือคุณภาพที่ใหญ่สุดในเอเชียใต้
ด้วยข้อได้เปรียบของประชากรที่มากในประเทศอินเดีย ทำให้โอกาสด้านการลงทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหนึ่งในธุรกิจสำคัญที่แข่งขันกันสูงมากในอินเดีย คือการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากการประมูลเป็นเจ้าของสัญญาณจะแบ่งเป็นรัฐๆ ไม่เหมือนบ้านเราที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ทำให้ผู้เล่นหลายรายต้องแข่งขันกัน ซึ่งอันดับหนึ่งในตอนนี้คือ Bharti Airtel ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และใหญ่เป็นอันดับสามของโลก โดยวัดจากจำนวนผู้ใช้งานกว่า 429 ล้านคน เป็นรองแค่ China Mobile จากจีนและ Vodafone จากอังกฤษเท่านั้น ครอบคลุมเครือข่ายกว่า 20 ประเทศทั้งในแถบเอเชียใต้รวมไปถึงประเทศในแถบแอฟริกาอีกด้วย โดยล่าสุด Bharti Airtel มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้การตลาดหลักที่ใช้คือเน้นราคาค่าโทรที่ถูก แต่กลับตอบแทนด้วยสัญญาณคุณภาพสูง ทำให้ครองใจผู้ใช้บริการชนิดข้ามทวีปเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าโปรไฟล์ของแบรนด์สัญชาติเอเชียที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้ ล้วนเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน เพราะมีแนวโน้มที่จะเติบโตสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น แล้วเราจะเข้าไปลงทุนได้อย่างไร จะให้ไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แต่ละประเทศที่บริษัทเหล่านี้จดทะเบียนอยู่ ดูจะไม่ใช่เรื่องธรรมดา วิธีการที่เราทำได้ง่ายๆ สบายใจไม่ยุ่งยากคือการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ที่เรียกย่อๆ กันว่า FIF ซึ่งมีให้เลือกทั้งที่กระจายลงทุนในหุ้นทั่วเอเชีย หรือลงทุนเฉพาะในประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย กองทุนต่างประเทศเหล่านี้จะมีกองทุนหลักที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญการลงทุนในประเทศนั้นเป็นผู้คัดเลือกหุ้นที่จะลงทุน
นอกเหนือจากบริษัทที่พูดถึงกันไป ยังมีแบรนด์ดีๆ บริษัทเด่นๆ อีกมากที่กองทุนเหล่านี้เลือกลงทุน ทำให้เราผู้อยู่เมืองไทยมีโอกาสก้าวไกลไปมีส่วนเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านั้นได้เหมือนกัน อย่างกองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนอิควิตี้อินเด็กซ์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KF-HJPINDX) ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ Nikkei 225 Exchange Traded Fund ก็มีการลงทุน ในบริษัทเจ้าของแบรนด์ Uniqlo และอีกหลายธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น เช่น SoftBank Group ของ Masayoshi Son นักธุรกิจผู้ร่ำรวยที่สุดในญี่ปุ่น และ FamilyMart UNY Holdings
อีกกองทุนหนึ่งคือ กองทุนเปิดกรุงศรีเกรทเทอร์ไชน่าอิควิตี้เฮดจ์ปันผล (KF-HCHINAD) ซึ่งไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศคือ First State Greater China Growth Fund เป็นกองทุนที่ลงทุนทั้งในจีน ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกให้เลือกลงทุนมากมาย Tencent กับ Taiwan Semiconductor Manufacturing ก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน
ส่วนอินเดียที่ตอนนี้ถูกจับตามองว่าอัตราการเติบโตของ GDP จะแซงหน้าอเมริกาขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากจีนได้ในปี 2050 และกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ นอกจากธุรกิจสื่อสาร อีกธุรกิจที่น่าสนใจคือ สินค้าอุปโภคบริโภคที่เติบโตขึ้นมากจากประชากรจำนวนมหาศาล และการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อมากขึ้นต่อเนื่อง บริษัทอย่าง Nestle India และ Godrej Consumer Products ก็นับว่าน่าลงทุน กองทุนเปิดกรุงศรีอินเดียอิควิตี้ (KF-INDIA) จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้สนใจลงทุนไปกับการเติบโตของอินเดีย กองทุนนี้ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ First State Indian Subcontinent Fund ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาดที่แข็งแกร่งและมีอำนาจต่อรองสูง นอกจากกองทุนรวมเหล่านี้แล้ว บลจ.กรุงศรียังมีกองทุนที่ลงทุนในเอเชียอีกหลายกองทุนให้เลือก สนใจเปิดโลกของการลงทุนให้กว้างขึ้น เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนดีๆ จากธุรกิจชั้นนำทั่วเอเชีย ไม่จำกัดโอกาสของตัวเองอยู่เฉพาะแค่หุ้นไทย
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 0-2657-5757 หรือ http://bit.ly/TheMT_AsiaEQ
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.thansettakij.com/content/246838
https://en.wikipedia.org/wiki/Tencent
https://en.wikipedia.org/wiki/Bharti_Airtel
The long view: how will the global economic order change by 2050?, PwC, Feb. 2017
คำเตือน
ผลการดำเนินการในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือการเมืองในประเทศซึ่งกองทุนหลักได้ลงทุน
หมายเหตุ
KF-HJPINDX: ลงทุนในกองทุนหลัก Nikkei 225 Exchange Traded Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
KF-HCHINAD: ลงทุนในกองทุนหลัก First State Greater China Growth Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
KF-INDIA: ลงทุนในกองทุนหลัก First State Indian Subcontinent Fund (Class III USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ระดับความเสี่ยง 6 – สูง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน