โลกกำลังเข้าสู่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่ท้าทายที่สุดของการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน Disruption ในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลจากความต้องการที่จะให้คนเรามีคุณภาพชีวิต ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
จากการคาดการณ์ของ UN ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2050 ทำให้โลกมีความต้องการพลังงานที่สะอาดเพิ่มขึ้น เชลล์เชื่อมั่นในพลังแห่งความคิดและการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนอันจะทำให้เราสามารถไขคำตอบความท้าทายด้านพลังงานสำหรับอนาคตได้
เนื่องในวาระครบรอบ 125 ปีของการดำเนินกิจการในประเทศไทย เชลล์ประเทศไทย จึงจัดงาน ‘Make the Future Thailand’ (MtF) ขึ้นในระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2561 โดยเชิญผู้เชียวชาญในมิติต่าง ๆ หลายท่านที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย มาร่วมกันวิเคราะห์ถึง disruption ที่แต่ละท่านเผชิญอยู่และการรับมือด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายมาใช้ให้เกิดประโยชน์
แล้วนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีไหน จึงจะเหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทย โดยเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง?
นายไมเคิล จิตติวาณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้านธุรกิจ Google Thailand กับแนวคิด
“นวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชีวิตประจำวัน ด้วย Machine learning ที่จะช่วยพัฒนาสังคม และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน”
ทุกวันนี้มักจะมีคนที่เสริช์หาคำตอบจาก google ว่า อนาคตจะเป็นยังไง? โลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร? ซึ่งเป็นอะไรที่คาดเดาได้ยากมาก แต่วันนี้เราสามารถพูดถึงเรื่องเทรนด์ที่มันเปลี่ยนไปได้ อย่าง Technology trend ที่กำลังมา ว่าเราต้องดูเทรนด์ยังไง แล้วอะไรที่สำคัญ ซึ่งในเรื่องของเทรนด์ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือบริษัทใดๆ สร้างขึ้นมาเองได้ มันเกิดจากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เปรียบได้กับคลื่น แล้วเหมือนเราเป็นคนเล่นเซิร์ฟ ที่ทำยังไงให้เราไปอยู่บนคลื่นนั้นได้ การเล่นเซิร์ฟมีจุดสำคัญสองอย่าง อย่างแรกเลยคือ timing หากเราพยายามขึ้นคลื่นเร็วเกินไป หรือขึ้นคลื่นช้าเกินไป ก็จะล้มพังลงมา แต่สำหรับใครมองเห็นคลื่นและขึ้นได้ตรงเวลาก็จะทำให้เราอยู่กับคลื่นลูกนั้นได้ แต่คลื่นก็จะมีหลายขนาดด้วยกัน วันนี้จะยกตัวอย่างคลื่นขนาดใหญ่ เช่น คลื่นสึนามิ สิบปีจะมีสักครั้งหนึ่ง แล้วถือเป็นคลื่นใหญ่ที่เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงโลกทั้งโลก อย่างเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่เริ่มมี Personal Computer ต่อมาก็มี Internet ซึ่งเป็นที่มาของ google เกิดมาในช่วงยุคนั้น ก็จะมี service ต่างๆ ที่ให้คนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันที ทำให้เกิด innovation ใหม่ๆ และต่อมาก็เริ่มมี Smart phone เกิดขึ้น ก็มี service จากบริษัทใหม่ๆ มี innovation ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด10 ปีที่ผ่านมา แต่อนาคตจากนี้ล่ะ?
เมื่อกลางปีที่แล้วนี้เอง Google เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์จาก Mobile first เป็น ‘AI first’ หรือที่เราเรียกว่า AI Machine Learning มันเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง innovation ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ในอีก 10 ปีข้างหน้าทาง technology จะสร้างบนพื้นฐานของ AI เป็นหลัก สั้นๆ AI คือการทำให้
Machine ฉลาดขึ้น คอมพิวเตอร์จะสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่ง Google ได้นำมาใช้กับทุกผลิตภัณฑ์ของ Google แล้ว สรุปแล้วสิ่งที่ผมอยากฝากไว้ก็คือ Machine Learning ที่จะเป็นคลื่นสึนามิลูกต่อไป คลื่นของการเปลี่ยนแปลงนี้มันจะเปิดโอกาสมากมาย เปิด possibility ในทุก industry ให้สามารถดึงมันไปใช้งาน ลองไปศึกษาดูว่าเราจะสามารถเชื่อมประโยชน์จากตรงนี้ได้ไง โดยใช้ Machine Learning เพื่อ improve industry society ของเรา ช่วยให้สังคมเราดีขึ้นได้ยังไง ก็อยากให้ลองใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้เต็มที่ครับ
“Machine learning จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม ช่วยพัฒนาสังคม และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคน”
ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) “นวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบ้านและเมือง ด้วย Innovation ที่ต้องนำมาใช้เพื่อในการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างของสังคมไทย”
ทุกวันนี้ความต้องการของคนเราแทบจะไม่เปลี่ยนเลย ตลอด 10 ปีที่ผ่าน Demand ของที่อยู่อาศัยซึ่งเป็น Basic Life ไม่ได้เปลี่ยนไป ดูได้จากที่อยู่อาศัยในเขตหลานหลวงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กับบ้านในยุคปัจจุบันก็ไม่ได้ต่างกัน มีประตูหน้าต่าง ห้องครัว ขนาดใกล้เคียงกัน แล้ว Innovation ของอสังหาริมทรัพย์หรือบ้านที่อยู่อาศัย มันเปลี่ยนในมุมไหนในเมื่อความต้องการของเราไม่ได้เปลี่ยนเลย
จริงอยู่ที่ Basic Need แทบจะไม่เปลี่ยน แต่มีการพัฒนาดีไซน์ให้ดีขึ้น ปัจจุบันการทำธุรกิจในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Platform revolution ซึ่งแตกต่างจากการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ที่เรามีผู้ผลิต เรามีคนออกแบบ เราหาลูกค้าแล้วก็ค่อยหอบไปขาย แต่ทุกวันนี้มันมีลักษณะแบบ “ตลาดนัด” (marketplace) ผู้ผลิต ผู้ใช้ ผู้ซื้อมาอยู่บนตลาดนัดเดียวกัน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ จนทำให้เราลด Search cost ลงได้
การลด Search cost ของวงการอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ต้องไปขออนุญาต เสียภาษี หรือหาเช่าป้ายอีกต่อไป สินค้าทั้งหมดของเราอยู่บน Platform เดียวกันคนทั่วโลกสามารถเห็นได้และเข้าถึงได้ทุกเวลา เพราะฉะนั้นปัจจุบัน เมื่อเราหาบ้านสักหลัง เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลจากโครงการต่างๆ ทำให้ Search cost ลดลง
อีกสิ่งที่ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลง คือ ทำเลที่ตั้ง (Location) และขนส่งมวลชน (Public Transportation) ที่ผมคิดว่าเป็นตัวกำหนดอนาคตของอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมีเนียมสมัยนี้อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้คนปัจจุบันเลือกซื้อคอนโดก่อนแล้วค่อยคิดเรื่องรถทีหลัง ธุรกิจเองมันถูก Disruption ด้วยปัจจัยที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า
แต่เมื่อคนรุ่นใหม่อาศัยคอนโดมากขึ้น ที่ดินในเมืองจะแพงขึ้นแน่นอน แล้วทำให้คนต้องออกมาอยู่นอกเมืองมากขึ้น ปัญหาเรื่องราคาที่ดินถูกขับเคลื่อนด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ราคาที่ดินใน 10 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นถึง 8% ในขณะรายได้คนเพิ่มเพียง 3%เท่านั้น ฉะนั้นรายได้คนจะตามไม่ทัน เราจะถูกบีบให้อยู่ที่แคบลงเรื่อยๆ จนถ้าอนาคตเราไม่มีการควบคุมเรื่อง Sizing ของอสังหาริมทรัพย์ สุดท้ายคนจะถูกผลักดันให้ไปอยู่นอกเมืองกันหมด
Innovation ต้องนำมาใช้เพื่อในการลดความเหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างด้วย เพราะไทยแลนด์ 4.0 มันต้องก้าวไปด้วยกัน โดยที่เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง นวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบ้านและเมือง
เทคโนโลยี Disruption ที่เกิดขึ้นในเมือง เพื่อสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การมาของเทคโนโลยี disruption เกิดขึ้นในเมืองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลเพียงอย่างเดียว ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทางพฤติกรรม สังคมแล้วก็เศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้คำว่าบ้าน เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
ซึ่งบ้านในฝันยุคก่อน ต้องมีอาณาเขตกว้างขวาง มีสวนหลังบ้านไว้นั่งเล่น มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ แต่พื้นที่เหล่านี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงทั้งรูปแบบและขนาด คนรุ่นใหม่แต่งงานน้อยลงหรือแต่งงานแล้วอาจไม่มีลูก รวมไปถึงการอยากลดภาระการเดินทาง
ฉะนั้นเราจึงยอมเลือกจ่ายเงินซื้อบ้านที่มีราคาต่อตารางเมตรสูงลิบลิ่ว แลกมาด้วยความสามารถควบคุมเวลา ที่จะเหลือไปใช้ชีวิตด้านอื่นๆ แทนจะนั่งแช่อยู่ในรถยนต์ พื้นที่ที่กว้างๆอันคุ้นชินในบ้าน จะเปลี่ยนแปลงจนมีขนาดเล็กลงจนเราไม่สามารถทำทุกอย่างในบ้านได้ เราจึงต้องออกมาทำพื้นที่นอกบ้าน จนเกิดแรงผลักที่ทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆ ในเมือง อย่างเช่น พื้นที่ไม่ใช่บ้าน พื้นที่ไม่ใช่ที่เรียน พื้นที่ไม่ใช่ที่ทำงาน หรือรู้จักในชื่อ “พื้นที่ที่ 3” (third place)
ในอดีตก็มีแต่ห้าง ทำงานเสร็จ เรียนเสร็จ ไม่รู้จะไปไหนก็ห้าง แต่ตอนนี้เนี่ยมีทางเลือก พื้นที่เหล่านี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ co-working space เรามีคอนโดแต่เราก็เลือกที่จะมานั่งทำงานที่ too fast too sleep เนี่ย ทั้งคืน ทำงานร่วมกับคนอื่นๆ แล้วก็จะเห็นพื้นที่เหล่านี้ เกิดขึ้นมากมาย ในเมืองของเรา
เพราะฉะนั้นเนี่ยตอนนี้พอพูดถึงบ้าน มันอาจจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป แต่อาจจะมองพื้นที่รอบๆ ที่อยู่อาศัยของเขาเป็นเหมือนพื้นที่ต่อขยายของบ้านเขาเอง เพราะฉะนั้นคนจะเริ่มมองหา
พื้นที่ย่านที่สามารถที่จะมีฟังก์ชั่นเป็นระเบียงนั่งเล่น เป็นสวน เป็นพื้นที่อ่านหนังสือ ที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่พบปะกับคนอื่นๆ ได้ ในชุมชนอื่นๆ ได้ ย่านใดที่สามารถที่จะเติมเต็มความต้องการเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นย่านที่คนเลือกที่จะเข้าไปอยู่ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองหรือ UDC เชื่อว่าย่านดีสร้างได้ พันธกิจสำคัญของเรา คือการเสนอ Urban Solution ให้กับเมืองในการสร้างสรรค์ฟื้นฟูย่านที่ดีสำหรับทุกคน เราทำงานร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการพัฒนาฟื้นฟูย่านเก่า สร้างย่านแบบใหม่ รวมไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิตใหม่บนย่านเก่า ที่เราเข้าไปใช้ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนของเมือง
ท้ายสุดนี้ บ้านในความหมายของคนเมืองรุ่นใหม่ปัจจุบันได้ขยายขอบเขตไปจากพื้นที่ส่วนตัว ออกไปสู่ย่านรอบๆ ตัว แล้วก็ย่านมันไม่สามารถที่จะพัฒนาด้วยตัวมันเองได้ แต่ต้องการ disruption ต้องการข้อมูลในการที่จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาที่ทำให้ย่านสามารถที่จะมีการฟื้นฟู เพื่อที่จะเป็นย่านที่น่าอยู่สำหรับทุกคน เมืองที่มีการออกแบบไว้อย่างดี แล้วก็ย่านที่มีการออกแบบไว้อย่างดีบนฐานข้อมูล อย่างที่นำเสนอไปก็เชื่อว่ามันจะเป็นย่านที่จะสามารถเป็นบ้านที่น่าอยู่ของคนทุกกลุ่มในเมือง
ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพลังงานกับการขับเคลื่อน
ปัจจุบันระบบการผลิตไฟฟ้าเมืองไทยจะถูก Disruption อย่างน่าสนใจ ซึ่งสิ่งที่จะมา disrupt ระบบไฟฟ้าของไทย คือต้นทุนที่ลดลงของการผลิตไฟฟ้าจากแผงแสงอาทิตย์และแรงพลังงานทดแทนอื่นๆ เพราะปัจจุบันระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงแสงอาทิตย์รวมติดตั้งเบ็ดเสร็จถึงลูกค้าท่าน ถ้าเป็นไซต์ใหญ่ อาจจะใช้ต้นทุน 3-4 บาท ซึ่งถูกกว่าค่าไฟของลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งทุกวันนี้ลูกค้ารายใหญ่จะใช้ไฟฟ้าที่เรียกว่า TOU (time of use) หมายถึง ไฟฟ้ากลางวันแพง กลางคืนถูก เพราะฉะนั้นลูกค้าเหล่านี้ที่มีหลังคาเยอะๆ เช่น โรงงานก็จะให้ความสนใจที่จะติด Solar loop ด้วยตนเองแทน
ดังนั้นกระแสของการ Disrupt พลังงานไฟฟ้าจะเน้นหรือจะหันมาที่การปั่นไฟเอง (self-generate) เพียงแค่ปั่นให้ตัวเองได้ใช้ก็ถือว่าเกิด Disruption ในระดับหนึ่ง ถ้าในอนาคตกฎระเบียบเปิดมากขึ้น เราสามารถทดลองระบบที่ปั่นเพื่อแจกจ่ายให้คนอื่นๆจนเกิด Pier to pier trending เช่น หากไฟฟ้าของเราเหลือก็สามารถขายให้บ้านข้างๆได้
แต่ประเด็นที่วงการพลังงานยังแก้ไม่ตก คือทำอย่างไรให้เก็บไฟจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน แล้วใช้ในตอนกลางคืนได้ คำตอบคือเทคโนโลยี “แบตเตอรี่พาวเวอแบงค์” (Energy storage) ที่ยังคงมีราคาแพง เพราะในหนึ่งวันอาจใช้ได้นานแค่ 1 ถึง 2 ชั่วโมงที่จะสามารถเก็บพลังงานในตอนกลางวัน แล้วมาใช้หนักๆ ตอน 1 หรือ 2 ทุ่ม จนกลายเป็นกราฟหลังเป็ด (Duck curve) เกิดเป็นรูปแบบที่เพี้ยนหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นตัวที่จะมาแก้เรื่องนี้ได้คือ Energy storage ที่มีประสิทธิภาพสูง
เราอาจ disrupt ระบบไฟฟ้าในบางย่าน บางพื้นที่ แล้วทำให้เกิดระบบที่เรียกว่าซื้อขายกันเอง (Pier to pier trading) โดยการควบคุมของ AI ที่จะทำการ Matching ว่าใครใช้ไฟเกิน ใครใช้ไฟน้อย ระบบจะทำการสั่งเรียกกระแสไฟฟ้าได้
ผมเชื่อว่าระบบ Digital platform digital technology smart device กำลังเข้าสู่วงการพลังงานของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องไฟฟ้า การควบคุมสั่งจ่ายไฟฟ้าที่เราหลีกเลียง Digital ไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่า รัฐจะยอมหรือไม่ ถ้ายอมแล้วจะขับเคลื่อนอย่างไร
ซึ่งประเด็นประเทศไทยนั้น ต้องลองพื้นที่เล็กๆก่อน สามารถควบคุมง่าย ลงทุนอาจจะไม่มากนัก มีความเสี่ยงต่ำ แล้วค่อยขยายผลอย่างเข้าอกเข้าใจ
นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ และกรรมการบริหารธุรกิจการตลาดค้าปลีกภูมิภาคตะวันออก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด นวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพลังงานกับการขับเคลื่อน
เรามาลองจินตนาการถึงอนาคตกันครับ ถ้าเราดูในเรื่องของ“ขยะ”ต่างๆ ที่เรามี ซึ่งปัจจุบันเราอาจจะมองว่าขยะจากการทำเกษตรกรรมสามารถเอาไปเผาเพื่อให้ได้พลังงานมาใช้ส่วนหนึ่ง หรืออีก 20% ได้จากขยะในเมือง เมื่อมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ขยะเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเกิดเราเอาขยะเหล่านี้มากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้ล่ะ? อาจจะเป็นการ Disruption ที่น่าตื่นเต้นซึ่งถ้าสามารถทำได้ ในอนาคตเราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงกลั่นใหญ่ๆ แต่มีเพียงโรงกลั่นเล็กๆ ตามหัวเมืองใกล้แหล่งขยะเหล่านี้ ก็จะลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้มาก เกษตรกรจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะมีการใช้พลังงานที่เราปรุงเองได้ในประเทศ และสิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นในแง่การลดขยะเมือง
ทีนี้เรามาลองดูเรื่องของยานพาหนะ เรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งอันหนึ่งที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือรถไฟฟ้าที่ใช้เอทานอลร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นพลังงาน ช่วยให้เกษตรกรจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะว่ารถพลังงานเอทานอลนั้น เกษตรกรเป็นผู้ปลูก ทำให้เราลดการใช้น้ำมันดิบ ความสะดวกสบายของคนก็เพิ่มมากขึ้น หากแบตเตอร์รี่รถไฟฟ้ายังต้องใช้เวลาชาร์จนาน มีการลงทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ปั๊มในอนาคตหรือที่ไหนก็ตาม มันจะมีสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้นในแง่ของการลงทุนค่อนข้างจะมากมาย แต่ถ้าเผื่อเป็นเอาเอทานอลมาเต็มรถไฟฟ้าเลยละ มันจะลดความยุ่งยากลงไปได้สักแค่ไหน
สิ่งที่สำคัญที่เราต้องมองต่อไปข้างหน้านอกจากนวัตกรรม คือการพัฒนาคนที่จะเข้ามาช่วยเราคิด เพื่อโลกอนาคตอีก 30-40 ปีข้างหน้า เราจะอยู่กันยังไงเชลล์ให้เวทีกับนักศึกษา 3 สถาบันเพื่อให้เขาจำลองภาพสถานการณ์ในอนาคตว่า อีก 30-40 ปีข้างหน้า ความเป็นอยู่อาศัยมันจะเปลี่ยนไปเช่นไรบ้าง ซึ่งเป็นเวทีอันหนึ่งที่เชลล์ พยายามถ่ายทอดการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์หรือ Scenario Planning เป็นคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เชลล์ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชียวชาญเรื่องนี้และใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของเชลล์มากว่า 40 แล้ว เพื่อสอนให้นักศึกษารุ่นใหม่ๆ นำมาใช้และช่วยกันวางแผนกลยุทธ์เรื่องความเป็นอยู่และพลังงานอนาคตให้กับประเทศ
นอกจากนี้ยังมี การแข่งขันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทย ใช้ความคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ยานพาหนะที่ ใช้พลังงานขับเคลื่อนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอทานอล ฟิวเซลล์ ไฮโดรเจน แก๊สธรรมชาติ ที่สามารถคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วน มาเป็นผู้วิจัยและพัฒนายานพาหนะในอนาคตได้