เคยสงสัยไหมว่า นาฬิกาบนอวกาศทำงานยังไง?
ก็แหม แค่ระบบเวลาบนโลกก็เหมือนมิติพิศวงในวงการวิทยาศาสตร์แล้ว ยิ่งระบบเวลาในอวกาศก็ยิ่งกลายเป็นเรื่องลึกลับที่หลายคนยังหยิบยกทฤษฎีต่างๆ มาถกเถียงได้ไม่เว้นวัน เพราะมีปัจจัยสารพัดที่ทำให้เวลาบนโลกและบนอวกาศต่างกัน เช่น แรงโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก หรือความเร็ว ฯลฯ เวลาบนอวกาศจึงเกิดความบิดเบี้ยวได้เสมอ
ถึงกระนั้นนักบินอวกาศยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่นาฬิกาเพื่อใช้คำนวณเวลา แม้เราจะมีอุปกรณ์ไฮเทคสารพัด แต่นาฬิกาไขลานก็ยังเป็นนาฬิกาที่มีระบบแม่นยำสูงระดับวินาที ซึ่งนาฬิกาที่สามารถใส่ไปนอกโลกนั้น เราก็สามารถจับจองมาคาดข้อมือได้เช่นกัน
วินาทีอวกาศในหน้าประวัติศาสตร์นาฬิกา
ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ในการเยือนอวกาศ หลายคนย่อมนึกถึงวินาทีที่ นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกจากยาน Apollo 11 ตามมาด้วยเพื่อนนักบินอวกาศ บัซซ์ อัลดริน (Buzz Aldrin) ที่ความพิเศษอยู่ที่ข้อมือของเขา เมื่ออัลดรินคาด OMEGA Speedmaster ลงไปด้วย ทำให้ OMEGA กลายเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่ใส่บนดวงจันทร์จนได้รับการขนานนามว่า Moonwatch
แต่อีกหนึ่งประวัติศาสตร์อวกาศที่นาฬิกามีส่วนพลิกชะตากรรมนักบินอวกาศให้รอดพ้นจากโศกนาฏกรรมร้ายแรง ก็คือช่วงเวลาวิกฤติของยาน Apollo 13 เมื่อถังออกซิเจนเกิดประกายไฟ นำไปสู่การระเบิดขึ้นบนยานบริการ ด้วยระยะทางที่ไกลเกินกว่าจะหันหลังกลับ ลูกเรือต้องขับเคลื่อนยานหลักโดยใช้แรงดึงดูดของดวงจันทร์ เหวี่ยงยานกลับมาสู่โลก
ไม่เท่านั้น พลังงานบนยานก็ใกล้หมดเต็มที พวกเขาจึงต้องปิดระบบยานทุกอย่างที่ไม่จำเป็น อุปกรณ์อย่างเดียวที่สามารถใช้คำนวณในการเดินทางกลับได้ มีเพียงนาฬิกา OMEGA Speedmaster ที่คาดอยู่ข้อมือนั่นเอง พวกเขาจึงใช้ OMEGA Speedmaster จับเวลาจุดระเบิดของเครื่องยนตร์เพื่อสร้างแรงดัน ก่อนจะบังคับทิศทางพุ่งกลับสู่พื้นโลกได้สำเร็จ
จากประวัติศาสตร์เหล่านี้ทำให้นาฬิกา OMEGA มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมาถึงปัจจุบัน
OMEGA Calibre กลไกตะลุยอวกาศ
ย้อนกลับไปตามประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของ Speedmaster นาฬิการุ่นแรกที่มีการติดตั้งสเกลทาคีมิเตอร์บนขอบตัวเรือน เริ่มนับตั้งแต่เลข 1000 พร้อมหัวใจหลักคือการขับเคลื่อนด้วยจักรกลแบบ Calibre 321 ซึ่งไม่เพียงออกแบบกลไกให้มีความสวยงามประณีตแล้ว ยังมีจุดเด่นอยู่ที่วงล้อฟันเฟืองที่เต็มไปด้วยเทคนิคพิเศษ ทำให้มีความแม่นยำสูงและมีเสถียรภาพในการทำงาน
ในเวลาต่อมา OMEGA มีการพัฒนาขึ้นมาจนผ่านการทดสอบและรับรองจากองค์การนาซาให้เป็นนาฬิกาสำหรับนักบินอวกาศ จนกลายเป็นนาฬิกาประวัติศาสตร์ที่อยู่คู่ข้อมือนักบินอวกาศในหลายๆ โครงการ ทั้งโครงการ Mercury โครงการ Gemini และโครงการ Apollo ที่ บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) คาดนาฬิกาเดินบนดวงจันทร์ทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 36 นาที
กลไกที่เป็นเทคโนโลยีหลักของ OMEGA คือ Co-Axial Escapement ที่คิดค้นโดยนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวอังกฤษ ในช่วงทศวรรษที่ 1970s และแบรนด์ OMEGA ได้นำเอาเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้กับกลไกนาฬิกาครั้งแรกเมื่อปี 1999
จะว่าไปแล้ว Co-Axial Escapement ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติวงการนาฬิกาในรอบ 250 ปีที่ผ่านมา โดยมีส่วนช่วยลดการเสียดสีของชิ้นส่วนภายในนาฬิกา ทำให้ยืดอายุการใช้งานของกลไก ทั้งยังช่วยกลไกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเสถียร และเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น
ทำไมนาฬิกาจึงเป็นสิ่งสำคัญบนอวกาศ?
เมื่อระบบเวลาบนสถานีอวกาศแตกต่างกับเวลาบนโลก การลอยเท้งเต้งรอบโลกอย่างรวดเร็วทำให้กลางวัน-กลางคืนบนสถานีอวกาศมีช่วงเวลาที่สั้นมาก กล่าวคือสถานีอวกาศมักจะโคจรรอบโลกในเวลาเพียง 90 นาที นั่นหมายความว่านักบินอวกาศจะมีเวลากลางวัน 45 นาที และมีเวลากลางคืน 45 นาที
1 วันบนโลก ก็จะเท่ากับ 16 กลางวันและ 16 กลางคืนบนสถานีอวกาศนั่นเอง
นาฬิกาจับเวลาจำพวกโครโนกราฟจึงเป็นอุปกรณ์สนับสนุนชิ้นสำคัญ เพื่อให้นักบินอวกาศสามารถคำนวณเวลาในชีวิตประจำวัน ทั้งปลุก กิน นอน และการเดินทาง รวมไปถึงการเช็ก Time Zone เพื่อติดต่อกับศูนย์ภาคพื้นดิน นาฬิกาประเภทนี้จะมีเอกลักษณ์หน้าปัดย่อยอีก 3 หน้าปัดที่ยัดอยู่ในหน้าปัดใหญ่ มีความซับซ้อนในการเดินเข็มมากกว่านาฬิกาปกติ ช่วยให้มีความแม่นยำเที่ยงตรง ที่สำคัญคือสามารถใช้จับเวลาที่ละเอียดระดับเศษเสี้ยวของวินาที
นาฬิกาจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่นักบินอวกาศขาดไม่ได้นั่นเอง
ทัวร์แห่งอนาคต เราไปเที่ยวดวงจันทร์กันเถอะ
จะว่าไปแล้ว ปัจจุบันมีหลายบริษัททั้ง Virgin Galactic, Space Adventures หรือ SpaceX ของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) กำลังวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อจัดทัวร์สุดหรูในการเยี่ยมชมดวงจันทร์ ด้วยความหวังว่าจะเปลี่ยนการท่องเที่ยวอวกาศให้กลายเป็นเรื่องปกติ
แน่นอน การท่องเที่ยวสุดคลั่งแบบนี้ย่อมใช้เงินมหาศาล อย่างบริษัท Space Adventures ประเมินราคาเฉพาะบินวนรอบดวงจันทร์ไว้ที่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อคน หรือบริษัท Golden Spike Company ที่ตั้งราคาทัวร์เหยียบดวงจันทร์ไว้ที่ 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อคน
ส่วนระยะเวลาในการเดินทางไปถึงดวงจันทร์นั้น ปัจจุบันยังไม่มีเส้นทางที่แน่นอน (ก็ใช่สิ มันไม่มีถนนนิ!) แถมระยะห่างจากโลกและดวงจันทร์ไม่เท่ากันตามระยะวงโคจร แต่หากดูระยะเวลาที่ภารกิจโครงการ Apollo ไปถึงดวงจันทร์นั้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 วันหรือ 72 ชั่วโมง ขณะที่ดาวเทียมที่วิ่งเร็วที่สุดอย่าง New Horizons ใช้เวลาไปถึงดวงจันทร์เพียง 8 ชั่วโมง 35 นาที ก่อนวิ่งยาวไปยังดาวพลูโตโดยไม่มีการลดความเร็ว
สุดท้ายมีการคาดการณ์ว่าทัวร์กลุ่มแรกที่มีโอกาสได้ดวงจันทร์จะเป็นช่วงปี 2030 และแน่นอนผู้ที่มีเงินเท่านั้นถึงจะมีโอกาสได้ไป
50 ปีภารกิจ Apollo 11 กับ OMEGA รุ่นพิเศษฉลองประวัติศาสตร์อวกาศ
เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของภารกิจ Apollo11 OMEGA ในฐานะส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์นาฬิกาเรือนแรกที่สวมใส่บนดวงจันทร์ จึงได้ผลิตนาฬิการุ่นพิเศษเพื่อรำลึกถึงก้าวเล็กๆ ของมนุษย์ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ กับ OMEGA Speedmaster Apollo11 50th Anniversary Limited Edition (Steel) ในจำนวนจำกัดเพียง 6,969 เรือนเท่านั้น
พร้อมกลไกล่าสุด OMEGA Co-Axial Master Chronometer Calibre 3861 ที่ใช้เวลาในการพัฒนาถึง 4 ปี เพื่อยกมาตรฐานการแสดงเวลาของ OMEGA ให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพกว่าเดิม สามารถต้านทานต่อสนามแม่เหล็ก และผ่านการรับรองความเที่ยงตรงในระดับ Master Chronometer ทั้งยังความคลาสสิกของตัว Speedmaster รุ่นที่ 4 ไว้อย่างครบถ้วน นับเป็นความคลาสสิกเหนือกาลเวลาของ OMEGA
หน้าปัดดีไซน์เฉพาะตัวกับความอร่ามของมูนไชน์ โกลด์ 18 กะรัต
ความพิเศษของ OMEGA Speedmaster Apollo11 50th Anniversary Limited Edition (Steel) อยู่ที่การออกแบบตัวเรือนขนาด 42 มิลลิเมตร ผลิตจากสแตนเลส สตีล ขอบสีดำขัดเงาจากเซรามิก พร้อมประดับตัวเลขบนมาตรวัดทาคีมิเตอร์ด้วย OMEGA Ceragold
เพิ่มเติมความสง่างามยิ่งขึ้นด้วย Index Logo และเข็มบอกเวลาจากมูนไชน์ โกลด์ 18 กะรัต (18K Moonshine gold) ตัดกับพื้นหน้าปัดสีเทาดำอย่างลงตัว ซึ่งเป็นวัสดุเอ็กซ์คลูซีฟที่จดสิทธิบัตรเพื่อเป็นเอกสิทธิ์พิเศษของ OMEGA โดยเฉพาะ
ไม่เท่านั้น พื้นหน้าปัดยังแฝงไปด้วยรายละเอียดอย่างกับตัวเลข 11 ที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกา เพื่อสื่อตรงไปตรงมาถึง Apollo11 พร้อมภาพแกะสลักด้วยเลเซอร์ของ บัซ อัลดริน ขณะลงจากยานเพื่อลงมาเหยียบบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทั้งหมดก็เพื่อเฉลิมฉลองช่วงเวลาสำคัญของประวัติศาสตร์อวกาศนั่นเอง
ฝาหลังแห่งประวัติศาสตร์ รอยเท้าแห่งมนุษยชาติของนีล อาร์มสตรอง
ความพิเศษไม่ได้มีเพียงแค่หน้าปัด หากพลิกมาฝาหลังยังพบภาพแกะสลักรอยเท้าที่ประทับบนพื้นผิวของดวงจันทร์ของของ นีล อาร์มสตรอง ซ่อนอยู่ใต้กระจกคริสตัลแซฟไฟร์อย่างสมจริง ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยประโยคในตำนานอย่าง “THAT’S ONE SMALL STEP FOR A MAN, ONE GIANT LEAP FOR MANKIND” ด้วยตัวอักษรชุบมูนไชน์ โกลด์ 18 กะรัตเช่นเดียวกัน
และแน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้กับเลขประจำเรือน XXXX/6969 และตัวอักษร 50th Anniversary Limited Edition ที่ขอบฝาหลัง สร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้สวมใส่ที่เป็นหนึ่งในเจ้าของ OMEGA Speedmaster Apollo11 50th Anniversary Limited Edition (Steel) จาก 6,969 เรือน
กล่องพิเศษที่จำลองดั่งยาน Apollo11
เพราะ OMEGA รังสรรค์นาฬิกา Limited Edition ออกมาทั้งที กล่องใส่นาฬิกาย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน
ด้วยกล่องขนาดใหญ่สีเทาออกแบบพิเศษในสไตล์ NASA ภายในประกอบด้วย OMEGA Speedmaster Apollo11 50th Anniversary Limited Edition (Steel) ที่จัดแสดงบนดิสเพลย์ดีไซน์คล้ายกับยานสำรวจดวงจันทร์ Lunar Module และพิมพ์ลวดลายผิวดวงจันทร์ไว้ด้านนอก
ภายในมีอุปกรณ์เปลี่ยนสายและสายสำรองที่ออกแบบพิเศษโดยใช้วัสดุเดียวกับฉนวนกันความร้อนที่ช่วยให้ลูกเรือของจรวด Saturn V รอดพ้นจากความร้อนมหาศาลขณะปล่อยตัวออกจากฐานไปสู่นอกโลก ตามด้วยลูปส่องนาฬิกา สัญลักษณ์โครงการ Apollo11 และสัญลักษณ์ 50th Anniversary
สำหรับใครที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บูติก OMEGA
สาขา เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โทร. 02-160-5959
สาขา สยามพารากอน โทร. 02-129-4878
และสาขา ดิ เอ็มโพเรียม โทร. 02-664-9550
อ้างอิงข้อมูลจาก