ไม่ว่าคุณจะอยู่บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือพึ่งพาร้านอาหารนอกบ้าน ตราบใดที่คุณยังต้องกินอาหาร ชีวิตนี้เราก็แทบไม่อาจแยกจากเจ้าถังปุ๊กปิ๊กที่เรียกว่า ‘ก๊าซหุงต้ม’ ได้เลย
สำหรับหลายคนที่ไม่ได้มีหน้าที่จัดการเรื่องภายในบ้าน อาจรู้สึกว่าเรื่องก๊าซนี่ก็ออกจะไกลตัวฉันอยู่หน่อยๆ ไม่ต้องรู้ก็ไม่เห็นเสียหาย แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วการเลือกก๊าซหุงต้มให้ดีมีความสำคัญกว่าที่เราคิด เพราะนั่นหมายถึงความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สินภายในบ้านเลยทีเดียว
ก๊าซหุงต้ม พลังงานที่มองไม่เห็น แต่จำเป็นกับทุกคน
เวลาพูดถึงก๊าซหุงต้มเราอาจจะนึกถึงภาพของถังสีเขียว ที่ตั้งอยู่ซอกมุมหนึ่งของห้องครัว โดยอาจไม่ได้รู้จักว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่อยู่ภายในเจ้าของสิ่งนี้คืออะไร มีความปลอดภัยต่อชีวิตมากน้อยแค่ไหน ถ้าให้เล่าสั้นๆ ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ จัดเป็นพลังงานสะอาดชนิดหนึ่ง ไม่มีเขม่า ไม่มีขี้เถ้า ติดไฟได้ง่าย ให้ความร้อนสูง ทั้งยังดับได้อย่างรวดเร็ว จึงจัดเป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัยสำหรับนำมาใช้ในครัวเรือน
โดยทั่วไปแล้วเรามองก๊าซชนิดนี้ไม่เห็นจึงไม่รู้ว่ามันมีความหนักกว่าอากาศ ทั้งยังไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ผู้ผลิตต้องเติมสารที่มีกลิ่นฉุนเพื่อบอกให้รู้ในกรณีก๊าซรั่วแทน
มั่นใจหรือยังว่าถังก๊าซที่บ้านคุณนั้นปลอดภัย
โดยทั่วไปแล้วก๊าซหุงต้มที่อยู่ในถังนั้นไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพราะไม่มีความเป็นพิษ ยกเว้นว่าถ้าเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่ทำให้ผู้สูดดมมึนหัว วิงเวียน จนอาจถึงกับเสียชีวิตได้ รวมถึงตัวก๊าซเองที่มีคุณสมบัติติดไฟง่ายหากก๊าซเกิดการรั่วไหลก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
การเลือกซื้อก๊าซหุงต้มอย่างระมัดระวังจึงมีความสำคัญมาก เพราะนั่นรวมถึงการเลือกซื้อความปลอดภัยให้กับคนในครอบครัวด้วย ตามข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน การเลือกซื้อถังก๊าซหุงต้มที่ปลอดภัยควรเช็กให้แน่ใจว่าถังก๊าซนั้นต้องมี เครื่องหมายของผู้ค้าก๊าซตามมาตราที่ 7 ต้องมีซีลผนึกบนวาล์วหัวถังอย่างแน่นหนา มีหัวปรับความดันแบบ 2 ขั้นตอนที่สามารถปิดตัวเองได้อัตโนมัติถ้าเกิดเหตุผิดปกติ ตัวถังหนามากกว่า 2.2 มม. ไม่มีรอยบุบ บวม หรือขึ้นสนิม (ตัวถังพ่นสารสังกะสีกันสนิม) มีฉลากแสดงว่ามีการทดสอบครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี มีสัญลักษณ์มอก. รวมถึงมีการบอกน้ำหนักถังและน้ำหนักบรรจุชัดเจน
ที่สำคัญควรเลือกแบรนด์ที่มีมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยของถังก๊าซที่ได้มาตรฐานก่อนส่งมาถึงบ้านเรา อย่างก๊าซหุงต้ม ปตท. เจ้าแห่งตลาดก๊าซหุงต้มในไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภคมาเป็นลำดับแรก เราจึงจะเห็นได้ว่าทางแบรนด์มีขั้นตอนการตรวจสอบก๊าซทุกถังที่ค่อนข้างเคร่งครัดถึง 6 ขั้นตอนเลยทีเดียว คือ
- เช็กสภาพถัง – เช็กสภาพโดยรวมของถังทั้งสีถัง สภาพวาล์ว ป้ายต่างๆ ถังที่ไม่ได้มาตรฐานจะถูกคัดทิ้งทันที
- ล้างถัง – มีการทำความสะอาดถังก่อนหนึ่งรอบเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
- บรรจุก๊าซ – มีการชั่งถังเปล่าทุกครั้งก่อนบรรจุเพื่อความเที่ยงตรงของปริมาณก๊าซ ป้องกันอันตรายจากการบรรจุเกินค่ากำหนด
- ชั่งน้ำหนัก – เมื่อบรรจุเสร็จแล้วก็ต้องมีการนำมาชั่งน้ำหนักอีกทีเพื่อความแน่ใจ หากน้ำหนักขาดหรือเกินมาตรฐานก็ต้องถูกนำไปจัดการใหม่
- เช็กรั่ว – เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีก๊าซรั่ว ก๊าซทุกถังจะถูกนำไปตรวจสอบการรั่วซึมของตัวถัง วาล์ว เกลียววาล์ว อย่างละเอียด
- ซีลวาล์ว – เมื่อตรวจสอบทุกขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการผนึกซีลและแปะข้อมูลสำคัญต่างๆ พร้อมตรวจสอบซีลอีกครั้ง ก่อนรอส่งต่อถึงห้องครัวคุณต่อไป
ติดตั้งก๊าซอย่างปลอดภัย เพื่อความมั่นใจอีกขั้น
หลังจากเลือกซื้อถังก๊าซจากแบรนด์ที่ไว้ใจได้แล้ว การติดตั้งอย่างถูกต้องก็มีความสำคัญ โดยจำง่ายๆ 4 ข้อคือ
- วางถังในแนวตั้งเท่านั้น
- วางบนพื้นราบที่แข็งแรง ไม่เสี่ยงต่อการล้มกลิ้ง บริเวณนั้นควรเป็นที่แห้ง และอากาศถ่ายเทสะดวก
- ระยะห่างระหว่างถังและเตาควรอยู่ที่ 1.5 – 2 เมตร
- ระวังไม่ตั้งสิ่งที่อาจทำให้เกิดประกายไฟใกล้ถังก๊าซ
เคล็ดลับเพื่อความประหยัด
การรู้จักธรรมชาติของก๊าซหุงต้มให้มากขึ้นช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้หลายบาทเลยทีเดียว โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้อะไรเซฟได้ก็ต้องเซฟนะ
- เลือกใช้เครื่องครัวที่สะอาด ประหยัดก๊าซมากกว่า เพราะเขม่า หรือตะกรันทำให้อาหารสุกช้า จึงทำให้ต้องใช้ก๊าซมากขึ้นในการให้ความร้อน
- เตรียมกระทะให้พร้อมก่อนเปิดก๊าซ ปิดก๊าซก่อนตักอาหารลงจาน ช่วงเวลาที่เปิดเตาทิ้งไว้แล้วค่อยมาเตรียมข้าวของ หรือการตักอาหารลงจานก่อนปิดเตา ทำให้เราสูญเสียก๊าซไปหลายบาทโดยไม่รู้ตัว
- ไม่ตั้งเตาในบริเวณที่มีลมแรง เพราะไฟจะถูกลมพัดจนเปลืองก๊าซมากขึ้นในการทำให้อาหารสุก
- เลือกหัวเตาที่พอดี ถ้าหัวเตาใหญ่กว่าเครื่องครัวมากๆ หรือเปิดไฟแรงเกินไปมากๆ จะทำให้เสียความร้อนส่วนเกิน
เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัย
มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้ก๊าซที่เราควรจำไว้ในใจ เพื่จะได้ป้องกัน และรับมือกับเหตุไม่คาดคิดได้
- ปิดวาล์วก่อนปิดหัวเตา จุดเตาก่อนเปิดวาล์ว เพื่อความปลอดภัยในการเคลื่อนที่ของก๊าซ
- ห้ามจุดเตาถ้าได้กลิ่นก๊าซรั่ว ให้เปิดหน้าต่างระบายอากาศออกไปเสียก่อน และอย่าทำให้เกิดประกายไฟใดๆ
- ตรวจสอบก๊าซรั่วอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำสบู่ลูบไปตามส่วนข้อต่อต่างๆ ถ้าก๊าซรั่วจะมีฟองอากาศผุดขึ้นมา
- ถ้าเกิดไฟลุกไหม้ให้ใช้สารเคมีดับ อย่าเอาน้ำราดลงไปบนถังโดยตรง
- ห้ามเติมก๊าซเอง หรือนำไปบรรจุตามปั๊มก๊าซทั่วไป ควรสั่งซื้อจากร้านค้าที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
จะเห็นแล้วว่าเจ้าก๊าซถังเขียวที่เราเห็นเป็นภาพชินตาในห้องครัวมาตลอดแท้จริงแล้วมีความใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในแง่ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้หากเลือกใช้ก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้มาตรฐาน และผิดวิธีเพราะขาดความรู้
เลือกก๊าซหุงต้มครั้งหน้าให้ปลอดภัยอย่าลืมเลือกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือเลือกก๊าซหุงต้ม ปตท. ที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเคร่งครัดตามแนวคิด ‘ดีต่อใจ ปลอดภัยต่อคุณ’
ก๊าซหมดทุกครั้ง สั่งก๊าซหุงต้ม ปตท. นะ : )