เมื่อพูดถึงฮอลลีวูด หลายคนมักจะนึกถึงภาพยนตร์ ระดับ Blockbuster ที่ทำยอดขายถล่อมทลาย บางคนก็นึกถึงชื่อของนักแสดงออสการ์ และผู้กำกับที่มากฝีมือ เหล่าดาราและเซเล็บที่มักจะรวมตัวกันที่พรมแดงกลุ่มนี้ คือกลุ่มคนที่ได้อยู่ภายใต้ ‘สปอตไลท์’ ของฮอลลีวูด ทำให้พวกเขาได้เป็นที่รู้จักของสาธารณะชน
แต่เบื้องหลังของความสำเร็จในการสร้างภาพยนตร์แต่ละเรื่อง คือคนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้สปอตไลท์อีกมากมาย เป็นคนตัวเล็กๆ ที่ร่วมด้วยช่วยกันรังสรรค์ผลงานของตัวเองออกมา เคยมีผู้สำรวจสถิติไว้ว่าจำนวนเฉลี่ยของคนเบื้องหลังที่อยู่ใน End credits จากหนัง 1,000 เรื่อง นับตั้งแต่ปี 1994 ถึง 2013 คือ 588 คน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีตั้งแต่บุคลากรในช่วง Pre-production, Production และ Post-production
ทุกขั้นตอนของการสร้างภาพยนตร์เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนแต่ละฝ่าย รวมถึงการทุ่มเทแรงใจและแรงกายให้กับงานด้วย เราจึงอยากจะแนะนำหน้าที่ในกองถ่ายให้คุณได้รู้จัก นอกจากนี้ในฐานะที่เราเป็นผู้รับชม ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหาอุปกรณ์ที่สามารถ ‘ถ่ายทอด’ รายละเอียดของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ออกมาให้ดีที่สุด เช่นทีวีจาก Panasonic รุ่น GZ2000 ที่อัดแน่นมาด้วยฮาร์ดแวร์ระดับไฮเอนด์ ซึ่งจะทำให้ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ของคุณไม่ต่างจากการนั่งชมในโรงภาพยนตร์เลยทีเดียว
Director of Photography (DOP) – ผู้กำกับภาพ
ทุกสิ่งที่เราได้เห็นในหน้าจอ ทุกรายละเอียด หรือ ความอลังการ คือหน้าที่ของคนผู้นี้ในการออกแบบและทำให้เกิดขึ้นจริง Director of Photography หรือ ผู้กำกับภาพ คือบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเฟรมแต่ละเฟรม เขาหรือเธอ คือคนที่รับผิดชอบ Visual หรือ ภาพ ทั้งหมดของตัวภาพยนตร์ ทั้ง Mood&Tone แสงสี องค์ประกอบภาพ และมุมกล้อง บางครั้งก็รวมไปถึงการแสดงบางอย่างด้วย เช่น รูปแบบของการขยับตัว หรือ การเคลื่อนที่ของตัวละคร เพื่อให้ภาพเหล่านั้น ‘เล่าเรื่อง’ หรือสื่อสารบางอย่าง
ในอดีต ยุคที่กล้องถ่ายภาพยังคงใช้ ‘ฟิล์ม’ แต่ปัจจุบันเมื่อกล้องได้เปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล ทำให้ต้นทุนในส่วนของฟิล์มลดลงไปอย่างมาก ขณะเดียวกันความคมชัดของภาพก็ค่อยๆ พัฒนามากขึ้น จาก 1080 Full HD ก็กลายมาเป็น 4K หรือ 8K ในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาการของเทคโนโลยีถ่ายภาพก็ปรับปรุงขึ้นพร้อมๆ กับเทคโนโลยีด้านจอภาพ ที่จะสามารถนำเสนอภาพความละเอียดสูงอย่างปัจจุบันเช่น จอ LED หรือ จอ OLED ที่ทันสมัยกว่า ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ทีวี Panasonic รุ่น GZ2000 ได้หยิบนำมาใช้เพื่อมอบความคมชัดที่สุดให้กับผู้ชม
Gaffer – แกฟเฟอร์หรือผู้กำกับแสง
แสงคือองค์ประกอบที่หลายคนอาจไม่นึกว่ามีส่วนสำคัญ แต่อันที่จริง แสงเป็นตัวแปรหลักๆ ที่ช่วยให้ภาพในฉากนั้นๆ มีความสมจริงมากขึ้น แสงมีความสำคัญมากขนาดที่ว่า ในกองถ่ายจะต้องมีตำแหน่งที่รับผิดชอบในการจัดแสงโดยเฉพาะ ซึ่ึงบุคคลผู้นี้นี่แหละคือมนุษย์เบื้องหลังที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง Mood ให้กับภาพ แกฟเฟอร์เป็นคนที่ทำงานร่วมกับ DOP มากที่สุด เพราะทั้งสองคือคนที่รับผิดชอบงานด้านการ ‘สร้างภาพ’ ให้เกิดขึ้นในภาพยนตร์
หน้าที่หลักๆ ของแกฟเฟอร์คือการสร้างแสงที่ผู้กำกับภาพต้องการ อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของพวกเขาจึงเป็นไฟนี่แหละ ซึ่งไฟในการถ่ายทำภาพยนตร์ก็แตกแขนงออกได้มากมายหลายรูปแบบ คนที่รับบทบาท ‘จัดไฟ’ จึงต้องรู้จักลักษณะของไฟเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่งรายละเอียดของแสงในรูปแบบต่างๆ นั้น หากจะดูให้ได้เต็มอรรถรส ก็ควรจะต้องรับชมผ่านจอภาพที่คมชัดและมีคุณภาพสูง เช่น จอที่มีความละเอียดระดับ 4K หรือ เทคโนโลยี HDR+ ที่ทาง Panasonic ได้ใส่มาในทีวีรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยแปลงสัญญาณภาพให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น ไม่ว่าซีนนั้นแสงจะน้อยแค่ไหนก็ยังคมชัด ไม่ต้องเพ่งสายตา
Production sound mixer – นักออกแบบเสียง
เสียง แม้มองไม่เห็น แต่สามารถสร้างอิทธิพลในหนังได้มากมาย มันเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกแก่ภาพยนตร์ เป็นอีกผัสสะที่สำคัญในการเสพหนัง ในสมัยก่อน การฉายหนังกลางแปลงมักจะมี ‘นักสร้างเสียงประกอบ’ คอยทำงานควบคู่ไปกับเนื้อเรื่องของภาพยนตร์เสมอ พวกเขาจะพกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดเสียงซึ่งเข้ากับเหตุการณ์ในภาพยนตร์ เช่น เสียงฝนตกก็จะทำโดยการโรยถั่วบนสังกะสี หรือเสียงควบม้าก็จะสร้างโดยการเคาะกะลากับพื้น เป็นต้น
แต่ในสมัยนี้เทคโนโลยีก็ได้พัฒนาจขึ้นมากว่าเดิมหลายเท่าตัว การเลียนเสียงเหล่านี้ในปัจจุบันเราเรียกว่า Foley ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนของ Post-production ที่เป็นการสร้างเสียงลมพัด เสียงน้ำไหล เสียงบรรยากาศต่างๆ ก่อนจะเข้าสู่พาร์ทของ Final Mix ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดเหล่านี้ให้ออกมาได้อย่างครบถ้วน ควรจะต้องเป็นเทคโนโลยีระดับโรงภาพยนตร์ อย่างเช่น ระบบเสียง Dolby Atmos ที่มีอยู่ในทีวีรุ่น GZ2000 จาก Panasonic ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบเสียงซึ่งสามารถถ่ายทอดความสมจริงและรายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างคมชัดแบบ 360 องศา ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสบรรยากาศของภาพยนตร์เหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ
Colorist – คนทำสีภาพ
การ ‘ย้อมสี’ หรือ Color grading คือกระบวนการท้ายๆ ของการทำหนัง ซึ่งกระบวนการนี้นี่แหละที่จะช่วยปรับปรุง แก้ไข และเติมชีวิตชีวาให้กับภาพที่ DOP ถ่ายมา สี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออารมณ์ในภาพยนตร์ ในปัจจุบันโปรดักชั่นส่วนใหญ่ DOP มักจะเลือกถ่ายภาพยนตร์ออกมาเป็นโทนสี ‘กลางๆ’ เอาไว้ก่อน กล่าวคือเป็นโทนสีที่ดูเทาๆ ไม่ฉูดฉาดมากนัก ด้วยเหตุผลที่ว่าขั้นตอนของการทำสี หรือ Color grading จะสามารถดึงรายละเอียดสีและแสงจากไฟล์ดิจิทัลที่ถ่ายมาในรูปแบบนี้ได้ดีกว่า
ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก แต่ในฮอลลีวูดก็มี Colorist ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งสีอยู่คนหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงจนได้รับฉายาว่าเป็น ‘ดาวินชีแห่งวงการภาพยนตร์’ คนผู้นั้นคือ Stefan Sonnenfeld นักทำสีภาพยนตร์ที่อยู่เบื้องหลังหนัง Blockbuster อย่าง A Star is born, 300, Star Wars: The Force Awakens, Jurassic World และอีกมากมายหลายเรื่องที่ชื่อคุ้นหู ซึ่งอัจฉริยะด้านการปรับแต่งสีคนนี้คือหนึ่งในทีมงานที่มาร่วมกันช่วยออกแบบชิพเซ็ตสำหรับทีวีรุ่นล่าสุดจาก Panasonic เพื่อการยกระดับประสบการณ์การรับชมภาพยนตร์ให้ยอดเยี่ยมกว่าที่เคยมีมา
Hollywood to your home
จะเห็นได้ว่าเบื้องหลังของการสร้างภาพยนตร์มีขั้นตอนและกระบวนการมากมายซ่อนอยู่ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งเต็มไปด้วย ‘รายละเอียด’ ยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นภาพ แสง เสียง หรือ สี ที่ทุกคนในกองถ่าย ทั้งหน้าฉากและหลังฉากต่างต้องทุ่มเทและใช้ฝีมืออย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นหากเราต้องการที่จะเสพรายละเอียดเหล่านั้นจากภาพยนตร์ เราจึงควรมีทีวีที่สามารถถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างเต็มคุณภาพ
จากความคิดนี้ Panasonic จึงได้ร่วมมือกับทีมผู้เชียวชาญจากฮอลลีวูดอย่าง Stefan Sonnenfeld เพื่อช่วยกันพัฒนาชิพเซ็ตอัจฉริยะให้กับทีวีของ Panasonic ในชื่อ HCX PRO Intelligent Processor ที่จะยกระดับการรับชมภาพยนตร์ที่บ้านให้มีคุณภาพไม่ต่างจากจอภาพยนตร์ ด้วยความโดดเด่นใน 3 เรื่องหลักคือ สีสัน (Color) แสงเงา (Contrast) และความลื่นไหล (Clarity)
นอกจากนี้ ทีวีรุ่นล่าสุดของ Panasonic อย่าง GZ2000 ก็เต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกมากมาย เริ่มไปได้ตั้งแต่เรื่องของงานภาพ ที่เป็น OLED TVs ที่สามารถนำเสนอภาพความคมชัดระดับ 4K พร้อมกับเทคโนโยี HDR+ ที่มาควบคู่กัน ทำให้คุณภาพของทีวีจาก Panasonic เป็นที่ยอมรับของสตูดิโอหลายแห่งในฮอลลีวูด
ในฝั่งของเสียง Panasonic รุ่น GZ2000 ก็ได้ใส่เทคโนโลยี Dolby Atmos เข้ามาด้วย แถมยังเพิ่มความพิเศษด้วยการวางลำโพงแบบแนวตั้งด้านบน (Upward firing speaker) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับฟังเสียงเหมือนเข้าไปเป็นตัวละครในภาพยนตร์เลยทีเดียว