นับวันสถานการณ์ COVID-19 ยิ่งรุนแรงมากขึ้น ไม่ต่างอะไรกับข้อมูลข่าวสารที่ล้นทะลักไปทั่วโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อสารพัดรูปแบบ จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จกันแน่
ท่ามกลางสภาวะข้อมูลมหาศาล แต่หลายคนกลับไม่มีช่องทางเช็กความถูกต้องที่น่าเชื่อถือ จนหลงเชื่อข้อมูลผิดๆ ที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง เช่นเดียวกับแคมเปญ We DO Well Together ของ พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ที่อยากให้คนไทยเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอย่างถูกต้องและดูแลสุขภาพตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ผ่านแอปพลิเคชั่น Pulse by Prudential ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าก็สามารถใช้แอปนี้ได้
เพื่อขจัดข้อสงสัยของทุกคนทิ้งไป วันนี้ The MATTER ได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับ COVID-19 ที่หลายคนเข้าใจผิดหรือไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งได้รับคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
Q: จริงหรือไม่? การใส่คอนแทคเลนส์ทำให้เสี่ยงติดเชื้อ COVID-19
A: จริง
ถึงแม้ตาจะมองไม่เห็นเชื้อ COVID-19 แต่เราก็สามารถติดเชื้อผ่านช่องทางนี้ได้ การใส่คอนแทคเลนส์ผิดสุขลักษณะ จึงอาจเกิดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ซึ่งจักษุแพทย์ได้อธิบายความเสี่ยงการติดเชื้อ 3 กลไก ได้แก่
1) ติดจากมือที่สัมผัสไวรัสแล้วมาสัมผัสเข้าสู่ดวงตาผ่านการถอดหรือใส่คอนแทคเลนส์
2) ติดจากการไอ จาม หรือละอองฝอยน้ำลายจากผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระยะบริเวณ 1.5 เมตรมาเกาะคอนแทคเลนส์
3) ติดจากไวรัสเข้าผ่านทางเยื่อบุดวงตาโดยตรง
ทั้งนี้ คุณหมอแนะนำผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำไว้ว่า ควรหมั่นตรวจสอบดวงตาก่อนใส่คอนแทคเลนส์เสมอ หากมีอาการตาแดง มีน้ำตาไหล หรืออาการระคายเคือง ให้ถอดออกทันที ฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงควรดูแลสุขภาพดวงตาของทุกคนด้วยเช่นกัน
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 3
Q: ล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำยาอะไรก็ได้
A: ไม่จริง
สำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์หรือรายเดือนควรล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ได้มาตรฐาน และแช่น้ำยาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง โดยไม่มีการใช้น้ำประปาหรือน้ำเกลือผสม ซึ่งกลุ่มน้ำยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ คือ กลุ่มไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เบสซิส แต่ห้ามนำน้ำยากลุ่มนี้เข้าสู่ดวงตาโดยตรงนะ! เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ส่วนน้ำยามัลติพรอโพสโซลูชันที่หลายคนใช้กัน ยังไม่มีหลักฐานหรือการพิสูจน์แน่ชัดว่าฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ไหม
ส่วนตลับใส่คอนแทคเลนส์ก็ควรล้างด้วยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ด้วย ก่อนจะตากให้แห้งบนกระดาษทิชชู่ ที่สำคัญอย่าลืมเปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ทุกวัน และเปลี่ยนตลับบ่อยๆ ถ้ามีเม็ดเอนไซน์สลายคราบโปรตีน สามารถใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้งจะเลิฟต่อดวงตาที่สุด
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 3
Q: ปวดฟันเหรอ? อย่าเพิ่งไปหาหมอฟันเลย เดี๋ยวติด COVID-19
A: ไม่จริง
คืออย่างนี้ ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีคนติดเชื้อ COVID-19 จากการทำฟันโดยตรง แต่สถานการณ์เช่นนี้หลายคนอาจจะกลัวติดเชื้อจนไม่กล้าไปทำฟัน ทางทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยจึงประกาศสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นว่า ควรเลือกโรงพยาบาลหรือสถานที่รับบริการที่มีมาตรฐานพร้อม มีกระบวนการทำฟันมีความปลอดภัยสูง และสามารถเปิดให้บริการรักษาฟันเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินและจำเป็นต้องทำการรักษาทันที
ต้องยอมรับว่ากระบวนการรักษาฟันอาจก่อให้เกิดละอองฝอยฟุ้งกระจาย โรงพยาบาลจึงต้องมีมาตรการเสริมในการลดจำนวนเชื้อและปริมาณละอองฝอย ด้วยการบ้วนปากและแปรงฟันก่อนการทำฟัน ซึ่งการบ้วนปากหรือแปรงฟันสม่ำเสมอสามารถลดปริมาณเชื้อลงได้ 70-95%
ขณะเดียวกันระหว่างทำฟันก็ต้องใช้เครื่องดูดแรงดันสูงใกล้กับจุดกำเนิดละอองฝอย ซึ่งสามารถลดปริมาณละอองฝอยลงได้ถึง 90% และการใช้แผ่นยางกันน้ำลายในขณะกรอฟัน ก็สามารถลดปริมาณเชื้อที่ฟุ้งกระจายออกมากับละอองฝอยได้มากถึง 70-98%
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 1
Q: จริงหรือไม่? COVID-19 สามารถติดผ่านน้ำนมแม่ได้
A: ไม่จริง
ทุกวันนี้ยังไม่มีการรายงานการติดเชื้อผ่านการให้น้ำนมแม่แต่อย่างใด เพราะการติด COVID-19 จากแม่สู่ลูกนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากละอองฝอย เช่น การไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย หรือการสัมผัสเชื้อโดยตรงมากกว่า แต่เพื่อความปลอดภัย คุณแม่ก็ควรอาบน้ำและล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะสัมผัสลูกเสมอ
กรณีที่คุณแม่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 แล้วกำลังจะคลอดลูก หากต้องการให้น้ำนมบุตรจากเต้าจะต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง แต่ต้องแลกด้วยความเสี่ยงที่อาจแพร่เชื้อสู่ลูกน้อยได้
ฉะนั้นวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดตอนนี้ก็คือ การปั๊มนมให้ลูกดื่มต่างหากโดยไม่มีการใกล้ชิด เว้นระยะห่างกับตัวลูก ควรมีการแยกที่นอนกัน โดยห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร หรือต้องมีคนให้นมลูกและดูแลลูกแทนเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 2
Q: จริงหรือไม่? วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ COVID-19
A: จริง
เพราะโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 เป็นโรคที่ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน และมีกลุ่มอาการคล้ายกัน การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงสามารถช่วยลดความรุนแรงจากการป่วย และการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนได้
โดยมีการศึกษาจากประเทศอังกฤษในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า กลุ่มที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 ลดลง และการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาก่อนจะช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ และลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ด้วย
ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 2
Q: ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว ไม่ต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ก็ได้
A: ไม่จริง
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีน COVID-19 ควรมีระยะเวลาและลำดับการฉีดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งได้ดังนี้
1) คนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 ควรรีบฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ก่อน โดยแนะนำให้เว้นช่วงห่างกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ก่อนฉีดวัคซีน COVID-19
2) ถ้าวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีน COVID-19 มาพร้อมกัน ให้ฉีดวัคซีน COVID-19 ก่อน แล้วอีก 2-4 สัปดาห์ จึงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้
3) สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เลย เนื่องจากวัคซีน COVID-19 ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลมากพอในกลุ่มอายุนี้
อย่างไรก็ตาม การฉีดทั้งสองวัคซีนควบคู่กัน ต้องให้แพทย์พิจารณาถึงความความจำเป็น ความเสี่ยงของโรค และอาการข้างเคียงของวัคซีนนั้นๆ ร่วมด้วย
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 2
Q: ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว คงไม่มีอาการอะไรหรอกเนอะ?
A: ไม่จริง
มีหลายคนที่ตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 แล้ว แต่ยังมีอาการของโรคอยู่ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ป่วยคิดไปเองหรอกนะ เพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ อาการที่ยังคงวนเวียนอยู่เรียกว่า ภาวะ Long COVID นั่นเอง
ปกติสำหรับคนที่มีอาการไม่รุนแรง จะหายจาก COVID-19 ได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือถ้านานหน่อยก็อาจใช้เวลาในการฟื้นตัวถึง 6 สัปดาห์ทีเดียว แต่ช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา กว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาในโรงพยาบาล ณ เมืองหวู่ฮั่น ยังคงมีอาการหลังออกจากโรงพยาบาลนานถึง 6 เดือน สอดคล้องกับการศึกษาในปี 2563 ของประเทศอิตาลี ที่พบว่า 87.4% ของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษา COVID-19 ยังคงมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ภายใน 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล
ทั้งนี้อาการ Long COVID ที่พบมากที่สุดคืออาการหายใจไม่อิ่ม ภาวะความผิดปกติทางการรับรู้ ภาวะสมองล้า (Brain Fog) และความเหนื่อยล้า หรืออาจมีอาการมากกว่านั้น ซึ่งทั่วโลกกำลังเรียนรู้สภาวะนี้เพิ่มเติม เพื่อในอนาคตจะมีการบำบัดรักษาเฉพาะทาง Long COVID นี้
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 3
Q: หากรับประทานยาทางจิตเวช ควรหยุดยาก่อนแล้วค่อยฉีดวัคซีน
A: ไม่จริง
สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่อาการยังไม่คงที่ ฟังกันชัดๆ เลยว่า “ไม่ควรหยุดยา”
เนื่องจากยาจิตเวชส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสำหรับการฉีดวัคซีนอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีอาการคงที่ โดยเฉพาะระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนฉีด ที่สำคัญควรเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม และควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนฉีดวัคซีนด้วย
อย่างไรก็ตาม มียาบางชนิดที่จิตแพทย์อาจแนะนำให้หยุดกินเฉพาะวันที่ฉีดก็คือ ยารักษาโรคสมาธิสั้น ได้แก่ ยา Methylphenidate เพื่อลดความเสี่ยงที่ยาจะไปรบกวนการหดเกร็งของหลอดเลือด แต่ผู้ป่วยทั่วไปก็สามารถรับประทานยาจิตเวชได้คงที่เหมือนเดิมทั้งก่อนและหลังฉีดวัคซีน
รวบรวมเนื้อหาดีๆ โดย พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต
ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท 3
We DO Well Together เข้าใจเรื่องราวสุขภาพอย่างถูกต้องผ่านแอป Pulse by Prudential
เพราะในโลกโซเชียลฯ มีการแชร์ข้อมูลสุขภาพผิดๆ ถูกๆ ผสมปนเปกันไปหมด โดยเฉพาะข้อมูลทางสุขภาพที่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราได้ข้อมูลผิดๆ คงไม่ดีต่อตัวเราแน่ ฉะนั้นการมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องจำเป็น
Pulse by Prudential จึงมาพร้อมข้อมูลสุขภาพมากมายจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยังมีบริการด้านการดูแลสุขภาพในแอป ที่จะช่วยเรื่องดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรักได้เองที่บ้านด้วย AI เทคโนโลยี รวมทั้งยังมีบริการ Teleconsultation ที่ให้คุณนัดหมอผ่านออนไลน์เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทาง พร้อมส่งต่อข้อมูลดีๆ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะสามารถดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองและคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น
นับเป็นสุดยอดแอปพลิชันด้านการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรที่ได้รับความร่วมมือจากทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์การรักษาจากโรงพยาบาลชั้นนำ เราจึงอยากส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
สามารถโหลด Pulse by Prudential แอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพที่ดีได้ที่ https://onepulse.page.link/AuZ4