หนึ่งในแบรนด์หลอดไฟที่ใช้กันอยู่ตามบ้านเราทุกวันนี้ เชื่อว่าส่วนใหญ่คือแบรนด์ Phillips อย่างแน่นอน เพราะจุดเริ่มต้นของแบรนด์สัญชาติดัตช์ คือผลิตหลอดไฟราคาประหยัด ก่อนจะกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหลอดไฟรายใหญ่ที่สุดในยุโรปในเวลาต่อมา
ตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งแบรนด์ขึ้นมา Philips ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ตั้งแต่หลอดไฟ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไปจนถึงเครื่องมือแพทย์ โดยที่หลายชิ้นเป็นถึงผู้บุกเบิกเริ่มต้น อีกหลายชิ้นได้ครองเจ้าตลาด และอีกหลายชิ้นที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราให้สะดวกสบายขึ้น
ลองไปสำรวจเส้นทางการเติบโตของ Philips กับวิสัยทัศน์ในการดูแลสุขภาพและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้กับเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
นวัตกรรมภายในบ้านที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
ฟิลิปส์ คือแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการผลิตหลอดไฟเป็นสินค้าชิ้นแรก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1891 ในเมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยผู้ก่อตั้ง Frederik Philips ริเริ่มผลิตหลอดไฟราคาประหยัดแบบหลอดไส้คาร์บอน เพื่อคนทั่วไปมีแสงสว่างใช้อย่างทั่วถึง ก่อนจะเริ่มส่งออกไปยังรัสเซีย จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหลอดไฟรายใหญ่ที่สุดในยุโรป และเข้าตลาดหุ้นยุโรปได้ในปี 1912 ถึงขนาดที่ในอีก 2 ปีถัดมามีการก่อตั้ง NatLab หรือศูนย์วิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนานวัตกรรมโดยเฉพาะเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าหลอดไฟฟิลิปส์จะเป็นที่รู้จักในทุกบ้าน แต่นวัตกรรมที่ทำให้ฟิลิปส์เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลกคือ เครื่องเสียง ที่เปิดตัวในปี 1927 ไม่น่าเชื่อว่าใช้เวลาเพียง 5 ปีก็สามารถขายได้กว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก รวมถึงได้พัฒนาเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราให้สะดวกสบายขึ้น เรียกว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ล้ำที่สุดในตอนนั้นก็ว่าได้ ในเวลาต่อมา นวัตกรรมเกี่ยวกับความบันเทิงของฟิลิปส์ก็ยังคงไม่หยุดพัฒนา ทั้งโทรทัศน์ที่มีภาพที่คมชัดขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการบันทึกภาพ เสียง และข้อมูล ทั้งเทปคาสเซ็ทและม้วนวิดีโอ VCR ให้ดียิ่งขึ้น
แล้วฟิลิปส์ก็พลิกโฉมวงการครั้งสำคัญ ด้วยการจับมือกับบริษัท โซนี่ ในช่วงปี 1982-1983 ร่วมกันพัฒนา Compact Disc หรือแผ่นซีดี ซึ่งเป็นสื่อใหม่ในการบันทึกเสียงแบบดิจิทัล ทำให้เทปคาสเซ็ทที่เคยช่วยให้การฟังเพลงที่สะดวกอยู่แล้ว กลับกลายเป็นสิ่งล้าสมัย เมื่อแผ่นซีดีทำให้สะดวกยิ่งกว่าเดิม แถมยังทนทานกว่าด้วย ก่อนที่จะเผยแพร่นวัตกรรมนี้ให้กับผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้สำเร็จ และในปี 1997 ฟิลิปส์และโซนี่ ก็ได้เปิดตัว DVD เป็นครั้งแรก ทำให้การชมภาพยนตร์ภายในบ้าน ทั้งภาพและเสียงเกือบเทียบเท่าโรงภาพยนตร์เลยทีเดียว ซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่พลิกโลกของธุรกิจบันเทิงภายในบ้านให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
หลังจากนั้นฟิลิปส์ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวั
และยังสามารถเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย ทำให้ช่วงวิกฤตอากาศในบ้านเราที่ผ่านมา ฟิลิปส์คืออีกหนึ่งแบรนด์เครื่องฟอกอากาศที่ทุกคนต้องถามถึง
นวัตกรรมการแพทย์ที่ไม่เคยหยุดใส่ใจ
นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านที่ฟิลิปส์พัฒนามาตลอดแล้ว หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ฟิลิปส์ก็ได้พัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับวงการแพทย์ควบคู่กันไปด้วย โดยจุดเริ่มต้นมีมาตั้งแต่ปี 1918 ที่ฟิลิปส์ได้เปิดตัวเครื่องเอ็กซ์เรย์เป็นครั้งแรก เป็นการขยายไลน์การผลิตไปสู่เครื่องมือแพทย์และสุขภาพมากขึ้น ก่อนที่ในปี 1949 ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของฟิลิปส์ได้พลิกโฉมวงการแพทย์ ด้วยการเปิดตัวเครื่องเร่งอนุภาค Philips Synchrocyclotron เพื่อใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการรักษามะเร็งได้
กระทั่งในช่วงปี 1990 ฟิลิปส์ได้ปรับโครงสร้างขององค์กรครั้งใหญ่ เพื่อมาโฟกัสกับธุรกิจเครื่องมือแพทย์อย่างเต็มตัว ด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ในการดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คน ทำให้มีแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางหรือ Human-centered innovation หรือพูดง่ายๆ คือคิดสินค้ามาเพื่อลูกค้าอย่างเราๆ นั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือการเปิดตัว Ambient Experience ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้พลังของศิลปะและดนตรีหรือแสงและเสียง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการช่วยเหลือผู้ป่วยระหว่างการทำ MRI ได้อย่างเห็นผล
และต่อมาในปี 2006 ก็ได้เปิดตัวเครื่อง CT Scan ที่ให้คุณภาพของของการสแกนที่สูงมาก รวมถึงการพัฒนาเครื่องเครื่องเอ็กซเรย์ AlluraClarity ซึ่งเป็นเอ็กซเรย์ที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์น้อยลง ปลอดภัยต่อร่างกายของคนไข้มากขึ้น แต่แสดงผลภาพคุณภาพสูงมากขึ้น และล่าสุดกับนวัตกรรม Philips Azurion เครื่องตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางหลอดเลือด ที่ช่วยให้แพทย์สามารถทำการรักษาที่ซับซ้อนได้ง่ายดายขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดเล็กลงและหายเร็วขึ้น เรียกว่าเป็นความตั้งใจของฟิลิปส์ที่ช่วยเหลือทั้งแพทย์และผู้ป่วยไปพร้อมๆ กัน
ก้าวต่อไปของฟิลิปส์
เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ฟิลิปส์ก็ได้ประกาศวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจเพื่อการดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างเป็นทางการ โดยในปี 2016 ฟิลิปส์ตัดสินใจโฟกัสที่ธุรกิจสองส่วน คือ ธุรกิจเครื่องมือแพทย์และธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยได้ขายธุรกิจหลอดไฟและแสงสว่างออกไป เพื่อมุ่งเป้าหมายในการเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ
ปัจจุบัน Royal Philips สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีพนักงานกว่า 78,000 คน และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2018 สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 18.1 พันล้านยูโร และมีเป้าหมายสำคัญในการช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกให้ดีขึ้นถึง 3 พันล้านคนต่อปี ภายในปี 2030 ภายใต้แนวคิด ‘Health Continuum’ คือ การนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นที่
และทั้งหมดนี้คือระยะเวลากว่า 100 ปีของ Philips ที่ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรม ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่เข้
แม้ว่าวันนี้ฟิลิปส์จะไม่ใช่ แบรนด์หลอดไฟอย่างที่ทุกๆ คนคุ้นเคย แต่การก้าวต่อไปของฟิลิปส์ เพื่อเป็นแบรนด์นวัตกรรมเพื่อสุ ขภาพนั้น ก็น่าจะครองใจผู้บริโภคได้ไม่ ยากเช่นกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.philips.com/a-w/about/company/our-heritage.html
https://www.philips.co.th/healthcare/ambient-experience